Header Ads

 


ชลบุรี - โครงการพัฒนาท่ารือแหลมฉบังระยะที่ 3 ส่วนท่าเทียบเรือ F รับฟังความคิดเห็น ปชช.ครั้งที่ 3

ที่ ศาลาประชาคมอ่าวอุดม อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี นายวิวัฒน์ มหาผลศิริกุล รองผู้ว่าราชการจังหวัดชลบุรี เป็นประธานการประชุมการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือเอฟ โดยมี ดร.สุกิตย์ เทพมังกร ผู้อำนวยการโครงการฯ บริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด พร้อมเจ้าหน้าที่ และประชาชนผู้ที่ส่วนได้เสีย เข้าร่วมประชุมครั้งนี้เป็นจำนวนมาก
นายวิวัฒน์ กล่าวว่า การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งนี้ ประชาชนยังให้ความสนใจเป็นจำนวนมาก ถึงแม้ว่าจะผ่านมาถึง 3 ครั้งแล้ว โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ถือว่าเป็นเรื่องสำคัญ ของประเทศ ในการขนส่งสินค้า ซึ่งการพัฒนาอาจจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมบ้างไม่มากก็น้อย แต่ผลดีที่เกิดขึ้นจะมีมากกว่าผลเสีย ไม่เช่นนั้นรัฐบาลจะไม่ผลักดันให้โครงการนี้เกิดขึ้นอย่างแน่นอนและผลดีที่เกิดขึ้นจะทำให้จังหวัดชลบุรี หรือประเทศชาติ มีรายได้ มีความเจริญ ซึ่งจะเทียบเท่ากับอารยประเทศ
“ประชาชนและผู้นำท้องถิ่นให้ความสนใจกับโครงการนี้ ซึ่งจะทำให้การก่อสร้างดำเนินการก่อสร้างไปได้รวดเร็ว แต่ถ้าประชาชนมีความขัดแย้งหรือไม่ให้ความร่วมมือ การก่อสร้างอาจจะสะดุดหรือติดขัดได้ ดังนั้นทุกๆโครงการ แม้จะเป็นของรัฐหรือเอกชน ก็ต้องศึกษาผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อมด้วยเช่นกัน”
ดร.สุกิตย์ เทพมังกร ผู้อำนวยการโครงการบริษัท จีพีซี อินเตอร์เนชั่นแนล เทอร์มินอล จำกัด บริษัทที่ปรึกษาโครงการศึกษาฯ กล่าวว่า โครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 เป็นโครงการที่ดำเนินการโดยการท่าเรือแห่งประเทศไทย ซึ่งเป็นหนึ่งในโครงการเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก หรือ EEC ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ไทยแลนด์ 4.0 เพื่อเป็นโครงสร้างพื้นฐานท่าเรือและระบบโครงข่ายขนส่งต่อเนื่องที่จะต่อเชื่อมกับภายนอกให้เพียงพอต่อการรองรับการขยายตัวของปริมาณสินค้าเรือ และการขนส่งสินค้าประเภทต่างๆ ได้อย่างทันท่วงที ไม่ให้ประสบปัญหาด้านความแออัดและกระทบต่อขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ

สำหรับโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ในส่วนของท่าเทียบเรือเอฟ เป็นโครงการที่ กทท.ได้ได้เปิดโอกาสให้เอกชนเข้าร่วมในการพัฒนาท่าเทียบเรือเอฟ 1 และท่าเทียบเรือเอฟ 2 ในรูปแบบ การร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน (Public Private Partnership : PPP) ซึ่งมีระยะเวลาการร่วม ลงทุน 35 ปี สำหรับพัฒนาท่าเทียบเรือขนส่งตู้สินค้า บนพื้นที่ประมาณ 688 ไร่ ความยาวหน้าท่ารวมทั้ง 2 ท่า ประมาณ 2,000 เมตร มีพื้นที่หน้าท่ากว้าง 34.5 เมตร ซึ่งจะสามารถรองรับการขนถ่ายตู้สินค้าได้กว่า 4 ล้านทีอียูต่อปี และสามารถรองรับเรือขนส่งสินค้าขนาด 1.7 แสนเดดเวทตัน หรือบรรทุกตู้คอนเทนเนอร์ได้ 15,000 ตู้
อย่างไรก็ตาม โครงการดังกล่าวอาจมีผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมกับชุมชนโดยรอบ ซึ่งได้กำหนดพื้นที่การศึกษาของโครงการครอบคลุมรัศมี 5 กม. โดยจะครอบคลุมพื้นที่ 22 ชุมชน จาก 4 ตำบลใน 2 อำเภอของหวัดชลบุรี ได้แก่ ศรีราชา และบางละมุง จึงได้ทำการจัดเวทีรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวขึ้นเพื่อให้ข้อมูลกับผู้ได้รับผลกระทบในพื้นที่ศึกษา รวมทั้งหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องได้รับทราบถึงรายละเอียดของโครงการ ผลการสำรวจและศึกษาแนวทางการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมในด้านต่างๆ ทั้งทรัพยากรธรรมชาติ คุณภาพสิ่งแวดล้อม สุขภาพอนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชน โดยที่ผ่านมาได้เปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของประชาชนไปแล้ว 2 ครั้ง

ครั้งนี้เป็นครั้งที่ 3 แล้ว เพื่อให้ประชาชนผู้มีส่วนได้เสีย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ตรวจสอบความถูกต้อง และความครบถ้วนสมบูรณ์ของร่างรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม รวมถึงนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริง และข้อคิดเห็นเพิ่มเติม ต่อร่างรายงานฯ ดังกล่าว เพื่อให้ประชาชนมีความมั่นใจในร่างรายงานฯ ร่างมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม และร่างมาตรการติดตามตรวจสอบผลกระทบ

ดร.สุกิตย์ กล่าวต่อไปว่า หลังรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ครั้งที่ 3 แล้ว จะสรุปผลและนำเสนอต่อสำนักงานนโยบายและแผนสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ (สผ.) เพื่อพิจารณาให้ความเห็นชอบโครงการดังกล่าว เป็นที่เรียบร้อย จากนั้นจะยื่นขอใบอนุญาตการก่อสร้างสิ่งล่วงล้ำลำน้ำต่อไป คาดว่าจะยื่นต่อ สผ.ประมาณสิ้นปี 2565 นี้ ตามแผนงานที่วางไว้

ที่ผ่านมา ได้รับรับข้อเรียกร้องจากประชาชนเป็นจำนวนมาก ซึ่งข้อเรียกร้องของประชาชนและชุมชนส่วนใหญ่ เป็นห่วงด้านการขนถ่ายสินค้าหวั่นจะมีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัย และความปลอดภัยของชุมชน โดยจะนำข้อเรียกร้องมาปรับปรุงและผนวกไว้เป็นส่วนหนึ่งของรายงาน
โจ ลำน้ำปิง/รายงาน

ขับเคลื่อนโดย Blogger.