Header Ads

 


ปราจีนบุรี-สภาพัฒน์ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง บทบาทภาคประชาชน

 



ปราจีนบุรี-สภาพัฒน์ จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่อง บทบาทภาคประชาชนใน

การมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA)

วันที่ 7 พ.ย.65 เวลา 9.00 น. ณ.ห้องธารทิพย์ โรงแรมแคนทารี กบินทร์บุรี ม.8 ต.เมืองเก่า อ.กบินทร์บุรี จ.ปราจีนบุรี สำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยกองยุทธศาสตร์การพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ครั้งที่ 1 เรื่องบทบาทภาคประชาชนในการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วยการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ (SEA) ภายใต้โครงการการขับเคลื่อนการประเมินสิ่งแวดล้อมระดับยุทธศาสตร์ ประจำปีงบประมาณ 2565 โดยมี ดร.วิชญายุทธ บุญชิต รองเลขาธิการสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ เป็นประธานเปิดการอบรม

การฝึกอบรม โดยการฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้เป็นการจัดอบรมในรูปแบบการประชุมเชิงปฏิบัติการ ผ่านการเรียนรู้กิจกรรมกลุ่ม การรับฟังการบรรยายโดยวิทยากรผู้เชี่ยวชาญ ซึ่งได้รับเกียรติจากผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย รศ.ดร.วันเพ็ญ วิโรจนกูฏ

นางสินี ช่วงฉ่ำ ดร.ชญาทัต เนียมแสวง และดร.กฤศ ฉายแสงเดือน ร่วมแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ร่วมกัน 

วัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและส่งเสริมความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการจัดทำ SEA ความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียในการจัดทำแผนด้วยกระบวนการ SEA ให้กับผู้เข้าร่วมอบรมจากภาครัฐ ภาคประชาชนและภาคประชาสังคม เพื่อสร้างเสริมความสามารถของภาคประชาชนและภาคประชาสังคมในการประยุกต์ใช้ SEA และการเตรียมความพร้อมสำหรับการมีส่วนร่วมในการจัดทำแผนด้วย SEA อย่าง

เหมาะสมและเพียงพอ ซึ่งมีผู้เข้าร่วมอบรมจำนวน 80 คน เป็นผู้แทนจากผู้นำชุมชน คณะกรรมการลุ่มน้ำ ผู้แทนเครือข่ายภาคประชาสังคมและอาสาสมัครเพื่อสังคม ผู้แทนภาคเอกชนและผู้ประกอบการ รวมทั้งผู้แทนหน่วยงานด้านการปกครองที่เกี่ยวข้องโดยตรง จากพื้นที่รอยต่อเขตมรดกโลกกลุ่มป่าดงพญาเย็น-เขาใหญ่ และจากพื้นที่ลุ่มน้ำใกล้เคียงในจังหวัดปราจีนบุรี นครนายก นครราชสีมา และสระบุรี 

ซึ่งในการฝึกอบรมจะแบ่งออกเป็น 3 ช่วงหลัก คือช่วงที่ 1 เป็นการสร้างกระบวนการเรียนรู้และรับฟังการบรรยายความรู้พื้นฐานเกี่ยวกับกระบวนการ SEA กับการจัดทำแผ่น และความสำคัญของการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสีย โดยเฉพาะภาคประชาชนและภาคประชาสังคม ,

ช่วงที่ 2 เป็นการเรียนรู้ผ่านกิจกรรมกลุ่มย่อย โดยแลกเปลี่ยนประสบการณ์ร่วมกับวิทยากรประจำกลุ่มย่อย ในประเด็นการวิเคราะห์บทบาทของผู้มีส่วนได้เสียในกระบวนการมีส่วนร่วมตามขั้นตอน SEA การเรียนรู้ตัวอย่างการรวบรวมข้อมูลโดยชุมชน เพื่อการมีส่วนร่วมอย่างมีคุณภาพในขั้นตอนต่าง ๆ ของกระบวนการ SEA เทคนิค วิธีการวิเคราะห์ และการกำหนดองค์ประกอบผู้มีส่วนได้เสีย ,ช่วงที่ 3 เป็นการสรุปบทเรียนที่ได้รับจากการฝึกอบรมและการนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในกระบวนการมีส่วนร่วมในอนาคตต่อไป

