ปราจีนบุรี - ดีป้าแถลงข่าวโครงการพัฒนาต้นแบบเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และผลสำเร็จการยกระดับศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ด้วยดิจิทัล
ปราจีนบุรี - ดีป้าแถลงข่าวโครงการพัฒนาต้นแบบเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ และผลสำเร็จการยกระดับศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ด้วยดิจิทัล
วันที่ 26 ม.ค.66 เวลา 10.00 น. ณ.ห้อง Convention Hall A โรงแรมทวาราวดี อ.ศรีมหาโพธิ จ.ปราจีนบุรี ผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล หรือ ดีป้า พร้อมด้วย นางจารุณี กาวิล หัวหน้าสำนักงานจังหวัดปราจีนบุรี ร่วมแถลงผลสำเร็จโครงการพัฒนาต้นแบบเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ Si Maha Phot Smart Living Showcases ด้วยการพัฒนาพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบ
ด้าน Smart Living ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัล และ ดีป้า ร่วมกับ จังหวัดปราจีนบุรี แถลงผลสำเร็จการพัฒนาพื้นที่อำเภอศรีมหาโพธิ สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ภายใต้โครงการ Si Maha Phot Smart Living Showcases ด้วยการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลใน 3 ด้านสำคัญ เพื่อพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิต สนองตอบความต้องการของประชาชนในพื้นที่อย่างตรงจุด พร้อมปูทางสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ของประเทศต่อไป ภายในงานมี เจ้าหน้าที่ตำรวจ นายอำเภอศรีมหาโพธิ นายก อบต.ท่าตูม ฝ่ายปกครองอำเภอศรีมหาโพธิ หน่วยงานต่างๆ ทั้งในพื้นที่และพื้นที่ใกล้เคียงและผู้บริหาร ได้มีการเสวนาพิเศษ Si Maha Phot Smart Living Showcases -ในด้านการศึกษา หัวข้อ "เทรนด์ด้านการศึกษาในศตวรรษที่ 21"- ด้านสาธารณสุข หัวข้อ " Big Data กับการยกระดับและพัฒนาการจัดการการดูแลผู้สูงอายุที่มีภาวะพึ่งพิงอย่างยั่งยืน" - ด้านความมั่นคง หัวข้อ "เทคโนโลยีดิจิทัลกับการเชื่อมโยงข้อมูลระหว่างหน่วยงานเพื่อบริหารพื้นที่อย่างมีประสิทธิภาพ"
ความสำเร็จของโครงการ Si Maha Phot Smart Living Showcases เกิดจากการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วนในพื้นที่ เพื่อหาแนวทางการพัฒนาเมืองและคุณภาพชีวิตก่อนนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมดิจิทัลที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานจากดิจิทัลสตาร์ทอัพสัญชาติไทยที่ขึ้นทะเบียนกับ ดีป้า มาประยุกต์ใช้แก้ไขปัญหา (Pain Point) ของเมือง และตอบสนองความต้องการของภาคประชาชนได้อย่างตรงจุดใน 3 ด้าน ประกอบด้วย
• ด้านความมั่นคง โดยการติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) ในพื้นที่เพิ่มเติมจำนวน 30 จุด เชื่อมโยงกับกล้องวงจรปิดชุดเดิมและระบบซอฟต์แวร์อัจฉริยะ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการติดตาม กำกับดูแล ตรวจจับความผิดปกติ ก่อนนำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์และประมวลผล เพื่อยกระดับความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินให้กับประชาชนในพื้นที่ รวมถึงการบริหารงานจราจรอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังมีการติดตั้งป้ายประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์ (LED Billboard) เพื่อประชาสัมพันธ์ข่าวสารอันเป็นประโยชน์ รวมถึงข้อมูลเมืองอัจฉริยะในด้านต่างๆ แก่ประชาชน
• ด้านการศึกษา โดยดำเนินกิจกรรมยกระดับทักษะด้านดิจิทัล (Upskill) ให้กับบุคลากรครูจากโรงเรียนศรีมหาโพธิ และโรงเรียนมัธยมวัดใหม่กรงทอง ในพระราชูปถัมภ์ฯ กว่า 60 ราย
ผ่านหลักสูตรการยกระดับทักษะดิจิทัลสำคัญแห่งศตวรรษที่ 21 และกิจกรรมแสดงผลงานการพัฒนาคุณครูต้นแบบการศึกษาแห่งยุคดิจิทัล (Si Maha Phot Education Showcases) เพื่อพัฒนาและต่อยอดศักยภาพ รวมถึงเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนแก่บุคลากรครูในยุคดิจิทัล
