Header Ads

 


เดือด..สภาฯร้อนแรง ถกญัตติขอรับความเห็นชอบก่อหนี้ผู้พักจ้างเหมาทำ CCTV 3 ปี รวม 200 ล้านบาท สภาฯค้าน กม.สัญญาอาจมีปัญหาก่อนถกกันดุเดือด สุดท้ายประธานฯเบรกหวั่นบานปลาย ขอใช้อำนาจขอลงมติลับผลคะแนนเสมอ 4:4 ประธานต้องใช้อำนาจยกเลิกโครงการ ขอให้แก้ไขนำเสนอใหม่ ก่อนสั่งปิดประชุมขณะสถานการณ์ยังครุกรุ่น


ในการประชุมสภาเมืองพัทยาสมัยสามัญที่ 3 ครั้งที่ 1 ประจำปี 2564 ที่ห้องประชุมสภาเมืองพัทยา จ.ชลบุรี นายอนันต์ อังคณาวิศัลย์ ประธานสภาเมืองพัทยา เป็นประธานการประชุมเพื่อพิจารณาโครงการและวาระจำเป็นต่อการพัฒนา โดยมีนายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา คณะผู้บริหาร หัวหน้าส่วนราชการ สมาชิกสภาเมืองพัทยา ตลอดจนสื่อมสารมวลชนเข้าร่วม

โอกาสนี้นายบรรลือ กุลละวนิชย์ รองนายกเมืองพัทยา ได้ขึ้นกล่าวเพื่อขอญัตติการขอความเห็นชอบในการก่อหนี้ผูกพันงบประมาณรายจ่ายเกินกว่า 1 ปี งบประมาณ ของสำนักยุทธศาสตร์และงบประมาณ ส่วนเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ฝ่ายสื่อสาร เพื่อจ้างเหมาเอกชนในลักษณะการเช่าเหมาจัดทำระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดระยะเวลา 36 เดือน ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564-เดือนกันยายน 2567 เป็นจำนวนเงิน 200 ล้านบาท 

ขณะที่นายสนธยา คุณปลื้ม นายกเมืองพัทยา กล่าวชี้แจงเพิ่มเติมว่าที่ต้องดำเนินโครงการก็เพื่อให้เป็นไปตามแผนยุทธศาสตร์ชาติระยะ 20 ปี  ใน 6 ด้าน เกี่ยวยุทธศาสตร์ความมั่นคง เพราะเมืองพัทยาเป็นเมืองศูนย์กลางแห่งการเชื่อต่อของการคมนาคม มีความเติบโตทางเศรษฐกิจและจำนวนนักท่อง เที่ยวเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งยังเตรียมความพร้อมเพื่อให้เกิดการสอดรับกับนโยบายพัฒนาเศรษฐกิจภาคตะวันออกหรือ EEC ที่คาดว่าจะมีการลงทุนจากภาคเอกชนกว่า 1.9 ล้านล้านบาท จึงจำเป็นต้องมีความพร้อมในการดูแล เฝ้าระวัง ตรวจตรา และรักษาความปลอดภัยให้แก่ประชาชนและนักท่องเที่ยวลอด 24 ชม.โดยใช้ระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิดที่มีศักยภาพสูงเข้ามาติดตั้งในการสอดส่องดูแล ที่เข้ากับมาตรการรัฐในโครงการ “ล้มแล้วลุกไว” ด้วยคาดหมายว่าสถานการณ์ของประเทศไทยจากการรายงานของธนาคารแห่งประ เทศไทยระบุว่าจะดีขึ้นในปี 2566 เมืองพัทยาจึงต้องเตรียมการให้พร้อมไว้ในการรองรับ