ผลจากการฝึกอบรมครั้งนี้จะเป็นประโยชน์ในพัฒนาองค์ความรู้เกี่ยวกับ SEA กระบวนการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียให้แก่ภาคประชาชนและเครือข่ายภาคประชาสังคม ซึ่งเป็นองค์ประกอบหลักที่สำคัญในกระบวนการ SEA และเห็นถึงความสำคัญในการจัดทำแผนที่มีความสมดุลของการพัฒนาทั้งในมิติเศรษฐกิจ สังคม

และสิ่งแวดล้อม โดยให้ความสำคัญกับการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้เสียอย่างเหมาะสมและเพียงพอ ทั้งจากผู้มีส่วนได้เสียที่เป็นภาครัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชน และประชาสังคมในพื้นที่ที่จะมีการจัดทำแผน และเป็นการมีส่วนร่วมตลอดทั้งกระบวนการ เพื่อสร้างความมั่นใจว่าแผนที่ได้จากการจัดทำ SEA มีความเหมาะสม

ตอบสนองต่อวิสัยทัศน์และเป้าหมายของการพัฒนา สอดคล้องกับบริบท สภาพปัญหา สามารถป้องกันและลดผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการพัฒนา เป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกภาคส่วน สามารถป้องกันปัญหาความขัดแย้งที่อาจเกิดขึ้นในขั้นตอนของการนำแผนไปสู่การปฏิบัติ และเป็นแผนที่สามารถขับเคลื่อนการพัฒนา

ประเทศไปสู่ความสมดุลและยั่งยืน

ในการอบรมในวันนี้ได้มีทั้งภาครัฐ ภาคเอกชล และภาคประชาชน ใน จ.ปราจีนบุรี จ.นครนายก จ.สระบุรี จ.นครราชสีมา ได้ให้ความสนใจเข้าร่วมอบรมเพื่อที่จะใช้ความรู้ในการอบรมในครั้งนี้ไปปรับใช้และสามารถป้องกันและลดผลกระทบด้านลบที่เกิดจากการพัฒนาและเป็นที่ยอมรับร่วมกันของทุกภาคส่วน 

จากการสอบถาม นายสุนทร คมคาย ผู้ประสารงาน ทสม. อ.กบินทร์บุรี กล่าวว่าวันนี้ได้เข้าร่วมอบรมเชิงปฏิบัติการ (SEA) ในครั้งนี้มีประโยชน์มากๆ ที่จะเป็นช่องทางในการที่จะสร้างขบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชน และเป็นการวิเคราะห์ศักยภาพในพื้นที่เพื่อที่จะเห็นตรงกันในการพัฒนาโครงการต่างๆให้สอดคล้องกับทางด้านภูมินิเวศและวัฒนธรรมในชุมชน ให้มันตรงกับความต้องการของคนในชุมชนรวมถึงในจังหวัดจริงๆ ตนอยากจะให้มีการจัดอบรมแบบนี้มากๆเพื่อจะให้ขบวนการการมีส่วนร่วมของชุมชนได้เข้าใจตรงกัน จะได้มีความรู้ความเข้าใจเพื่อที่จะลดการขัดแย้งของคนในชุมชน ตนอยากเชิญชวนทางผู้บริหารท้องถิ่นและภาคประชาชนถ้าได้รับเชินมาร่วมอบรมหรือมาพูดคุยกันอีก ตนคิดว่าพวกเราควรจะมาเรียนรู้ร่วมกันเพื่อวิเคราะห์ศักยาภาพเป็นเพื่อจะได้นำไปพัฒนาชุมชนให้มันสอดคล้องและได้เรียนรู้ร่วมกัน มันจะทำให้ความขัดแย้งในชุมชนกับผู้นำท้องถิ่นจะได้ลดลงและเห็นเป้าหมายตรงกัน

ทางสภาพัฒน์ จะมีการจัดฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ ในวันที่ 11 พ.ย.65 ณ.ห้องประชุมเวลาดี 2 โรงแรม ณ.เวลา ต.ดอนตะโก อ.เมืองราชบุรี จ.ราชบุรี //////////

ภาพ-ข่าว/ดิเรกฤทธิ์ แสงสุวรรณ 098-256-1762 ปราจีนบุรี








ขับเคลื่อนโดย Blogger.