Header Ads

 


สภาหอการค้าฯ ” ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตรโดยการสนับสนุนจาก“ สสปน.” จัดงานประชุมสัมมนานานาชาติ




ด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวบนระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม (CVTEC) หลังเปิดประเทศนายสนั่นอังอุบลกุลประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทยเปิดเผยว่า“ งานประชุมสัมมนานานาชาติด้านการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวบนระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้ไทย-กัมพูชา-เวียดนาม (CVTEC)” ที่จัดขึ้นในวันที่ 24-25 พฤศจิกายน 2554 ณ โรงแรม Swissotel Bangkok Ratchada โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นเวทีในการสร้างเครือข่ายยกระดับองค์ความรู้และเป็นเวทีสำหรับการเจรจาจับคู่ธุรกิจระหว่างผู้ประกอบการไมซ์ของจังหวัดต่างๆบนพื้นที่เชื่อมโยง 3 ประเทศอันประกอบด้วยพื้นที่จังหวัดชลบุรีระยองจันทบุรี-ตราดของไทยจังหวัดเกาะกง-สีหนุวิลล์-กัมปอต-แกปของกัมพูชาและจังหวัดเกียนยาง-กาเมาของเวียดนามเพื่อเป็นโอกาสให้ผู้ประกอบการได้จับคู่ทางการค้าในการรองรับนักเดินทางไมซ์หลังรัฐบาลประกาศเปิดประเทศอีกทั้งจะมีการจับคู่ธุรกิจด้านการค้าและการลงทุนระหว่างผู้ประกอบการ SME ไทยเจรจาจับคู่ธุรกิจกับ Buyer จาก Modern Trade ที่มีสาขาในกัมพูชาและเวียดนามและตัวแทนกระจายสินค้าในกัมพูชาและเวียดนามเพื่อเป็นการขยายช่องทางการตลาดของ SME ออกไปสู่ตลาดประเทศเพื่อนบ้าน“ โครงการ CVTEC” นี้เป็นโครงการที่สภาหอการค้าแห่งประเทศไทยได้รับการสนับสนุนจากสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือ“ ทีเส็บ” และสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยพร้อมด้วยหอการค้าและภาคท่องเที่ยวของกัมพูชาและเวียดนามและปีนี้ได้เพิ่มพันธมิตรในการจัดงานคือสภาธุรกิจไทย-กัมพูชาและสภาธุรกิจไทย-เวียดนามซึ่งเป็นโครงการที่ดำเนินการร่วมกันมาอย่างต่อเนื่องเพื่อใช้กลไกลไมซ์ผลักดันให้เกิดการยกระดับการเชื่อมโยงการค้าการลงทุนการท่องเที่ยวและไมซ์บนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้ (Southern Coastal Economic Corridor และยังสามารถพัฒนาให้เชื่อมโยงกับเส้นทาง Belt and Road Initiative (BRI) ได้ในอนาคตอีกด้วยซึ่งแต่ละนี้จังหวัดบนพื้นที่เชื่อมโยง CVTEC นี้ล้วน แต่เป็นจังหวัดที่มีศักยภาพเป็นเส้นทางที่มีแหล่งท่องเที่ยวสำคัญจำนวนมากสามารถเดินทางไปมาระหว่างกันได้อย่างสะดวกทั้งทางรถและทางเรือและนอกจากการมีจุด


