ชาวอยุธยายังเดือดร้อน เกือบ 2 เดือนน้ำยังท่วม ขาดรายได้ บ้านเรือนเสียหาย
วันที่ 9
พฤศจิกายน 2564 สถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ปัจจุบัน
เขื่อนเจ้าพระยา จังหวัดชัยนาท ระบายน้ำอยู่ที่ 1,903 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
เขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ จังหวัดลพบุรี ระบายน้ำอยู่ที่ 451 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที
และ เขื่อนพระราม 6 อำเภอท่าเรือ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ระบายน้ำอยู่ที่ 462
ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ซึ่งมีการระบายน้ำที่ลดลง ยังคงระบายน้ำอย่างต่อเนื่อง
หลายพื้นที่ ทั้งชุมชนริม แม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำน้อย และแม่น้ำป่าสัก
รวมถึงชาวบ้าน ในพื้นที่ลุ่มต่ำ ยังคงมีปริมาณน้ำท่วมสูง ในทุกพื้นที่ 14 อำเภอได้แก่ อำเภอเสนา อำเภอผักไห่ อำเภอบางบาล อำเภอพระนครศรีอยุธยา
อำเภอบางไทร อำเภอบางปะอิน อำเภอท่าเรือ อำเภอนครหลวง อำเภอบางปะหัน อำเภอมหาราช
อำเภอบางซ้าย อำเภอภาชี อำเภอลาดบัวหลวง และอำเภอบ้านแพรก รวม 136 ตำบล 809 หมู่บ้าน ประชาชนได้รับผลกระทบ 54,819
ครัวเรือน
ผู้สื่อข่าวเดินทางลงพื้นที่
ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา พบว่าที่ หมู่ที่ 1 ตำบลภูเขาทอง
อำเภอพระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา พี่น้องประชาชนส่วนใหญ่มีบ้านเรือนกว่าร้อยหลังคาเรือน
ปลูกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา พบว่าวันนี้ระดับน้ำแม่จะเริ่มลดลง
แต่บ้านเรือนพี่น้องประชาชนยังคงถูกน้ำท่วม บ้านเรือนส่วนใหญ่เป็นบ้านไม้
ได้รับความเสียหาย บ้านไหนบ้านปูน ก็ต้องคอยขัดบ้านตลอดเวลาเมื่อน้ำลดเพื่อไม่ให้เกิดคราบ
หรือตะไคร้ เกาะฝังติดกับตัวบ้าน
นางบุญเรือน ทองอร่าม อายุ 52 ปี
บ้านเลขที่ 63/4 หมู่ที่ 1 ตำบลภูเขาทอง อำเภอพระนครศรีอยุธยา
เล่าว่าบ้านตนเองปลูกเป็นบ้านไม้ปลูกติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา บ้าน 2
ชั้นข้างล่างอยู่กันไม่ได้ บ้านได้รับความเสียหาย ประตู หน้าต่าง บันได
บ้านพังเสียหาย เพราะบ้านตนเองอยู่ตรงช่วงที่น้ำไหลผ่านแรง ซึ่งวันที่ 24
ที่จะถึงนี้ก็จะครบ 2 เดือนแล้ว ความเป็นอยู่ก็ยากลำบาก ไปไหนมาไหนก็ต้องใช้เรือ
ไหนจะเด็กเล็กไปไหนมาไหนก็ลำบาก ซึ่งส่วนใหญ่ชาวบ้านในพื้นที่ก็เป็นบ้านไม้
ได้รับความเสียหายกันหมด จะทำสะพานเดินเข้าออก ก็ทำไม่ได้ เพราะเป็นทางน้ำไหล
ความเดือดร้อนระดับน้ำท่วมเกือบเท่า ปี 54
อยากให้ช่วยเหลือข้าวสารอาหารแห้ง
แม้ว่าจะมีมาบ้างแล้ว แต่ด้วยความเป็นอยู่กับสภาพรายได้ที่ขาดหายไป
ต้องหยุดขายของนานเกือบ 2 เดือน ลำบากตั้งแต่โควิด มาเจอน้ำท่วมอีก
ศักดริน พุทธคาวี ( ต้น 089 – 886 – 2828 )