Header Ads

 


อุทัยธานี-ผวจ.พร้อมหน่วยข้าราชการ ร่วมกิจกรรมสาธิตการเก็บเกี่ยวอ้อยโรงงานตามแนวทางป้องกัน และแก้ไขปัญหาหมอกควันและฝุ่นละออง (PM 2.5) จังหวัดอุทัยธานี ฤดูการผลิต 2564/2565


วันที่ 30 ธันวาคม 2564 เวลา 13.30 น. ณ แปลงสาธิตของเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี โดยนายขจรเกียรติ รักพานิชมณี ผู้ว่าราชการจังหวัดอุทัยธานี พร้อมอุตสาหกรรมจังหวัดอุทัยธานี เกษตรและสหกรณ์จังหวัดอุทัยธานี พร้อมหน่วยข้าราชการที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ไปยังแปลงสาธิตการตัดอ้อยสด การเก็บใบอ้อย บ้านศิลาทอง หมู่ 12 ตำบลทัพหลวง อำเภอบ้านไร่ จังหวัดอุทัยธานี หลังจากนั้นได้บรรยายขั้นตอนการเก็บใบอ้อย พร้อมกับเดินทางไปยังอุตสาหกรรมน้ำตาลบ้านไร่ เพื่อรับฟังบรรยายกระบวนการผลิตน้ำตาลและชมวีดีโอกระบวนการการเก็บและขนส่งใบอ้อยเข้าไปใช้งาน 

ในจังหวัดอุทัยธานี มีพื้นที่ปลูกอ้อยโรงงานฤดูการผลิต 2564/2565 ประมาณ 200,000 ไร่ 

เกษตรกร 7,000 ครัวเรือน ให้ผลผลิตรวม 1.8 ล้านตัน โดยปลูกกันมากในเขตอำเภอบ้านไร่ อำเภอลานสัก 

อำเภอห้วยคต และอำเภอสว่างอารมณ์ มีโรงงานน้ำตาลในพื้นที่รับซื้อผลผลิตในจังหวัดและจังหวัดใกล้เคียง

จำนวน 2 แห่ง ตั้งอยู่ในเขตบ้านไร่ และอำเภอสว่างอารมณ์ ในช่วงฤดูการผลิต 2563/2564 มีปริมาณ

ผลผลิตเข้าสู่โรงงานทั้ง 2 แห่ง เป็นผลผลิตอ้อยสดร้อยละ 70 ผลผลิตอ้อยไฟไหม้ร้อยละ 30 

ซึ่งเกิดจากโครงการรัฐบาลช่วยเหลือชาวไร่อ้อยตัดอ้อยสด เพื่อลดฝุ่น PM 2.5 โดยใช้มาตรการสนับสนุน

เครื่องจักรให้กับโรงงาน อุปกรณ์การเก็บเกี่ยว รวมทั้งแหล่งเงินทุนและราคา

มติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 11 พฤษภาคม 2564 ได้กำหนดแผนการตามมาตรการแก้ไขปัญหาอ้อยไฟไหม้ ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอปริมาณอ้อยไฟไหม้เข้าหีบฤดูการผลิตปีนี้ 2564/2565 ไม่เกินร้อยละ 10 ปี 2565/2566 ไม่เกินร้อยละ 5 และ ปี2566/2567 เหลือร้อยละ 0 เพื่อเป็นการส่งเสริมสนับสนุนมาตรการตัดอ้อยสด

ทางโรงงานน้ำตาลไทยรุ่งเรือง อำเภอบ้านไร่จึงได้ร่วมมือกับสำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และหน่วยงานสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานอุตสาหกรรมจังหวัด สมาคมชาวไร่อ้อยจังหวัดอุทัยธานี 

ธนาคาร SME ธนาคาร ธ.ก.ส. กลุ่มผู้ประกอบการเก็บใบอ้อย และสื่อมวลชนในพื้นที่จึงได้ร่วมมือกันจัด

กิจกรรมสาธิตการตัดอ้อยสดครบวงจรเพื่อลดการเผา 

โดยทางโรงงานได้ตั้งเป้าหมายในปีนี้ตัดอ้อยสดไม่น้อย

กว่าร้อยละ 90 สร้างรายได้เพิ่มให้กับเกษตรกรเริ่มตั้งแต่กระบวน การสางใบอ้อยโดยรถแทนแรงงานคน การตัดอ้อยสดโดยรถตัด การเก็บใบอ้อยโดยเครื่องเก็บม้วนใบอ้อย และ  การขนย้ายใบอ้อยโดยรถ

เพื่อนำเข้าโรงงานผลิตไฟฟ้าชีวมวล

 นอกจากนี้ทางสถาบันการเงินธนาคาร SME และ ธ.ก.ส. ยังได้มีมาตรการสนับสนุนแหล่งเงินทุนให้กับ

ผู้ประกอบการรับซื้อใบอ้อยจากแปลงเกษตรกรที่มีอยู่ไม่น้อยกว่า 50 ราย ในพื้นที่จังหวัดอุทัยธานีส่งผลให้

เกษตรกรผู้ปลูกอ้อยมีรายได้เพิ่มขึ้นจากการจำหน่ายใบอ้อยในราคา 1,000 บาท/ตัน หรือประมาณ 1,200 บาท/ไร่

ซึ่งในฤดูการผลิตปีที่แล้ว ปี 2563/2564 มียอดรับซื้อใบอ้อยประมาณ 60,000 ตัน คิดเป็นมูลค่า 

72,000,000 บาท สำหรับการรับซื้อใบอ้อยในฤดูกาลผลิตปีนี้ 2564/65 ได้กำหนดเป้าหมายไว้ 1 แสนตัน 

คิดเป็นมูลค่า 120 ล้านบาท มีระยะเวลาในการรับซื้อตั้งแต่ 1 ธันวาคม 2564 – 30 เมษายน 2565







ภาพ/ข่าว สำเนา ทองศรี

ขับเคลื่อนโดย Blogger.