Header Ads

 


เปิดตัวสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่



     วันที่ 26 ตุลาคม 2564ณ ห้องประชุมชมสักงามชั้น1สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่

 สภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่โดยการนำของว่าที่ร้อยตรีณัฐพนธ์ สุวรรณพงศ์ ประธานสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่ รวมทั้งหน่วยงานภาครัฐอาทิเช่น สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ ศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดแพร่ ขนส่งจังหวัดแพร่ พาณิชย์จังหวัดแพร่ และตำรวจภูธรจังหวัดแพร่รวมทั้งองค์กรภาคประชาชนที่ทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคในจังหวัดแพร่ได้จัดเวทีแถลงข่าวเพื่อเปิดตัวสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่รวมทั้งนำเสนอบทเรียนการทำงานเพื่อบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วนเครือข่ายผู้บริโภคภาคประชาชนจังหวัดแพร่ได้รวมตัวกันขึ้นเพื่อสร้างพื้นที่ในการปรึกษาหารือ แสวงหาแนวทางแก้ไขปัญหาผู้บริโภคที่เกิดขึ้นและเชื่อมกับหน่วยงานภาครัฐในการดำเนินงาน โดยที่ผ่านมาจะพบว่า  ผู้บริโภคจังหวัดแพร่ได้ประสบปัญหาในรูปแบบต่าง ๆ หลายครั้งที่หน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องอาจไม่สามารถคุ้มครองผู้บริโภคได้ทั้งหมด ดังนั้นการแก้ไขปัญหาของผู้บริโภคที่ดีจึงต้องประกอบด้วย ประการแรกคือผู้บริโภคจะต้องมีข้อมูลให้เท่าทันสถานการณ์เพื่อใช้รับมือ รวมทั้งเป็นเกราะป้องกันตัวจากการถูกเอารัดเอาเปรียบ ประการที่สอง การปรับปรุงพัฒนากฎหมายที่มีอยู่ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภคในปัจจุบัน ประการที่สาม ต้องบังคับใช้กฎหมายที่มีอยู่อย่างจริงจัง และให้เกิดประสิทธิภาพ

นายศรัณรัชต์ สายญาติ กองเลขาของสภาองค์กรผู้บริโภคจังหวัดแพร่รายงานว่าในสภาวะการณ์ปัจจุบัน ท่ามกลางกระแสบริโภคนิยมที่ผ่านโฆษณา ชักชวน ผู้บริโภคให้ ซื้อสินค้าหรือ ให้สินค้าเหล่านั้นมีความจำเป็นต่อการดำรงชีวิตต้องครอบครองและเป็นเจ้าของทั้งที่ไม่มีความจำเป็น นี่คืออิทธิพลของกระแสการบริโภคนิยมที่ผลิตเพื่อสนองความต้องการให้กับผู้บริโภคแต่ไร้คุณภาพ และมาตรฐาน ทำให้ผู้บริโภคตกเป็นเหยื่อของผู้ประกอบการที่คอยเอาแต่ผลประโยชน์กำไร บริการหลังการขายไม่ค่อยดุแลลูกค้าเมื่อใช้สินค้าแล้วพบปัญหา เป็นภาระของผู้บริโภคที่ต้องลุกขึ้นมาเรียกร้องสิทธิเรียกร้องความเสียหายหรือฟ้องร้องดำเนินคดีกับผู้ประกอบการ แทนที่ผู้ประกอบการจะออกมารับผิดชอบเพื่อพัฒนาสินค้าของตัวเองที่ชำรุดบกพร่องและดูแลผู้บริโภค ทั้งหลายทั้งปวงนี้ยังเป็นปัญหาให้กับผู้บริโภคจากสถานการณ์ปัญหาผู้บริโภค  บทบาทหน้าที่ของกรรมการสภาผู้บริโภคจังหวัดแพร่        เป็นตัวแทนของผู้บริโภคในการประสานนโยบาย และดำเนินงาน ร่วมกับท้องถิ่น หน่วยงานรัฐ และภาคเอกชนสนับสนุนการมส่วนร่วมและการรวมตัวกันของผู้บริโภคในการจัดตั้งองค์กร ผู้บริโภคส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดเครือข่ายองค์กรผู้บริโภค ที่มีพลังในการคมครองและ พิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคให้คำปรึกษา และให้ข้อเสนอแนะแก่ท้องถิ่นและหน่วยงานของรัฐเพื่อการ       คุ้มครองและพิทักษ์สิทธิของผู้บริโภคสนับสนุน เผยแพร่ความรู้และสร้างความเข้าใจเกี่ยวกับการคุ้มครองและพิทักษ์ สิทธิของผู้บริโภค