เมืองพัทยามีความจำเป็นต้องทำการว่าจ้าเกินหนึ่งปีงบประมาณ เนื่องจากจะได้ดำเนิน การอย่างต่อเนื่อง โดยในสัญญา 3 ปี จะแบ่งออกเป็นปี 2565 จำนวน 30 ล้านบาท ปี 2566 จำนวน 80 ล้านบาท และปี 2567 จำนวน 90 ล้านบาท รวม 200 ล้านบาท ทั้งนี้นอกจากผู้รับจ้างจะเข้ามาดำเนินการเปลี่ยนกล้องที่เสื่อมสภาพและนำกล้องใหม่มาทำแทนจำนวน 940 ตัวแล้ว ยังมีข้อกำหนด TOR หากเกิดการขัดข้องและต้องซ่อมบำรุงให้แล้วเสร็จภายในเวลา 72 ชม. ขณะที่ในอนาคตจะมีการขอรับความเห็นชอบอีก 3 ปี เพื่อของบประมาณในการว่าจ้างผู้รับเหมาเข้ามาดูแลระบบกล้องอีกปีละ 15 ล้านบาทรวม 45 ล้านเพื่อให้ดูแลระบบกล้องเดิมและในอนาคตมีแผนจะเปลี่ยนกล้องทั้งหมดให้ครอบคลุมพื้นที่ ตั้งเป้าปี 68-70 เพิ่มจำนวนเป็น 1,907 ตัว ขณะที่ปี 71-73 เพิ่มจำนวนเป็น 2,418 ตัว

ด้านนายสินไชย วัฒนศาสตร์สาธร สมาชิกสภาเมืองพัทยา เปิดประเด็นว่าเห็นชอบตามแผนยุทธ ศาสตร์ชาติ 20 ปี โดยเฉพาะการลงทุนด้านโครงสร้างพื้นฐาน แต่ระบบกล้องวงจรปิดมีปัญหาตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่เป็นสมาชิกสภาเมืองพัทยาตั้งแต่ 5 ปีที่ผ่านมา ด้วยพบว่าแต่ละหน่วยงานจัดทำโครงการใดๆก็จะผนวกเอาระบบกล้องเข้ามาใส่ไว้ด้วยแต่ไร้การดูแล ทำให้ไม่มีศูนย์รวมในการบริหารจัดการกระทั่งยุค พลตรี อนันต์ เจริญชาศรี ในสมัยเป็นนายกเมืองพัทยา จึงได้ตั้งให้สำนักยุทธศาสร์และแผนงบประมาณเข้ามาเป็นแม่งาน เรื่องนี้เป็นประเด็นที่สภาฯติดตามมาตลอด นอกจากได้รับการร้องเรียนเป็นจำนวนมากเพราะกล้องที่ติดตั้งไว้สามารถใช้งานได้เพียง 30-40 % เท่านั้น โดยสาเหตุหลักที่ได้รับการ้องเรียนคือเรื่องของระบบสายสัญญาณที่มักมีปัญหาการไหม้บ่อย สภาฯจึงอนุมัติโครงการในการจัดทำ Fiber optic ลงใต้ดินจำนวน 4 โครงการ งบกว่า 62 ล้านบาท ซึ่งจัดทำเสร็จไปแล้ว 2 โครงการ อย่างไรก็ตามไม่มีการรับประกันว่าเมื่อทำระบบนี้แล้วกล้องจะติดสมบูรณ์ 100 % โดหากไม่ติดควรทำอย่างไร

