Header Ads

 


สภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร ร่วมกิจกรรมลงแขกลงคลอง ครั้งที่ 1 บริเวณคลองท่าแร้ง ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร

วันที่ 9 กรกฎาคม 2567 ที่บริเวณคลองท่าแร้ง ตำบลยกกระบัตร อำเภอบ้านแพ้ว จังหวัดสมุทรสาคร นายศักดา เนติพัฒน์ ประธานสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร มอบหมายใหนายทศพล เจริญสุขใส รองประธานสภาเกษตรกรจังหวัด คนที่ 1 ,นางสาวปราถนา วงศ์ศิริ ,นางสาวพิกุล แดงพยนต์ ,นายสนิท เลี้ยงอยู่ สมาชิกสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร และนายชูศักดิ์ อ้อยเฮิง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร นางสาวกิรณา มอญใต้ นักวิชาการชำนาญการ ,นางสาวสุธิษา เกษเพชร นักวิเคราะห์นโยบายและแผนปฏิบัติการ เข้าร่วมร่วมกิจกรรมลงแขกลงคลอง ครั้งที่ 1 โดยมี ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวเปิดกิจกรรม และนายเผดิม รอดอินทร์ ประมงจังหวัดสมุทรสาคร กล่าวรายงาน ซึ่งมีนายพิรุณโรจน์ นาคดนตรี นายอำเภอบ้านแพ้ว ,นางลักขณา พงษ์พานิช เกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร ,นายกมล ไกรวัดนุสสรณ์ ประธานชมรมเรืออวนลาก ,หน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์จังหวัดสมุทรสาคร พร้อมหน่ายงานที่เกี่ยวข้อง และพี่น้องประชาชนในพื้นที่ ได้ร่วมกิจกรรมในครั้งนี้ 







* นายเผดิม รอดอินทร์ กล่าวว่า จังหวัดสมุทรสาครเป็นจังหวัดนำร่อง ที่ใช้เรืออวนรุน (เรือรุนเคย) ในการจับปลาหมอคางดำที่แพร่กระจายตามชายฝั่ง ซึ่งได้ผลดีมาก ทำให้จังหวัดสมุทรสาคร เป็นจังหวัดที่สามารถจับปลาหมอคางดำได้มากที่สุด โดยมีการตั้งจุดรับซื้อ 5 จุด หลังจากมีการจับปลาหมอคางดำตามแหล่งน้ำชายฝั่ง ได้ขยายผลมายังบ่อเลี้ยงปลา ที่ประสบปัญหาปลาหมอคางดำหลุดเข้าไปในบ่อเลี้ยง โดยเกษตรกรที่ประสบปัญหาต้องมาลงทะเบียน เพื่อภาครัฐจะได้รับซื้อปลาหมอคางดำ จากเดิมที่ไม่มีราคา ทำให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปลาไม่จับปลาหมอคางดำมาขาย แต่จะปล่อยทิ้งไปตามแหล่งน้ำธรรมชาติ แต่ปัจจุบันสามารถจับมาขายได้ในราคา 8 บาท ต่อกิโลกรัม 




















**ดร.ณมาณิตา กลับบ้านเกาะ ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2567 รัฐมนตรีกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ลงพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร เพื่อคิ๊กออฟการแก้ปัญหาปลาหมอคางดำ ก็ได้มีการประสานงานกับกรมพัฒนาที่ดินมาช่วยในการนำปลาหมอคางดำไปผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพ ตอนนี้งบประมาณที่ทางกรมประมงได้ตั้งมาเพื่อสนับสนุนในการรับซื้อปลาหมอคางดำ เหลือโควต้าอีกประมาณ 10,000 กิโลกรัม






















***ด้านสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร ได้ขับเคลื่อนเรื่องปลาหมอคางดำตั้งแต่ พ.ศ.2564 ซึ่งพบว่า ปลาหมอคางดำเป็นปลาที่ปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยทุกรูปแบบ สามารถอาศัยอยู่ได้ทั้งในน้ำจืด น้ำเค็ม และน้ำกร่อย ปลาหมอคางดำมีความสามารถในการแพร่พันธุ์ที่รวดเร็ว มีความต้องการอาหารตลอดเวลา การแพร่กระจายของปลาชนิดนี้จึงเป็นอันตรายต่อระบบนิเวศ เพราะสัตว์น้ำชนิดอื่น ๆ ถูกกินจนเสี่ยงต่อการสูญพันธุ์ และกระทบต่อการทำอาชีพของชาวประมง และเกษตรกรผู้เพาะเลี้ยงสัตว์น้ำในพื้นที่จังหวัดสมุทรสาคร





*** ข้อมูลภาพข่าว : สำนักงานสภาเกษตรกรจังหวัดสมุทรสาคร /..กิรณา มอญใต้ ,นายชูศักดิ์ อ้อยเฮิง รายงาน

////////////////////////

ขับเคลื่อนโดย Blogger.