โครงสร้างคณะกรรมการสภาผู้บริโภค จังหวัดแพร่ปี2564 -2566

1. ว่าที่ร้อยตรีณัฐพนธ์ สุวรรณพงศ์   ประธานสภาผู้บริโภคจังหวัดแพร่ 

2. นางสาเนียง มณีวงค์     รองประธาน 

3. นางสาวจิตรนาถ ยรรยงค์    รองประธาน 

4. นางสาวสายรุ้ง ธรรมมี       ประชาสัมพันธ์ 

5. นายศรัณรัชต์ สายญาติ     เลขานุการ 

6. นางจีระพรรณ แสนแจ้       คณะกรรมการ 

7. นางสุรีย์ วงศาโรจน์       คณะกรรมการ 

8. นางสาวจีระพันธ์ วงค์ระแหง    คณะกรรมการ 

9. นายราเชนท์ โชติถนอมกิจ    คณะกรรมการ 

10. นางคัทลียา เทียนทอง      คณะกรรมการ 

11. นางภัสสร อินโองการ      คณะกรรมการ 

12. นางสาวมีนา ทองรศ     คณะกรรมการ 

13. นางรัชฎา ไชยยงค์     คณะกรรมการ 

14. นางมยุรี  เครือใจ                  คณะกรรรมการ 

15. นางรำพรรณ แก้ววรรณา           คณะกรรมการ 

16. นางปิยาพร เกี๋ยงคา     คณะกรรมการ 

17. นายทนง วิชัยต๊ะ     คณะกรรมการ 

18. นายวีรากร ภูกา     คณะกรรมการ 

19. นางสาววาสนา มุ้งป่า           คณะกรรมการ

เภสัชกรหญิง กัณกนิษฐ์ ธุระกิจ จากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ได้พูดถึงการทำงานคุ้มครองผู้บริโภคจังหวัดแพร่ว่าที่ผ่านมาได้ร่วมงานและลงพื้นที่กับศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดแพร่มาโดยตลอดจากการทำงานที่ผ่านมาได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการแก้ไขปัญหาผู้บริโภคจังหวัดแพร่อาทิเช่นเรื่องอาหาร ยาผลิตภัณฑ์สุขภาพ และการเฝ้าระวังคลื่นวิทยุต่างๆอย่างต่อเนื่องซึ่งการโฆษณาคุณภาพเกินจริงส่งผลกระทบวงกว้างแก่ผู้บริโภคซึ่งทุกคนต้องร่วมมือกันและทำงานอย่างต่อเนื่อง           ผู้อำนวยการสำนักงานพาณิชจังหวัดแพร่ ได้พูดถึงแนวทางการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคจังหวัดแพร่ว่าทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและภาคเอกชนต้องร่วมมือกันในการแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่อง สำนักงานพาณิชจังหวัดแพร่เป็นอีกหนึ่งองค์กรที่ได้รับการร้องเรียนปัญหาต่างๆจากผู้บริโภคเช่น การไม่ติดราคาอาหารที่ชัดเจนในร้านอาหาร ร้านค้าสินค้าเกินราคาที่กำหนด ทางสำนักงานพานิชจังหวัดได้ลงพื้นที่เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างต่อเนื่องและต้องอาศัยภาคประชาชนในการทำงานร่วมกันและเป็นสื่อกลางในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารกับผู้บริโภคในจังหวัดแพร่จังหวัดแพร่         ผลการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์ที่ 1 เพื่อพัฒนาและส่งเสริมศักยภาพให้องค์กรผู้บริโภคที่มีคุณภาพเป็นองค์กรต้นแบบในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภค

ประชุมระดับจังหวัดอย่างมีส่วนร่วมระหว่างทีมทำงานของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภคที่เป็นองค์กรคุณภาพขั้นสูงและภาคีหุ้นส่วนที่ทำงานสนับสนุนการพัฒนาองค์กรคุณภาพระดับจังหวัด จำนวน 10 คน           รูปธรรมความสำเร็จที่เกิดขึ้น           ทบทวนบทบาทหน้าที่บทบาทหน้าที่ของกรรมการสภาผู้บริโภคจังหวัดแพร่     วิเคราะห์ผลสำเร็จการดำเนินงาน ปัญหาอุปสรรค วางแผนการดำเนินงานเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ปัญหา     มีแผนการดำเนินงานที่ชัดเจน     นำเรื่องร้องเรียนมาวิเคราะห์ร่วมกันเพื่อวางแผนในการทำกิจกรรมและบูรณาการทำงานกับทุกภาคส่วน      วัตถุประสงค์ที่2 : เพื่อพัฒนาการรวมตัวขององค์กรผู้บริโภคในระดับจังหวัดให้สามารถคุ้มครองและพิทักษ์สิทธิผู้บริโภคได้      จัดเวทีประชุมสนับสนุนให้องค์กรคุณภาพขั้นสูง ดำเนินงานพัฒนาร่วมกับองค์กรผู้บริโภครวมทั้งพัฒนาองค์กรของตนเอง ให้มีความสามารถในการทำงานคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคเพิ่มมากขึ้น    รูปธรรมความสำเร็จที่เกิดขึ้น    ทบทวนการทำงานบทบาทหน้าที       วางแผนกิจกรรมให้สอดคล้องกับแผนงานและสถานการณ์รวมทั้งงบประมาณที่ได้รับ   วิเคราะห์ปัญหาอุปสรรคการทำงาน   แต่ละกลุ่มคิดแผนการทำงานของตนเอง     ติดตามงานคงเหลือองค์กรคุณภาพวางแผนการขับเคลื่อนสภา     ลงพื้นที่สนับสนุนการทำงานขององค์กรสมาชิกในการทำกิจกรรมต่างๆเช่นการสร้างแกนนำในพื้นที่ การรณรงค์ในพื้นที่  การจัดเวทีประชุมในพื้นที่เพื่อทำความเข้าใจในเรื่องสภาองค์กรของผู้บริโภคระดับประเทศและระดับจังหวัด