นายสินไชย กล่าวต่อไปว่าทุกโครงการตั้งแต่ปี 2542 จะมีการติดตั้งกล้องทั้งหมดแต่ไม่ได้มีการวาง แผนว่าจะใช้งานอย่างไร เพราะไม่มีการศึกษาออกแบบ ทั้งๆที่เมืองพัทยาเป็นเมืองท่องเที่ยวระดับโลก สิ่งเหล่านี้ดำเนินการโดยไม่ผ่านขบวนการคิดที่รอบคอบทั้งๆที่เป็นโครงการที่มีประโยชน์ หลายโครงการจัดทำแล้วสูญเสียงบประมาณโดยใช่เหตุ อาทิ การติดกล้องในเรือโดยสารจำนวน 200 ชุด งบประมาณกว่า 59 ล้านบาท โดยกล่าวอ้างว่าใช้ดูระบบการเดินเรือเพื่อป้องกันอุบัติภัยทางน้ำ สุดท้ายโครงการนี้กล้องสูญหายไปหมดงบ ประมาณก็สูญเสียไปโดยใช่เหตุ ดังนั้นการจัดทำโครงการใดจึงควรศึกษาความเหมาะสม คุณภาพ จัดติดตั้ง การดูแล และการใช้ประโยชน์ที่คุ้มค่าด้วย

ขณะที่นายอนันต์ อังคณาวิศัลย์ ประธานสภาเมืองพัทยา กล่าวทิ้งท้ายในขณะที่สถานการณ์การอภิปรายเริ่มหนักหน่วงและรุนแรงขึ้น โดยระบุว่าสัญญาที่ทำมาถือว่ามีประโยชน์ต่อเมืองพัทยา แต่สัญญามี 2 ระยะคือระยะที่ 1 ในการเปลี่ยนระบบกล้อง 940 ตัวในระหว่างปี 2565-2567 รวม 200 ล้านบาท และยังมีแผนอีก 3 ปีในการว่าจ้างผู้รับเหมาเข้ามาซ่อมบำรุงอีกปีละ 15 ล้านบาท 3 ปี กรณีนี้หากผู้รับเหมารายแรกได้งานแต่ไม่ประมูลงานในระยะที่ 2 เพื่อดูแลระบบและซ่อมบำรุง ผู้รับเหมารายใหม่จะรับผิดชอบค่าเสียหายของกล้องหากเกิดการชำรุดและซ่อมบำรุงหรือไม่ เนื่องจากอาจมีค่าใช้จ่ายเกินกว่างบประมาณที่ตั้งไว้จำนวน 15 ล้านบาท เรื่องนี้แม้จะเป็นสิ่งดีต่องบประมาณแต่ควรไปศึกษารายละเอียดและวาง Master Plan ให้ชัดเจน เนื่องจากอาจเกิดความไม่เป็นธรรมและมองว่าเป็นเรื่องที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจเกิดปัญหาการร้องเรียนในอนาคตได้ ทางที่ดีควรนำร่าง Tor เสนอต่อสำนักงานอัยการสูงสุดเพื่อพิจารณา หรือแก้ไขใหม่ให้เหมาะสมแล้วเสนอเข้ามาพิจารณาใหม่อีกรอบ

สุดท้ายจากสถานการณ์ที่เริ่มดุเดือดมากขึ้นประธานสภาจึงอาศัยอำนาจตามข้อ 88 ของระเบียบ พ.ร.บ.บริหารราชการเมืองพัทยาขอให้มีการลงมติในทางลับ ซึ่งแม้ว่านายกเมืองพัทยาจะคัดค้านว่าการลงมติในการทางลับไม่เห็นสมควร เนื่องจากควรเป็นเรื่องของสถาบันฯหรือความมั่นคงของชาติ ซึ่งประธานฯระบุว่าเป็นอำนาจที่สามารถกระทำได้ จึงได้ให้จัดมีการลงมติทางลับ โดยผลปรากฏว่าการลงเสียงออกมาเสมอกัน 4:4 ทำให้ประธานฯต้องอาศัยอำนาจชี้ขาด ก่อนระบุว่าให้ฝ่ายบริหารไปจัดทำโครงการมาใหม่เพื่อพิจารณาอีกครั้ง ก่อนสั่งปิดประชุมเพื่อลดความตรึงเครียดที่เกิดขึ้นทันที









ภาพ/ข่าว นรงค์ สัตยานุกุล

สมนึก เชื้อสนุก รายงาน

ขับเคลื่อนโดย Blogger.