Header Ads

 


โรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) สืบสานประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษา เมืองพันสระ วัดหนองบัว

เมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 โรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) ได้จัดกิจกรรมแห่เทียนเข้าพรรษาให้กับทางวัดหนองกลับ-หนองบัว นำโดยนายประทีป ทับทิมศรี ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลหนองบัว(เทพวิทยาคม) คณะครูและนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรมกว่า 200 คน โดยมีพระมหาสุชาติ ถิรญาโณ ป.ธ.๙ เจ้าอาวาสวัดหนองกลับ รองเจ้าคณะอำเภอหนองบัว และคณะสงฆ์เป็นผู้รับมอบ        สำหรับการกิจกรรมในครั้งนี้ทางคณะครูได้เน้นย้ำให้นักเรียนสวมหน้ากากอนามัยกันทุกคนเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 อย่างเข้มงวด    วันเข้าพรรษาปี 2565 ตรงกับวันพฤหัสบดีที่ 14 กรกฎาคม หรือ แรม 1 ค่ำ เดือน 8 เป็นวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาซึ่งมี "ประเพณีหล่อเทียนเข้าพรรษา" ประเพณีสำคัญที่กระทำต่อกันมาเป็นประจำทุกปีเมื่อใกล้ถึงฤดูเข้าพรรษาเนื่องจากพระภิกษุจะต้องมีการจุดธูปเทียนเพื่อจุดบูชา สวดมนต์ทำวัตร ทุกเช้า-เย็น ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเวลา 3 เดือนตามที่พระวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น ด้วยเหตุนี้ พุทธศาสนิกชนทั้งหลายจึงพร้อมใจกันหล่อเทียนเข้าพรรษาสำหรับให้พระภิกษุจุดเป็นการกุศลทานอย่างหนึ่ง เพราะเชื่อกันว่า ในการให้ทานด้วยแสงสว่างจะมีอานิสงส์เพิ่มพูนปัญญา มีดวงตาสว่างไสว   ประวัติความเป็นมาประเพณีแห่เทียนเข้าพรรษาวันเข้าพรรษา เป็นวันสำคัญในพุทธศาสนาวันหนึ่งที่พระสงค์เถรวาทจะอธิฐานว่า จะพักประจำอยู่ ณ ที่ใดที่หนึ่ง ตลอดระยะเวลาฤดูฝนที่มีกำหนดเป็นระยะเวลา 3 เดือน ตามที่พระธรรมวินัยบัญญัติไว้ โดยไม่ไปค้างแรมที่อื่น หรือที่เรียกติกปากกันโดยทั่วไปว่า จำพรรษา ซึ่งถือเป็นข้อปฏิบัติสำหรับพระสงค์โดยตรงละเว้นไม่ได้ ไม่ว่ากรณีใด ๆ ก็ตาม  การเข้าพรรษาตามปกติเริมนับตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือน 8 ของทุกปี (หรือเดือน 8 หลัง ถ้ามีเดือน 8 สองหน)และสิ้นสุดลงในวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11 หรือวันออกพรรษา สาเหตุที่พระเจ้าทรงอนุญาตการจำพรรษาอยู่ ณ สถานที่ใดสถานที่หนึ่งตลอด 3 เดือนแก่พระสงค์นั้น มีเหตุผลเพื่อให้พระสงฆ์ได้หยุดพักการจาริกเพื่อเผยแพร่ศาสนาไปตามสถานที่ต่างซึ่งจะเป็นไปด้วยความยากลำบากในช่วงฤดูฝน เพื่อป้องกันความเสียหายจากการอาจเดินเหยียบย่ำธัญพืชของชาวบ้านที่ปลูกลงแปลงในฤดูฝนและช่วงเวลาจำพรรษาตลอด  3  เดือนนี้เป็นช่วงเวลาและโอกาสสำคัญในรอบปีที่พระสงค์จะได้มาอยู่จำพรรษารวมกันในอาวาสหรือสถานที่ใดสถานที่หนึ่งเพื่อศึกษาธรรมวินัยจากพระสงฆ์ที่ทรงความรู้ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์และสร้างความสามัคคีในหมู่คณะสงฆ์ด้วย  สำหรับการหล่อเทียนพรรษาของประชาชนเพื่อถวายแก่พระสงฆ์ เพื่อใช้ประโยชน์ในช่วงเข้าพรรษาซึ่งสมัยก่อนใช้จุดเพื่อแสงสว่าง เนื่องจากไม่มีไฟฟ้า เรียกว่า ตามประทีปเพื่อศึกษาหรือบำเพ็ญเพียรสมาธิในสถานที่มืด ถือว่า ได้รับอานิสงส์ ทำให้เกิดความสามัคคีในหมู่คณะได้ธรรมะจากกิจกรรมและได้ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา  พุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสบำเพ็ญกุศลเป็นการพิเศษ เช่น การทำบุญตักบาตร หล่อเทียนพรรษา ถวายผ้าอาบน้ำฝน รักษาศิล เจริญภาวนา ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม งดเว้นอาบายมุข และมีโอกาสได้ฟังธรรมเทศนาตลอดเวลาเข้าพรรษาเป็นการทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และเพื่อความเป็นสิริมงคลซึ่งการหล่อเทียนพรรษานั้นเป็นประเพณีที่สัมพันธ์ และเกี่ยวข้องกับพิธีกรรมที่เป็นพุทธบัญญัติ คือ การเข้าพรรษา นั่นเองภคพล ครองสิน.......ภาพ/ข่าว
ขับเคลื่อนโดย Blogger.