• ด้านการสาธารณสุข โดยการส่งเสริมและสนับสนุนให้บุคลากรทางการแพทย์และกลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) จำนวน 100 ราย สามารถประยุกต์ใช้อุปกรณ์จัดเก็บข้อมูลสุขภาพ (Medical Devices) เพื่อช่วยบันทึกและตรวจสอบข้อมูลสุขภาพผู้สูงวัย รวมถึงผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงภายใต้การดูแลของสาธารณสุขอำเภอศรีมหาโพธิกว่า 200 ราย จัดเก็บผ่านระบบ CM Square ซึ่งเป็นระบบติดตามหน่วยบริบาลผู้มีภาวะพึ่งพิง เพื่อกำหนดแผนการดูแลผู้สูงวัย และผู้ป่วยที่มีภาวะพึ่งพิงได้อย่างใกล้ชิด รวดเร็ว แม่นยำ ทั่วถึง และเต็มประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
*****ทางด้านผศ.ดร.ณัฐพล นิมมานพัชรินทร์ ผู้อำนวยการใหญ่ สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล กล่าวว่า Smart Living ได้แบ่งเป็น 3 กลุ่ม -กลุ่มแรกคือเมืองที่ยังไม่เข้าใจเลย -กลุ่ม 2 ถูกประกาศเป็นเขตส่งเสริมแล้วหรือเรียกว่าบกพร่องหรืออยู่ระหว่างการพัฒนา - กลุ่มที่ 3 คือกลุ่มประกาศเขตแล้วได้สิทธิพิเศษทั้งภาษีและการลงทุนและการส่งเสริมอย่างเต็มที่ของรัฐบาล ทางศรีมหาโพธิของจังหวัดปราจีนบุรีจะอยู่ในกลุ่มที่ 1 คือกลุ่มที่ยังไม่รู้ไม่เข้าใจเลย เราคิดว่าจะทำยังไงให้ประชาชนมีความรู้มีความตระหนักคนในพื้นที่ให้เห็นความสำคัญในการยกระดับพื้นที่ตัวเอง ก็เลยเป็นที่มาที่ไปของการเลือกพื้นที่ในศรีมหาโพธิ ความพร้อมในส่วนของราชการเองและความพร้อมในส่วนของภาคประชาชนเองร่วมมือพร้อมกัน เมืองอัจฉริยะมีทั้งในเรื่องของเศรษฐิจเรื่องของสุขภาพเรื่องของการอยู่อาศัยเรื่องสิ่งแวดล้อมเรื่องของพลังงาน ประชาชนส่วนใหญ่จะเน้นในเรื่องของสุขภาพของผู้สูงอายุที่ปวดติดเตียงที่อยู่บ้าน และความปลอดภัย และการเรียนการสอน มันเป็นเรื่องที่ไม่ได้ไกลเกินเอื้อมกับการทำงานระยะสั้นถ้าจะทำให้ประชาชนในพื้นที่หรือหน่วยราชการภาคประชานทำงานร่วมกันได้และเห็นผลสำเร็จจึงเป็นประเด็นสำคัญในการทำงานในครั้งนี้ ส่วนในความปลอดภัยไม่ว่าจะไปในเรื่องของอาชญากรรมในการตรวจติดตาม เวลารถเข้าในพื้นที่ศรีมหาโพธิเราไม่รู้ว่ามาจากไหนบ้าง ถ้าสามารถตรวจจับในเส้นทางเข้าและเส้นทางออกหลายๆเส้นทาง คิดว่าตำรวจจะสร้างความมั่นคงความปลอดภัยให้กับประชาชนในพื้นที่ วิวัฒนาการเหล่านี้ขึ้นอยู่กับความพร้อมทุกจังหวัดจะได้รับการดำเนินการเหมือนกันหมด ในปี 2567 เราเสนอไปทั้งหมด 77 จังหวัด เมืองที่ถูกประกาศเป็นเขตอัจฉริยะมีทั้งหมด 30 พื้นที่ 23 จังหวัด ยังมีเมืองที่รออยู่อีก 43 จังหวัด
ขณะที่ นางจารุณี กาวิล หัวหน้าสำนักงาน จ.ปราจีนบุรี กล่าวว่า ชาวศรีมหาโพธิทุกคนปรารถนาที่จะเห็นความเปลี่ยนแปลงเชิงบวกในพื้นที่ ซึ่งหมายถึงคุณภาพชีวิตและความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น และพร้อมที่จะต่อยอดและสร้างเสริมศักยภาพของพื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ที่ยั่งยืน และหวังเป็นอย่างยิ่งว่า การมีส่วนร่วมเพื่อออกแบบพื้นที่เมืองในครั้งนี้จะสร้างแรงบันดาลใจและเป็นต้นแบบให้พื้นที่อื่น ๆ และพื้นที่ใกล้เคียงสามารถถอดบทเรียน เพื่อนำไปเป็นกลไกลในการขับเคลื่อนพื้นที่ของตนเองไปสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะด้าน Smart Living ในบริบทที่เหมาะสมกับผู้คน ชุมชน และพื้นที่ต่อไป
สำหรับการขับเคลื่อนการพัฒนาศรีมหาโพธิสู่การเป็นเมืองอัจฉริยะน่าอยู่ยังคงต้องดำเนินการในเรื่องของการกําหนดเป้าหมายร่วมกันของคนในพื้นที่เกี่ยวกับการขับเคลื่อนศรีมหาโพธิเมืองอัจฉริยะในอนาคต การออกแบบสถาปัตยกรรมของเมืองใหม่ และการจัดทํา City Data Platform ซึ่งจะเป็นส่วนสำคัญในการขยายผลจาก Smart Living ไปสู่ Smart ด้านอื่นต่อไป และสำหรับปี 2566 ดีป้า มีแผนที่จะขยายผลโครงการพัฒนาพื้นที่สู่การเป็นเมืองอัจฉริยะต้นแบบด้าน Smart Living ในพื้นที่ 5 จังหวัด เพื่อเป็นแนวทางในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมืองอัจฉริยะในประเทศไทยต่อไป ///////
ภาพข่าว/ดิเรกฤทธิ์ แสงสุวรรณ 098-256-1762 ปราจีนบุรี