วัตถุประสงค์ที่ 3: เพื่อพัฒนาองค์กรและเครือข่ายผู้บริโภคให้มีระบบการเฝ้าระวังและแก้ไขปัญหาปัจจัยเสี่ยงด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพในระดับพื้นที่และระบบออนไลน์     มีเรื่องร้องเรียนของพื้นที่จังหวัดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้คือ  ให้ข้อมูล คำแนะนำ และคำปรึกษา ที่ดำเนินการได้ 80% และการแก้ไขปัญหาหรือส่งต่อหน่วยงานที่เกี่ยวข้องการเฝ้าระวัง รับเรื่องร้องเรียนแก้ไขปัญหา และการคุ้มครองสิทธิของผู้บริโภคด้านผลิตภัณฑ์สุขภาพ ร่วมกับองค์กรภาคีเครือข่ายที่เกี่ยวข้อง  และนำข้อมูลจากเรื่องร้องเรียนมาสังเคราะห์เพื่อทำให้เกิดข้อเสนอในการแก้ไขปัญหาร่วมกัน สนับสนุนการทำงานเฝ้าระวังและรับเรื่องร้องเรียนของศูนย์คุ้มครองสิทธิผู้บริโภ      รูปธรรมที่เกิดขึ้น    มีเรื่องร้องเรียนตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2563  ถึงเดือน กันยายน  2564                 สถานการณ์ปัญหาที่เกี่ยวข้องกับผู้บริโภคในพื้นที่จังหวัดแพร่ ปัญหาที่ผู้บริโภคจังหวัดแพร่ต้องเผชิญ ปัญหาอาหารหมดอายุแล้วยังนำมาจำหน่ายในห้างร้าน วันที่ผลิต วันหมดอายุ ไม่ชัดเจน ฉลากกำกับไม่เป็นภาษาไทย ปัญหาผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่โฆษณาอวดอ้างสรรพคุณเสมือนยารักษาโรค โดยที่ไม่มีการควบคุม หรือกำกับดูแลอย่างทั่วถึง เช่น ผลิตภัณฑ์ลดน้ำหนัก เร่งผิวขาว หน้าเด้ง หน้าใส หรือแม้กระทั่งผลิตภัณฑ์ที่เสริมสมรรถภาพทางเพศ ก่อให้เกิดอันตรายแก่ผู้บริโภค รวมถึงพบสิ่งเจือบนในอาหารนอกจากนี้จากการลงพื้นที่ของคณะทำงานยังพบว่ามีการขายน้ำคลอโรฟิลที่มีทะเบียนปลอมให้แก่ผู้บริโภคในพื้นที่จึงได้ประสานกับสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดแพร่ในการลงพื้นที่ตรวจสอบและแจ้งผู้ผลิตเพื่อยุติการขาย น้ำพริกหนุ่มที่ใส่สารกันบูดเกินมาตรฐาน  นำปูมีการปนเปื้อนสารที่มาจากยาฆ่าหญ้า 

ปัญหาบริการสุขภาพคือ การย้ายสิทธิการรักษา  มาตรฐานการรักษา, ระบบการส่งต่อ, การใช้สิทธิในกองทุนฉุกเฉิน ที่ยังคงเป็นปัญหาจากความเข้าใจและการตีความที่ไม่ตรงกันระหว่างผู้ใช้บริการกับผู้ให้บริการ ว่าอาการป่วยลักษณะไหนที่เข้าข่ายใช้สิทธิฉุกเฉินได้ ปัญหาคุณภาพการให้บริการของเจ้าหน้าที่โรงพยาบาล ผลกระทบจากการฉีดวัคซีนโควิด-19เป็นต้น

ภาพ/ข่าว

ราเชนทร์ โชติถนอมกิจ

แพร่.รายงาน





ขับเคลื่อนโดย Blogger.