Header Ads

 


ฉะเชิงเทรา-สภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร เข้าร่วมงาน "ทำนาย้อนยุค ปลูกข้าวประเพณี สานสัมพันธ์น้องพี่ เกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)" ที่ศูนย์เรียนรู้ไร่นาสวนผสม : นาป้าฝน หมู่ที่ ๓ ต.แหลมประดู่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา

  

วันพุธที่ ๑๗ สิงหาคม ๒๕๖๕ ที่ศูนย์เรียนรู้ไร่นาสวนผสม : นาป้าฝน หมู่ที่ ๓ ต.แหลมประดู่ อ.บ้านโพธิ์ จ.ฉะเชิงเทรา  นายจรัญ ปานอู ประธานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร มอบหมายให้นายชูศักดิ์ อ้อยเฮิง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร พร้อมด้วยเจ้าหน้าที่ เข้าร่วมงาน "ทำนาย้อนยุค ปลูกข้าวประเพณี สานสัมพันธ์น้องพี่ เกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)"  โดยมีนายไมตรี ไตรติลานันท์ เป็นประธานกล่าวเปิดงาน และนางสาวเกษร จำปา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ กล่าวรายงาน ซึ่งมีหน่วยงานราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา เกษตรกร และสมาชิกเครือข่ายเกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เข้าร่วมงานในครั้งนี้







*การจัดงาน "ทำนาย้อนยุค ปลูกข้าวประเพณี สานสัมพันธ์น้องพี่ เกษตร อินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS)" ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อเปิดเวทีให้หน่วยงานภาครัฐและผู้ประกอบการได้พบปะกับเครือข่ายเกษตรกร เป็นการพัฒนาองค์ความรู้การทำเกษตรอินทรีย์และเพิ่มช่องทางการตลาด โดยมีกิจกรรม การจัดแสดงตลาดเกษตรอินทรีย์และผลิตภัณฑ์แปรรูปของเกษตรกร  มอบใบรับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วมให้แก่เกษตรกรที่ผ่านการตรวจประเมินแปลงตามมาตรฐานข้อกำหนด และการทำนาย้อนยุคหรือลงแขกดำนา เป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจกันทำงานต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และได้ส่งเสริมแนะนำความรู้แก่เกษตรกรในการทำเกษตรอินทรีย์ โดยได้น้อมนำแนวทางพระราชดำริของพ่อหลวงรัชกาลที่ 9 มาใช้ในการดำเนินงาน ด้วยการสนับสนุนให้เกษตรกรเริ่มปลูกข้าวและผักอินทรีย์ที่มีคุณภาพปลอดภัยไว้สำหรับบริโภคเอง เมื่อเหลือจากบริโภคก็แจกจ่าย แบ่งปันและขายเป็นรายได้ จากนั้นจึงได้เกิดการรวมกลุ่มสมาชิกเครือข่ายเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม และสำหรับกิจกรรมลงแขกดำนาในวันนี้ก็ถือเป็นการสืบสานประเพณีอันดีงามที่แสดงให้เห็นถึงความสมัครสมานสามัคคีของคนในชุมชนในการร่วมแรงร่วมใจกันทำงานต่างๆให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี






**นายชูศักดิ์  อ้อยเฮิง หัวหน้าสำนักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร กล่าวว่า สภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร หนุนเสริมให้เกษตรกรในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำการเกษตรแบบเพิ่มมูลค่า อย่างเช่น การทำเกษตรอินทรีย์แบบมีส่วนร่วม (PGS) เนื่องจากกรุงเทพมหานครมีพื้นที่การเกษตรในปริมาณที่ไม่มากนัก ด้วยความที่เป็นเมืองหลวงของประเทศไทย ด้านการเกษตรจึงจะต้องทำการเกษตรที่มีคุณภาพ มีมาตรฐาน ปลอดภัย เพื่อจำหน่ายผลผลิตได้ราคาที่เกษตรอยู่ได้ เป็นการลดต้นทุนการผลิตเพราะไม่ใช้สารเคมี และยังช่วยลดปัญหาเรื่องสิ่งแวดล้อมในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ทำให้เกษตรกรจะมีรายได้ที่เพิ่มขึ้นจากการทำการเกษตรในพื้นที่เท่าเดิม สร้างความเป็นอยู่ที่ดีให้กับเกษตรกรต่อไป











 

---- สัมภาษณ์ นางสาวเกษร จำปา ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการพัฒนาเขาหินซ้อนอันเนื่องมาจากพระราชดำริ -----

 

---- สัมภาษณ์ นางฉัตรชนก ชูแดง เจ้าของศูนย์เรียนรู้ไร่นาสวนผสม : นาป้าฝน -----


*** ข้อมูลภาพข่าว: สำนักงานสภาเกษตรกรกรุงเทพมหานคร / นายอดิศักดิ์ สัตรีวงค์ ,นายชูศักดิ์ อ้อยเฮิง รายงาน

 

ขับเคลื่อนโดย Blogger.