Header Ads

 


ปทุมธานี - รพ.ธรรมศาสตร์เปิดอาคารผู้ป่วยวิกฤตรองรับโควิดสมบูรณ์แบบและประกาศยุติ รพ.สนาม

เมื่อเวลา 15.00 น. วันที่ 19 พฤษภาคม 2563 ที่ โรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ  ถนนพหลโยธิน  ต.คลองหนึ่ง อ.คลองหลวง จ.ปทุมธานี นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.สาธารณสุข พร้อมด้วยคณะเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข เยี่ยมชมอาคารผู้ป่วยวิกฤตระบบการหายใจบ้านปู เพื่อยกระดับ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นโรงพยาบาลโควิดสมบูรณ์แบบ และร่วมแถลงข่าวยุติการส่งผู้ป่วยโควิดเข้าโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์
       โดยมี ศ.ดร.สุรพล นิติไกรพจน์ ประธานคณะกรรมการบริหาร รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ , รศ.เกศินี วิฑูรชาติ อธิการบดีมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ , รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ , ผศ.นพ. ฉัตรชัย มิ่งมาลัยลักษณ์ ผอ.รพ.สนามธรรมศาสตร์ , นายสุรินทร์ สืบซึ้ง นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดปทุมธานี และเจ้าหน้าที่ด้านสาธารณสุข ร่วมแถลงการณ์การยุติบริการชั่วคราวสู่โหมด Stand by ของโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์



     ด้าน รศ.นพ.พฤหัส ต่ออุดม ผู้อำนวยการ รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ กล่าวว่า เนื่องจากโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติเป็นหนึ่งในโรงพยาบาลศูนย์กลางที่ให้การดูแลรักษาผู้ป่วยติดเชื้อไวรัสโควิด-19 แหล่งสำคัญของประเทศไทย รวมทั้งยังเป็นโรงพยาบาลที่รองรับการโอนย้ายผู้ป่วยที่ตรวจพบการติดเชื้อจากโรงพยาบาลอื่น ๆ มาดูแลรักษาอีกด้วย ทั้งนี้ กองทุน มิตรผล-บ้านปู รวมใจช่วยไทยสู้ภัย COVID-19 ให้การสนับสนุน รพ.ธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติ ผ่านการมอบงบประมาณ 30,000,000 บาท เพื่อสร้างและปรับปรุงห้องความดันลบ และจัดหาเครื่องช่วยหายใจรองรับการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด-19
       ส่วนทางด้าน ผศ.นพ.ฉัตรชัย มิ่งมาลัยรักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ กล่าวว่า จากเหตุการณ์การแพร่ระบาดเชื้อCOVID-19 ที่จำนวนเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง ส่งผลให้มีผู้ป่วยติดเชื้อเข้ามารักษาในโรงพยาบาลจำนวนมาก และเริ่มเกินศักยภาพการรองรับของโรงพยาบาลต่าง ๆโดยเฉพาะโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย  แต่เราทราบว่า 80% ของผู้ป่วยมีอาการเพียงเล็กน้อย (mild case) มีเพียง 20% ที่มีอาการมากต้องการรักษาในโรงพยาบาล แต่สภาพในขณะนั้นผู้ป่วยเกือบทั้งหมดอยู่ในโรงพยาบาลส่งให้ผู้ป่วยใหม่ไม่สามารถเข้ารักษาในโรงพยาบาลได้ ถ้าเราปล่อยอยู่ในสภาพนี้ก็จะส่งผลต่อคุณภาพการรักษาและอาจทำให้ผู้ป่วยเสียชีวิตมากขึ้น ด้วยเหตุนี้มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์และโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติจึงได้วางแผนและตัดสินใจในการสร้างโมเดลรูปแบบในการดูแลรักษาผู้ป่วย COVID-19 ให้มีศักยภาพ เป็นต้นแบบกับรพ.ในส่วนอื่น ๆ นั่นคือโรงพยาบาลสนามธรรมศาสตร์ โดย ทีมบริหารและมหาวิทยาลัยจึงได้ร่วมกันตัดสินใจดำเนินการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามขึ้นภายใน 48 ชั่วโมงเพื่อให้ทันกับสถานการณ์ที่แย่ลง ซึ่งต่อมาได้กลายเป็นต้นแบบและมีการเปิดโรงพยาบาลสนามไปทั่วประเทศ


       โดยสถานที่ใช้หอพัก DLUXX ซึ่งเป็นหอพักของนักกีฬาเอเชี่ยนเกมส์เดิม  มีความสูง 14 ชั้น จำนวน 308 ห้อง ได้เริ่มดำเนินการ รับผู้ป่วยรายงานรายแรกเวลา 9.00 น. วันพฤหัสบดีที่ 26 มีนาคม 2563 ผู้ป่วยรายแรกที่กลับบ้านได้ คือวันที่ 31 มีนาคม 2563 และ ผู้ป่วยรายสุดท้าย วันที่ 16 พฤษภาคม 2563 รวมระยะเวลาดำเนินการ ทั้งสิ้น 54 วัน จำนวนผู้ป่วยที่ได้รับการดูแลทั้งสิ้น 60 ราย โดยเป็นผู้ป่วยโควิด 38 ราย และผู้ป่วยเฝ้าสังเกตอาการ 22 ราย ซึ่งในผู้ป่วยโควิด 38 ราย มาจาก 1.รพ.ธรรมศาสตร์ 22 ราย 2.โรงพยาบาลรามา 11 ราย 3.โรงพยาบาลธัญบุรี 1 ราย 4.โรงพยาบาลสามโคก 1 ราย โรงพยาบาลปทุมธานี 1 ราย 5.ศูนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก 1 และ6.รงพยาบาลทรวงอก 1 ราย
       รายงานรายจ่ายในการดำเนินงาน ตั้งแต่ 23 มีนาคม-18 พฤษภาคม 2563 รวม 3,766,169 บาท ประกอบด้วย ครุภัณฑ์-เวชภัณฑ์ 1,094,637 บาท , ค่าปรับปรุง 647,170 บาท , ค่าตอบแทนหรือค่าแรง 782,740 บาท , ค่าสาธารณูปโภค 541,622 บาท , ค่าชดเชยค่าเช่าที่พัก 700,000บาท
      จากสถานการณ์ที่จำนวนผู้ป่วยใหม่ของประเทศลดลงจนเป็นศูนย์ร่วมกับโรงพยาบาลธรรมศาสตร์เฉลิมพระเกียรติได้มีการขยายศักยภาพ สามารถรองรับผู้ป่วยได้ในขณะนี้จำนวน 46 เตียง ทำให้ความจำเป็นของโรงพยาบาลสนามในขณะนี้ลดลง โดยในวันที่ 18 พฤษภาคม 2563 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์จึงได้แถลงข่าวการยุติการดำเนินงานของโรงพยาบาลสนามลงชั่วคราวปรับสู่โหมด stand by โดยจะสามารถเปิดใหม่ได้ภายใน 24 ชั่วโมง หากมีความจำเป็นเพื่อรองรับการระบาดระลอก 2 หรือ 3 ในอนาคต โดยอาคารสถานที่และเครื่องมือทั้งหมดจะยังคงอยู่ มีเพียงทีมบุคลากรทางการแพทย์ที่ย้ายออกไป โดยอาคารแห่งนี้จะยังคงสภาพเตรียมพร้อมดังกล่าวจนถึงวันที่ 30 กันยายน 2563 แล้วจึงค่อยมีการพิจารณาอีกครั้ง


ภาพ/ข่าว อภิรัฐ กุนกันไชย                     
ขับเคลื่อนโดย Blogger.