Header Ads

 


ชลบุรี - กรมปศุสัตว์ร่วมกรมศุลกากร แจงความคืบหน้าตู้ซากสุกรแช่แข็ง ท่าเรือแหลมฉบัง

   เมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2566 ที่ห้องประชุม 1 ชั้น 1 อาคารสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์  อธิบดีกรมปศุสัตว์ พร้อมด้วยนายวาริส วิสารทานนท์ ผู้เชี่ยวชาญด้านเทคนิคการตรวจสอบสินค้า รักษาการในตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง  นายฐิติพงศ์ คำผุย ผู้อำนวยการส่วนบริการศุลกากร 1 ศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง นายอภิชาติ ทองบางโปรง คณะทำงานโครงการท่าเรือสีขาวท่าเรือแหลมฉบัง และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ร่วมประชุมเพื่อรายงานและชี้แจงความคืบหน้าการดำเนินการตู้ของตกค้างประเภทซากสุกรแช่แข็งที่เป็นของกลาง ในคดีพิเศษ ที่ 59/2566 จำนวน 161 ตู้



โดยมีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้แทนจากองค์กรต่างๆ ภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้อง  ได้แก่ กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค สถานีตำรวจภูธรแหลมฉบัง สภาเกษตรกรแห่งชาติ ท่าเรือแหลมฉบัง สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ผู้ประกอบการสายการเดินเรือ และสมาคมผู้ประกอบการท่าเทียบเรือสินค้าและคอนเทนเนอร์ (TICTA) เกี่ยวกับการตรวจสอบตู้ของตกค้างประเภทซากสุกรแช่แข็ง รวมถึงตู้สินค้าคงค้างประเภทตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิอื่น ๆในเขตท่าเรือแหลมฉบัง
สำหรับตู้สินค้าประเภทซากสุกรแช่แข็งที่ตกเป็นของแผ่นดิน จำนวน 161 ตู้ ซึ่งเป็นของกลางในคดีพิเศษ ที่ 59/2566 กรมศุลกากร กรมปศุสัตว์ และกรมสอบสวนคดีพิเศษดำเนินการในรูปแบบของคณะกรรมการร่วม เปิดสำรวจตู้สินค้าดังกล่าวทั้งหมดแล้วเสร็จเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566 และต่อมากรมศุลกากรได้ส่งมอบ ตู้ของตกค้างประเภทซากสุกรแช่แข็งดังกล่าวให้กรมปศุสัตว์ดำเนินการต่อไป โดยวันที่ 29 กันยายน 2566  มีการจัดพิธีส่งมอบ - รับมอบ และนำตู้สินค้าประเภทซากสุกรของกลางลักลอบนำเข้า 161 ตู้ คดีพิเศษ ที่ 59/2566 ไปทำลาย ณ ศูนย์เอกชเรย์และเทคโนโลยีศุลกากร สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง  
โดยมี  ร้อยเอกธรรมนัส พรหมเผ่า รัฐนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายไชยา พรหมา รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานในพิธี ปัจจุบันมีการนำตู้สินค้าของกลางในคดีพิเศษดังกล่าวไปทำลาย โดยวิธีการฝังกลบเรียบร้อยแล้ว จำนวน 21 ตู้ ณ บริเวณพื้นที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาอาหารสัตว์สระแก้วตำบลคลองไก่เถื่อน อำเภอคลองหาด จังหวัดสระแก้ว และอยู่ระหว่างการดำเนินการอีกจำนวน 140 ตู้


เนื่องจากกรมปศุสัตว์มีความจำเป็นต้องทำการสำรวจหาพื้นที่ในการทำลายใหม่ เพราะได้รับการร้องเรียนจากประชาชนในพื้นที่ที่ได้รับความเดือดร้อนจากการฝังทำลายดังกล่าว ในส่วนตู้สินค้าคงค้างประเภทตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิอื่น 1 ที่คงค้างภายในเขตท่าเรือแหลมฉบัง ข้อมูล ณ วันที่ 11 ตุลาคม 2566 มีจำนวน 92 ตู้ และสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้ดำเนินการ เปิดสำรวจเรียบร้อยแล้ว โดยสามารถแบ่งตู้สินค้าคงค้างดังกล่าวเป็น 2 ประเภท ดังนี้


1. ตู้สินค้าคงค้างประเภทตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิที่สำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบังได้มีหนังสือแจ้งส่งมอบให้กับด่านกักกันสัตว์ชลบุรีเพื่อรับมอบไปดำเนินการทำลายเรียบร้อยแล้ว จำนวน 74 ตู้ประกอบด้วยตู้สินค้าประเภทเนื้อสัตว์และชิ้นส่วนชากสัตว์อื่น ! จำนวน 69 ตู้ และเป็นตู้สินค้าประเภทเนื้อ สุกรและชิ้นส่วนสุกร จำนวน 5 ตู้

2. ตู้สินค้าคงค้างประเภทตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิที่อยู่ระหว่างการดาเนินการด้านพิธีการศุลกากร ว่าด้วยของกลางและของตกค้างและการดาเนินการด้านคดี จานวน 18 ตู้ ประกอบด้วยตู้สินค้าประเภท เนื้อสัตว์และชิ้นส่วนซากสัตว์อื่น ๆ จานวน 10 ตู้ และเป็นตู้สินค้าประเภทเนื้อสุกรและชิ้นสุกร จานวน 8 ตู้
ทั้งนี้ ทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยสำนักงานศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง ด่านกักกันสัตว์ชลบุรี กรมสอบสวนคดีพิเศษ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการเร่งรัดการดาเนินการกับตู้สินค้าตกค้างประเภทสุกรแช่แข็งที่เป็นของกลางในคดีพิเศษ และตู้สินค้าคงค้างประเภทตู้สินค้าควบคุมอุณหภูมิอื่นภายในเขตท่าเรือแหลมฉบังตามกฎหมายและระเบียบ ที่เกี่ยวข้องให้แล้วเสร็จโดยเร็ว

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า ทันทีที่หาสถานที่ฝังทำลายซากชิ้นส่วนสุกรของกลางที่เหมาะสมแห่งใหม่ได้ จะเร่งทำลาย ทั้ง 140 ตู้ ส่วนตู้สินค้าตกค้างประเภทอื่น (ไก่ โค กระบือ) จำนวน 74 ตู้ อยู่ระหว่างการรับมอบนำของกลางไปทำลายตามกฏหมาย จะเร่งนำของกลางนำไปทำลายเช่นเดียวกัน เป็นไปตามบันทึกข้อตกลงระหว่างกรมปศุสัตว์และกรมศุลกากร เรื่องการปฏิบัติเกี่ยวกับกรณีที่มีการจับกุมดำเนินคดีลักลอบนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักร และภายใต้พระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558

ตลอดปี 2565 ถึงปัจจุบัน เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับตำรวจ ทหาร ศุลกากร เข้าตรวจสอบผู้ประกอบการสินค้าประเภทซากสุกรรวมจำนวนทั้งสิ้น 238 ครั้ง สามารถจับกุมซากชิ้นส่วนสุกรซึ่งมีแหล่งผลิตต้นทางจากประเทศบราซิล อิตาลี เยอรมนี ลักลอบนำเข้า ปริมาณน้ำหนักรวม 1,142,487 กิโลกรัม คิดเป็นมูลค่ากว่า 190 ล้านบาท




#หมูเถื่อน 
#อธิบดีกรมปศุสัตว์ #ศุลกากรท่าเรือแหลมฉบัง
ขับเคลื่อนโดย Blogger.