ตำรวจสอบสวนกลาง รวบหนุ่มใหญ่คารถไฟ หลังเบี้ยวจ่ายค่าปรับศาลกว่า 175 ล้านบาท
17 พย.64 กองบังคับการตำรวจรถไฟ กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง ภายใต้การอำนวยการของ พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ได้สั่งการให้ พล.ต.ต.อำนาจ ไตรพจน์ ผบก.รฟ.,พ.ต.อ.ปัญญา กล้าประเสริฐ รอง ผบก.รฟ.,พ.ต.อ.ขวัญชัย พัฒรักษ์ ผกก.2 บก.รฟ.,พ.ต.ท.จักรพันธ์ จันวนา รอง ผกก.2 บก.รฟ., พ.ต.ท.เอนก ยอดหมวก รอง ผกก.2 บก.รฟ.
เจ้าหน้าที่ชุดจับกุม นำโดย พ.ต.ต.เลอศักดิ์ พิเชษฐไพบูลย์ สว.ฝอ.5 บก.อก.บช.ก.รรท.สว.ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.,ร.ต.ท.สมพุทธ์ ไพรบึง รอง สว(ป).ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.,ร.ต.ต.โยธิน ผ่องแผ้ว รอง สว(ป).ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.,,ด.ต.ขวัญประเทศ ทองคลัง ผบ.หมู่ ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.,ด.ต.ธเนศ จันท์กะพ้อ ผบ.หมู่ ส.รฟ.อรัญประเทศฯปฏิบัติราชการ ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.,ด.ต.สิทธิโชค สีแดง ผบ.หมู่ ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.และ ด.ต.ธนัท กลางประพันธ์ ผบ.หมู่ ส.รฟ.อยุธยา กก.2 บก.รฟ.
ร่วมกันจับกุม นายสุจิตร์ฯ อายุ 65 ปี ซึ่งเป็นผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญากรุงเทพใต้ ที่ 130/2562 ลง 29 เมษายน 2562 ซึ่งต้องหาว่ากระทำความผิดฐาน “พระราชบัญญัติศุลกากร,พระราชบัญญัติให้บำเหน็จในการปราบปรามผู้กระทำผิด”
จับกุม บนรถไฟขบวนรถด่วนพิเศษ 9 (กรุงเทพ-เชียงใหม่)
พฤติการณ์ ผู้ต้องหาเป็นกรรมการบริษัทนำเข้าสารเคมี (PVC) เพื่อทำพลาสติกส่งออกให้ต่างประเทศ โดยการนำเข้าได้มีกระบวนการหลีกเลี่ยงภาษีศุลกากรเกิดขึ้น จนถูกฟ้องร้องดำเนินคดี ตาม พรบ.ศุลกากรฯ มาตรา 27 ซึ่งผู้ที่นำพาหรือพาของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือของต้องจำกัด หรือของต้องห้าม หรือที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรไทยก็ดี หรือช่วยเหลือประการใดๆ ในการนำเข้าของเช่นว่านี้เข้ามาหรือส่งออกไปก็ดีฯ หรือเกี่ยวข้องด้วยประการใดๆ ในการหลีกเลี่ยง หรือพยายามหลีกเลี่ยงการเสียค่าภาษีศุลกากรฯ มีโทษสำหรับความผิดครั้งหนึ่งๆ ให้ปรับเป็นเงิน 4 เท่าของราคาของซึ่งได้รวมค่าอากรเข้าด้วยแล้ว หรือ จำคุกไม่เกิน 10 ปี หรือทั้งจำทั้งปรับ และ มาตรา 96 ถ้าในเวลาใดเวลาหนึ่ง ปรากฏว่าของในคลังสินค้ามีปริมาณน้อยลงกว่าที่จดไว้ในใบขนสินค้าเดิมเมื่อนำของนั้นเข้าเก็บ และปริมาณที่ต่างกันนี้ไม่มีเหตุผลปรากฏในบันทึกของพนักงานฯ ให้ถือว่าของตามปริมาณที่ต่างกันอันแสดงเหตุมิได้นั้น เป็นของที่ได้ย้ายขนไปโดยมิได้รับอนุญาตจากพนักงาน ให้ใช้ มาตรา 27 บังคับแก่กรณีนี้
ผู้ต้องหาได้ต่อสู้คดีความจนชนะในศาลชั้นต้น และชั้นอุทธรณ์ ต่อมาพนักงานอัยการได้อุทธรณ์ต่อศาลฎีกา จนในที่สุดศาลฎีกาพิพากษาว่าจำเลยมีความผิดตาม พระราชบัญญัติศุลกากรฯมาตรา 27,9 พิพากษาลงโทษให้จำคุก 1 ปี และปรับเป็นเงินจำนวน 175,657,455.88 บาท ผู้ต้องหาจึงได้หลบหนีจนกระทั่งถูกศาลออกหมายจับดังกล่าว
ต่อมาเจ้าหน้าที่ตำรวจ สืบสวนทราบว่าผู้ต้องหาได้เดินทางด้วยขบวนรถไฟ รถด่วนพิเศษ 9 (กรุงเทพ-เชียงใหม่) จึงได้ติดตาม แสดงตัวจับกุมผู้ต้องหาขณะที่รถไฟหยุดรับส่งผู้โดยสารที่สถานทีรถไฟอยุธยา จากนั้นนึงได้นำตัวผู้ต้องหานำส่งศาลเพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย
สอบถามคำให้การผู้ต้องหาเบื้องต้น ผู้ต้องหาให้การปฏิเสธ