Header Ads

 


ชลบุรี - ทลฉ.มอบกว่า 200 ล้านบาท เยียวยากลุ่มประมงที่ได้รับผลกระทบจากการพัฒนาท่าเรือ เฟส 3 ปีงบประมาณ 2566

   ที่ ห้องแตรทอง 1 ศูนย์สวัสดิการท่าเรือแหลมฉบัง อำเภอศรีราชา จังหวัดชลบุรี นายพิสิษฐ สิริสวัสดินุกูล นายอำเภอบางละมุง นายวีรยุทธ์  สว่างแจ้ง  รองผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง  ร่วมเป็นประธานในพิธีมอบเงินค่าชดเชยเยียวยาให้กลุ่มประมงเรือเล็กที่ได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ปีงบประมาณ 2566  โดยมี นางสิริมา กีรตยาคม นักบริหาร 14 ประจำผู้อำนวยการการท่าเรือแห่งประเทศไทย นายวีรชาติ พุทธรักษา ผู้ช่วยผู้อำนวยการท่าเรือแหลมฉบัง ว่าที่ร้อยตรีจเรวัฒน์ ชินวัฒน์ นายกเทศมนตรีตำบลบางละมุง  นางพรทิพา ทวีนุช  ผู้อำนวยการกองบริหารงานทั่วไป  คณะทำงานพิจารณาข้อมูลผู้ที่ไดรับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังขั้นที่ 3 ผู้นำชุมชน  และผู้ที่ได้รับผลกระทบ  เข้าในร่วมพิธี

นายวีรยุทธ์  กล่าวว่า การท่าเรือแห่งประเทศไทย มีนโยบายการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติอนุมัติโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถของท่าเรือแหลมฉบังในการรองรับเรือตู้สินค้าระหว่างประเทศ และเป็นการเพิ่มศักยภาพในการให้บริการ การขนส่งสินค้าทางทะเล โดยมีการดำเนินการตามมาตรการในรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม สุขภาพ อนามัย คุณภาพชีวิตของประชาชนอย่างรุนแรง โครงการก่อสร้างท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 (EHIA) ที่กำหนดให้มีการจ่ายค่าชดเชยเยียวยาให้กลุ่มประมงผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการ ต่อเนื่องทั้งหมด 6 ปี  โดยปีนี้ เป็นปีที่ 3 แล้ว  

สำหรับการมอบเงินค่าชดเชยเยียวยาให้กลุ่มประมงเรือเล็ก  และกลุ่มผู้เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่ เป็นเงินรวมทั้งสิ้น  205,765,977 บาท ประกอบด้วย 1.กลุ่มประมงเรือเล็กจำนวน 284 ราย ประกอบด้วย กลุ่มประมงเทศบําลตําบลบํางละมุง กลุ่มประมงอนุรักษ์ปํากคลอง บํางละมุง กลุ่มประมงบ้ํานบํางละมุง กลุ่มประมงบ้ํานแหลมฉบัง กลุ่มประมง บ้ํานโรงโป๊ะ หมู่ที่ 3 และกลุ่มประมงบ้ํานนําเกลือ  รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 124,685,399 บาท  2. กลุ่มผู้เพาะเลี้ยงหอยแมลงภู่  จำนวน 96 ราย  ประกอบด้วย  กลุ่มประมงอนุรักษ์ปํากคลองบํางละมุง และกลุ่มประมงบ้ํานบํางละมุง รวมเป็นเงิน  81,080,578 บาท 

นายวีรยุทธ์   กล่าวอีกว่า ในฐานะผู้แทนการท่าเรือแห่งประเทศไทย ท่าเรือแหลมฉบังขอขอบคุณทุกภาคส่วนที่ร่วมกันพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังจนประสบความสำเร็จในทุกวันนี้ โดยท่าเรือแหลมฉบังมิได้มุ่งเน้นเรื่องการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังเพื่อขับเคลื่อน เศรษฐกิจเพียงอย่างเดียวเท่านั้น แต่ท่าเรือแหลมฉบัง ยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ด้วยความรับผิดชอบ ใส่ใจต่อสังคม สิ่งแวดล้อม และผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 3 ที่เปรียบเสมือนคนในครอบครัว ดังคำที่ว่า “การท่าเรืออยู่ได้ ประชาชนก็ต้องอยู่ร่วมกันได้อย่างมีความสุขและยั่งยืน”


ขับเคลื่อนโดย Blogger.