Header Ads

 


อุทัยธานี-ลูกช้างยังห่วงคอกอยู่ หลังแม่ช้างวนมารับ 2 รอบ เจ้าหน้าที่เอาใจช่วยไปเลย

เมื่อวันที่ 5 ส.ค. 63 นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ.สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) ได้รายงานความคืบหน้าหลังจากช้างโขลงแม่ พยายามจะเข้ามารับลูกช้างห้วยขาแข้งพลัดหลง ถึงคอก โดยมีการส่งช้างผู้แทน มายื่นงวงแตะชวนกลับไปอยู่ป่ากันแล้ว เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม 2563 แต่ลูกช้างยังห่วงคอก ไม่ยอมตามโขลงไป ประกอบกับช้างโขลงแม่ ยังระแวงที่ลูกช้างมีกลิ่นคนติดอยู่ จึงกล้าๆ กลัวๆ ว่า จะรับลูกกลับดีหรือไม่ จะเห็นได้จากการที่ช้างโขลงแม่ ได้ช่วยกันดึงหางลูกช้างป่าในโขลง  2 ตัว ที่เป็นรุ่นราวคราวเดียวกับลูกช้างพลัดลง ไม่ยอมให้มาเล่นด้วย ซึ่งผู้เชี่ยวชาญด้านการปล่อยลูกช้างคืนป่า บอกว่าต้องรอเวลาให้ช้างฝูงแม่และลูกช้างสร้างความคุ้นเคยเพิ่มความมั่นใจกันอีกสักพักก่อน

ต่อมาเมื่อเวลา 18.00 น. ของวันที่ 1 สิงหาคม 2563  มีช้างตัวผู้ 1 ตัว เข้ามาพังคอกลูกช้างห้วยขาแข้งพลัดหลง และเดินตรงจะเข้าไปทำร้ายลูกช้าง เจ้าหน้าที่เห็นว่าลูกช้างจะไม่ปลอดภัย จึงลงมาไล่ ปรากฏว่าช้างป่า กลับขู่ลูกช้าง และขู่เจ้าหน้าที่  เจ้าหน้าที่ต้องยิงปืนขู่ไล่ จึงยอมไป หลังจากวันนั้นเป็นต้นมา ไม่มีช้างป่าเดินเข้ามาที่คอก มีแต่เดินหากินวนเวียนได้ยินเสียงหักกิ่งไม้อยู่รอบๆ คอก มีวัวแดง  และกวางป่า วนมาใช้พื้นที่อย่างต่อเนื่องนางสาวอังสนา มองทรัพย์ นักวิชาการป่าไม้ปฏิบัติการ
สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่  12 แจ้งว่า ในหลายคืนที่ผ่านมา ลูกช้างสามารถนอนหลับพักผ่อน ได้นานหลายชั่วโมง เป็นสัญญาณ บ่งบอกว่าลูกช้างไม่มีภาวะเครียด ซึ่งก่อนหน้านี้ลูกช้างจะเดินตลอดวัน ช่วงหลังมานอนบ่อยขึ้น


เจ้าหน้าที่ได้ติดตั้งกล้องทั้งถ่ายภาพนิ่งและภาพเคลื่อนไหว เพิ่มเติมไว้หลายมุมขึ้น และหมั่นตรวจความพร้อมของกล้อง เพื่อจะได้ภาพที่ดีๆ เพื่อนำมาเผยแพร่อาจใช้เป็นแนวทางการศึกษาเรียนรู้ถึงพฤติกรรมของช้างโขลงแม่ และลูกช้าง ที่สามารถจะนำความรู้ และประสบการณ์ที่นี่ไปใช้เป็นแนวทางในการปล่อยลูกช้างตัวอื่น ที่อื่นหากมีเหตุการณ์เช่นเดียวกันนี้เกิดในอนาคตได้รวมทีมงานสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ  และทีมงานวิจัยโครงการเสือโคร่ง นำโดย ดร. อัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สบอ. 12 ได้เข้ามาเปลี่ยนวิทยุติดตามช้างตัวใหม่ ทดแทนเครื่องเก่า เพื่อให้สามารถรับสัญญาณได้ไกลและมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น โดยใช้เครื่องสายรัดที่คอลูกช้างแทนของเดิมที่รัดไว้ที่ขา ซึ่งดูเหมือนว่าลูกช้างจะไม่รำคาญ ทั้งนี้หากแม่ช้างมารับ จะได้ใช้ติดตามตัวลูกช้างได้สะดวก ในส่วนของการดูแลลูกช้างขณะนี้ได้ให้พี่เขียว ซึ่งเป็นพี่เลี้ยงหลักของลูกช้าง ผู้ซึ่งลูกช้างเชื่อฟังทุกอย่าง ให้ลดความใกล้ชิดลูกช้าง ให้เจ้าหน้าที่คนอื่นสลับกันมาป้อนนมแทน แต่ต้องให้พี่เขียว อยู่ประจำถาวรที่หอต้นผึ้ง ทั้งนี้ไว้ให้เป็นพี่เลี้ยงคอยให้การช่วยเหลือลูกช้าง กรณีมีเหตุการณ์ที่ไม่คาดถึงเกิดขึ้นกับลูกช้าง

