Header Ads

 


ธ.ก.ส. จัดนโยบาย มาตรการให้ความช่วยเหลือลูกค้าที่มีหนี้เงินกู้กับ ธ.ก.ส.


นายเจริญชัย กสิสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักงาน ธ.ก.ส.จังหวัด​นครสวรรค์​ เปิดเผยว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid 19 และภัยธรรมชาติ พี่มีความรุนแรงอย่างต่อเนื่องส่งผลกระทบต่อการประกอบอาชีพของเกษตรกรในภาคการเกษตร และผู้ประกอบการในภาคธุรกิจ​ รวมถึงเศรษฐกิจ ในภาพรวมของประเทศยังหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทำให้ผู้ได้รับผลกระทบไม่มีรายได้ หรือมีรายได้ลดลงกว่าปกติเป็นภาระหนัก ไม่สามารถชำระหนี้ได้ตามกำหนด เพื่อเป็นการผ่อนคลายความกังวลใจและการลดภาระการชำระหนี้ให้แก่ลูกค้าเป็นการชั่วคราว ธนาคารจึงออกมาตรการเพื่อช่วยเหลือลูกค้าที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัส covid-19 ซึ่ง ธนาคารมีโครงการพักชำระหนี้สำหรับลูกค้าที่มีประวัติการชำระหนี้ดี แต่ประสบปัญหาจากสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัส covid-19 โดยธนาคารจะพักชำระหนี้ต้นเงิน ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงงวดเดือนมีนาคม 2565 เป็นระยะเวลา 1 ปี นับจากงวดชำระเดิม และพักชำระดอกเบี้ยเงินกู้ที่ถึงกำหนดชำระตั้งแต่งวดเดือนกรกฎาคม 2564 ถึงงวดเดือนธันวาคม 2564 เป็นระยะเวลา 2 เดือนนับจากงวดชำระเดิม โดยธนาคารเปิดช่องทางรับแจ้งความประสงค์สมัครเข้าร่วมโครงการ โดยให้ความเป็นไปตามความสมัครใจ ของลูกค้า ซึ่งลูกค้าสามารถลงทะเบียนเข้าร่วมโครงการ ผ่าน BAAC Line Family เว๊ปไซต์​ของธนาคาร https: www baac.or.th)​ หรือติดต่อได้ที่ ธ.ก.ส.ทุกสาขา

โครงการสินเชื่อสู้ภัย COVID-19 วงเงินสินเชื่อรวม 10,000 ล้านบาท

วัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนสำหรับผู้ได้รับผลกระทบจากการ

แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) และเพิ่มสภาพคล่องชั่วคราวในการดำรงชีวิตให้แก่ประชาชน  

ผู้กู้ต้องเป็นเกษตรกรหรือลูกจ้างภาคการเกษตร อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ สูงสุดไม่เกิน 70 ปี เป็นผู้ได้รับผลกระทบ

จาก COVID-19 ใช้รายงานข้อมูลเครดิตแบบมี Score ประกอบการพิจารณาให้สินเชื่อ  วงเงินกู้ไม่เกิน 10,000 บาทต่อราย  กำหนดอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 0.35 ต่อเดือน (Flat Rate) ชำระหนี้คืนเป็นงวดรายเดือน ให้ชำระหนี้คืนเสร็จสิ้นไม่เกิน 3 ปี โดยปลอดชำระต้นเงินและดอกเบี้ย 6 เดือนแรก นับแต่เดือนที่ทำสัญญากู้  ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ สิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2564  

 โครงการสินเชื่อสานฝันสร้างอาชีพ  วงเงินสินเชื่อรวม 30,000 ล้านบาท  

วัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้  เพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกร หรือทายาทเกษตรกร หรือ

บุคคลในครัวเรือนของเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไปที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของ COVID - 19 ได้มีแหล่งเงินทุนในการประกอบอาชีพ มีรายได้เพียงพอในการดำรงชีวิตประจำวัน สนับสนุนการสร้างงานสร้างอาชีพในชุมชนเมืองและภาคชนบท ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ผู้กู้ต้องเป็นเกษตรกร ทายาทเกษตรกร บุคคลในครัวเรือนเกษตรกร หรือบุคคลทั่วไป ที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่มีแผนในการประกอบอาชีพเกษตรหรือประกอบการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง หรืออาชีพนอกภาคการเกษตร หรืออาชีพที่มีลักษณะ

เป็นการลงทุนค้าขายเพื่อเลี้ยงชีพในครัวเรือนซึ่งใช้เงินลงทุนไม่มากนัก  วงเงินกู้ไม่เกิน 100,000 บาทต่อราย  

กรณีกู้เป็นค่าใช้จ่ายคิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 12 เดือน (พิเศษไม่เกิน 18 เดือน) นับแต่วันกู้  กรณีเป็นค่าลงทุนปีที่ 1-3 คิดดอกเบี้ย 4% ต่อปี ปีที่ 4 - 5 อัตราดอกเบี้ย MRR (ปัจจุบัน MRR เท่ากับร้อยละ

6.5 ต่อปี) กำหนดระยะเวลาชำระคืนไม่เกิน 5 ปี โดยปลอดชำระต้นเงิน 2 ปีแรก แต่ยังต้องชำระดอกเบี้ย

ระยะเวลาดำเนินงานโครงการ สิ้นสุดโครงการ วันที่ 31 มีนาคม 2567

 โครงการส่งเสริมและสนับสนุนสินเชื่อสีเขียว (Green Credit)  ผ่านแหล่งเงินทุนพันธบัตร

เพื่ออนุรักษ์สิ่งแวดล้อม (Green Bond) และแหล่งเงินทุนธนาคาร วงเงินเงินสินเชื่อรวม 15,000 ล้านบาท  วัตถุประสงค์ในการปล่อยกู้ เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายหมุนเวียนและหรือเพื่อเป็นค่าลงทุนในการส่งเสริมการประกอบอาชีพการเกษตรหรือกิจการที่เกี่ยวเนื่องการเกษตร ที่มีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการผลิตเกษตรอินทรีย์หรืออาหารปลอดภัย (Food safety) ที่ได้มาตรฐานรับรองเกษตรอินทรีย์หรือแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับความปลอดภัยทางด้านอาหาร หรือส่งเสริมให้ใช้พลังงานทางเลือกหรือพลังงานทดแทนหรือพลังงานสะอาด หรือส่งเสริมการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม รวมถึงการส่งเสริมศิลปวัฒนธรรมหรือวิถีชุมชน  ผู้กู้ต้องเป็นเกษตรกร หรือบุคคล ผู้ประกอบการ

ที่เป็นนิติบุคคล กลุ่มวิสาหกิจชุมชน หรือองค์กร กลุ่มเกษตรกร หรือสหกรณ์ภาคการเกษตร  วงเงินกู้เป็นไปตามข้อบังคับของธนาคาร โดยธนาคารคิดดอกเบี้ยจากลูกค้าผู้กู้ในอัตรา MRR (ร้อยละ 6.50 ต่อปี) หรือ MLR (ร้อยละ 4.875 ต่อปี) แล้วแต่ประเภทลูกค้า  ทั้งนี้ กรณีลูกค้าได้รับการรับรองมาตรฐานหรือแนวทางปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง

ในแต่ละประเภทวัตถุประสงค์ของการกู้เงินตามโครงการ  ธนาคารจะปรับลดอัตราดอกเบี้ยให้แก่ลูกค้าดังกล่าว

ในอัตรา MRR - 1 หรือ MLR - 0.50 แล้วแต่กรณีตามประเภทของลูกค้า









ภาพ/ข่าว อัมพณ จับศรทิพย์

ขับเคลื่อนโดย Blogger.