ขายของสินค้าและบริการที่แข็งแกร่งในพื้นที่แล้วพื้นที่เชื่อมโยงดังกล่าวยังมีโครงสร้างพื้นฐานที่เพียบพร้อมในการรองรับการเดินทางไมซ์ไม่ว่าจะเป็นที่พักสถานที่จัดประชุมสัมมนาที่ได้มาตรฐานรวมถึงเครือข่ายธุรกิจในท้องถิ่นที่แข็งแรงทำให้เส้นทางดังกล่าวถือเป็นเส้นทางแห่งโอกาสและเส้นทางไมซ์ใหม่แห่งอนาคตในการทำตลาดไมซ์เพื่อรองรับนักเดินทางและนักธุรกิจไมซ์จากทั้งในประเทศและต่างประเทศในรูปแบบ 1 Marketing 3 Destinations และยังช่วยยกระดับการค้าการลงทุนและโลจิสติกส์ของทั้ง 3 ประเทศอีกด้วยคุณภูริพันธ์บุนนาครองผู้อำนวยการใหญ่สายงานบริหารสำนักงานส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการ (องค์การมหาชน) หรือสสปน. กล่าวเพิ่มเติมว่าสำหรับแผนงานในการส่งเสริมกิจกรรมไมซ์บนเส้นทางเชื่อมโยง CVTEC ของสสปน. ในปีนี้นั้นสืบเนื่องจากการจัดทำแผนยุทธศาสตร์ด้านการส่งเสริมกิจกรรมไมซ์ในปีแล้วสสปน. มีแผนดำเนินกิจกรรมไมซ์สู่ภาคปฏิบัติประกอบด้วยการผลักดันให้เกิดการต่อยอดและสร้างมูลค่าเพิ่มทางด้านการค้าการลงทุนให้กับอุตสาหกรรมทั้งสินค้าและบริการบนพื้นที่ผ่านกลไกการจัดงานแสดงสินค้าโดยสนับสนุนงบประมาณการจัดงานแสดงสินค้าที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมและบริการเด่นของพื้นที่รวมถึงการสนับสนุนการเดินทางมาของนักธุรกิจไมซ์จากกัมพูชาและเวียดนามร่วมกิจกรรมเจรจาทางธุรกิจส่งเสริมให้เกิดการสร้างการรับรู้ถึงสินค้าบริการใหม่บนพื้นที่เชื่อมโยง 3 ประเทศผ่านการจัดกิจกรรม FAM TRIP เพื่อเป็นการนำเสนอและต่อยอดไอเดียสร้างสรรค์บนเส้นทางสายไมซ์โดยใช้องค์ประกอบ Thailand 7 MICE Magnificent Theme (7 Theme) เป็นกลไกเสริมให้เกิดการพัฒนาชุมชนและแหล่งท่องเที่ยวต่างๆตลอดแนวพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจด้านใต้ของทั้ง 3 ประเทศส่งเสริมและเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการไมซ์ของ 3 ประเทศได้มีโอกาสในการเจรจาจับคู่ทางการค้าและเชื่อมโยงเครือข่ายด้านธุรกิจไมซ์ระหว่างกันมากยิ่งขึ้นผ่านการจัดกิจกรรม MICE Business Roadshow CVTEC นอกจากนี้ยังส่งเสริมผลักดันให้ภาคเอกชนและเครือข่ายในพื้นที่ใช้เวที CVTEC ในการสร้างเครือข่ายเพื่อรวมตัวกันเสนอตัวในการเป็นเจ้าภาพในการประมูลสิทธิ์งาน International Meeting & Conference เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมเด่นลงในพื้นที่ด้วยสำหรับพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจชายฝั่งตอนใต้ (Southern Coastal Economic Corridor) เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญโดยเฉพาะอย่างยิ่ง 4 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ ชลบุรีระยองจันทบุรีและตราดถือเป็นกลุ่มจังหวัดที่มีรายได้เฉลี่ยต่อหัวมากที่สุดในประเทศในขณะที่กัมพูชาและเวียดนามในช่วงก่อนเกิดการแพร่ระบาดของ COVID-19 ก็มีอัตรา GDP อยู่ในระดับสูง (ประมาณร้อยละ 7) และจังหวัดในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจนี้ยังเป็นจุดเชื่อมต่อที่สำคัญไปสู่ศูนย์กลางและภูมิภาคอื่น ๆ ของประเทศกัมพูชาและเวียดนามดังนั้นการเสริมศักยภาพการเชื่อมโยงกันของเส้นทางไมซ์ดังกล่าวจะช่วยเพิ่มศักยภาพการค้าและการลงทุนของทั้ง 3 ประเทศได้มีประสิทธิภาพ






ขับเคลื่อนโดย Blogger.