และเมื่อคืนวันที่ 3 สิงหาคม 2563 นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์) ได้เดินทางไปเยี่ยมและดูพฤติกรรมของลูกช้าง และได้เป็นผู้แทนนายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ไปให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ผู้อยู่เวรเฝ้าระวังให้ลูกช้าง พบว่าลูกช้างมีการเรียนรู้ที่ดีมาก เริ่มใช้งวงแอบเปิดประตูคอกได้ แสดงอาการน้อยใจเมื่อเจ้าหน้าที่บอกให้กลับเข้าป่าไปอยู่กับแม่ หรือ พูดคุยกันว่า กลับก่อนนะ จะแสดงอาการโดยการเดินหนีแบบ แสดงออกว่ายังไม่อยากให้เจ้าหน้าที่หรือผู้มาเยี่ยมกลับ โดยสรุปสุขภาพของลูกช้าง ณ ขณะนี้ แข็งแรง ร่าเริง ดีมาก ซึ่งเมื่อ วันที่ 31 กรกฎาคม 2563 นายสัตวแพทย์ไพโรจน์ พรมวัฒ ประจำสถานีเพาะเลี้ยง นำเครื่องชั่งน้ำหนักมาชั่งลูกช้าง มีน้ำหนัก 207 กิโลกรัม พร้อมตรวจประเมินสุขภาพร่างกายโดยทั่วไป ปกติ
การขับถ่ายเป็นปกติ ในส่วนของเจ้าหน้าที่ทุกคนที่อยู่เวรเฝ้าดูแลลูกช้าง ก็ปฎิบัติงานกันอย่างจริงจัง เข้มแข็ง และมีกำลังใจดีมาก



ในขณะที่ในวันนี้ ( วันที่ 5 สิงหาคม 2563) เวลาประมาณ 10.00 น. จนท.ผู้ประสานงานจาก สบอ.12 (นว.) จนท.สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ จนท.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และจนท.ขสป.ห้วยขาแข้ง ร่วมประชุมสรุปข้อมูลเพื่อบูรณาการการปฏิบัติงานเตรียมปล่อยลูกช้างป่าห้วยขาแข้งพลัดหลงคืนป่า  ณ ขสป.ห้วยขาแข้ง
ผลการประชุมเป็นดังนี้

 จากการวิเคราะห์ข้อมูลจากการตั้งกล้องดักถ่ายภาพคาดว่าช้างป่าที่ใช้พื้นที่ระหว่างหอต้นผึ้ง (คอกลูกช้าง) สำนักงานเขตฯ เขารวก หน่วยพิทักษ์ป่าซับฟ้าผ่า (พื้นที่ประมาณ 20-25 ตารางกิโลเมตร) เป็นช้างกลุ่มเดียวกัน มีจำนวนประมาณ 27 ตัว  ช้างกลุ่มนี้มีพฤติกรรมแยกย้ายหากินเป็นกลุ่มย่อย แต่จะมีการรวมกลุ่มเป็นโขลงใหญ่ในบางครั้ง  มีช้างโทนตัวผู้ขนาดใหญ่อย่างน้อย 5 ตัว เดินติดตามกลุ่มช้างตัวเมียและลูกช้าง โดยมีพฤติกรรมแยกกันเดิน แต่บางครั้งพบช้างตัวผู้ขนาดใหญ่ 2 ตัว เดินทางร่วมกัน ข้อมูลจากจนท.ที่เฝ้าอยู่ที่หอต้นผึ้งพบว่าช้างโทนบางตัวไม่ได้มีพฤติกรรมคุกคามต่อลูกช้างในทุกครั้งที่มาบริเวณคอกลูกช้าง แต่ก็พบว่ามีช้างโทนบางตัวมีพฤติกรรมก้าวร้าว จึงทำการผลักดันโดยใช้แสงไฟ และเสียง จากการเก็บข้อมูลของ จนท.บริเวณหอต้นผึ้งพบว่าโขลงช้างจะเคลื่อนย้ายกลับมาบริเวณหอต้นผึ้งทุกระยะประมาณ 18-35 วัน ข้อมูลจากจนท.ลาดตระเวน ขสป.ห้วยขาแข้ง (ชุดติดตามโขลงช้าง) พบว่าช้างป่าใช้พื้นที่ในบริเวณที่มีแหล่งอาหารและแหล่งน้ำและจะเคลื่อนย้ายไปเรื่อย โดย จนท.สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง และ จนท.ขสป.ห้วยขาแข้ง รวม 3-4 คน จะเฝ้าระวังความปลอดภัยของลูกช้างบริเวณหอต้นผึ้ง (คอกลูกช้าง) และจะเพิ่มความเข้มข้นและจำนวนคนในการเฝ้าระวังหากพบว่ามีช้างโทนเข้ามาบริเวณคอกลูกช้าง
7.2 การสร้างโอกาสเพื่อให้ลูกช้างสามารถเข้าร่วมโขลงได้ ชุด จนท. ขสป.ห้วยขาแข้งจะติดตามโขลงช้างต่อไปเพื่อทราบทิศทางในการเคลื่อนที่ของโขลงช้าง หากพบว่าโขลงช้างมีทิศทางเข้ามาใกล้คอกลูกช้าง จะแจ้งให้จนท.ที่เฝ้าระวังอยู่ผ่อนคลายมาตรการเฝ้าระวัง และรบกวนโขลงช้างให้น้อยที่สุด เพื่อเพิ่มโอกาสให้ช้างทำความคุ้นเคยกัน

ภาพ/ข่าว  นายสำเนา ทองศรี
ขับเคลื่อนโดย Blogger.