Header Ads

 


 ชุมพร - จุรินทร์  ติดตามความหน้าการประกันรายได้สินค้าเกษตร และคืนโฉนดที่ดินให้สมาชิกกองทุนฯ ชุมพร พร้อมมอบเช็คฟื้นฟูอาชีพ-เช็คชำระหนี้ กว่า 9.2 ล้านบาท




    จุรินทร์ลงพื้นที่จังหวัดชุมพรติดตามความคืบหน้า และประชาสัมพันธ์โครงการ ประกันรายได้สินค้าเกษตร พร้อมกับการคืนโฉนดที่ดินให้สมาชิกกองทุนฯ ชุมพร พร้อมมอบเช็คฟื้นฟูอาชีพ-เช็คชำระหนี้ กว่า 9.2 ล้านบาท รองนายกรัฐมนตรี "จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" ประธานกรรมการกองทุนฟื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร(กฟก.) เป็นประธาน มอบคืนโฉนดให้กับสมาชิก กฟก.ชุมพร 29 รายที่ชำระหนี้ครบตามสัญญา มอบเช็คเงินโครงการฟื้นฟูฯ 3.6 ด้านบาท พร้อมแก้ปัญหาหนี้ให้เกษตรกรด้วยการชำระหนี้แทนสหกรณ์กว่า 5 แสนบาท

   วันที 11 กันยายน 2564 กองทุนพื้นฟูและพัฒนาเกษตรกร (กฟก.) จังหวัดชุมพร มีการจัดกิจกรรม "มอบเช็คชำระการฟื้นฟูอาชีพ และมอบโฉนดที่ดินคืนให้เกษตรกรสมาชิกกองทุนฯ จังหวัดชุมพร" ณ โครงการ หนองใหญ่ในพระราชดำริ ตำบลบางลีก อำเภอเมืองชุมพร จังหวัดชุมพร โดยมีนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรี เป็นประชานในพิธี และมี นายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร  นายชุมพล จุลใสสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 1 จังหวัดชุมพร นายสราวุธ อ่อนละมัย สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเขต 2 จังหวัดชุมพร นายอุดม ศรีสมทรง  พาณิชย์จังหวัดชุมพร นายธีระศักดิ์ ยมสวัสดิ์ เกษตรจังหวัดชุมพร  นายนพพร อุสิทธิ์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดชุมพร นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท ประธานกรรมการบริหารกองทุนฯ นายสไกร พิมพ์บึง เลขาธิการสำนักงานกองทุนฯ ตัวแทนจากองค์กร หน่วยงานราชการต่าง ๆ และสมาชิกเกษตรกรเข้าร่วมงาน

นายสัมฤทธิ์ กองเงิน รองผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร กล่าว่า ขอบคุณท่านจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิยย์ และคณะที่ให้เกียรติมาตรวจเยี่ยมพื้นที่จังหวัดชุมพร และเป็นประธานการประชุมติดตามความคืบหน้าและประชาสัมพันธ์โครงการประกันรายได้สินค้าเกษตร มอบเช็คชำระหนี้ และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนฟื้นฟูเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรให้แก่เกษตรกรจังหวัดชุมพร   จังหวัดชุมพร มีประชาคร 509,292 คน แบ่งการปกครองเป็น 8 อำเภอ โดดเด่นในเรื่อง เกษตรกรรม และการท่องเที่ยวทางธรรมชาติ จึงได้กำหนดวิสัยทัศน์ไว้ว่า "ชุมพรเมืองน่าอยู่ บนพื้นฐาน การเกษตรกรรม และการท่องเที่ยวคุณภาพ เชื่อมโยงการพัฒนาสองฝั่งทะเล" สินค้าเกษตรที่สำคัญ ได้แก่ ปาส์มน้ำมัน ยางพารา ทุเรียน กาแฟ และมะพร้าว ผลิตภัณฑ์ชุมขนที่สำคัญ ได้แก่ ผลผลิตจากกล้วยเล็บมือนาง กาแฟ 3 ก 1 อาหารทะเลแปรรูป เป็นตัน สถานที่ท่องเที่ยวที่ขึ้นชื่อของจังหวัดชุมพร ได้แก่ หาดทรายรี หาดทุ่งวัวแล่น ศาลพ่อตาหินช้าง หลาดกล้วยพ่อตา เขามัทรี เกาะพิทักษ์ หลาดใต้เคี่ยม ปัจจุบันได้รับความนิยม แพร่หลายจากนักท่องเที่ยวทั้งในประเทศ และต่างประเทศ แผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 12 ยุทธศาสตร์ที่ 3 การสร้างความเข้มแข็ง ทางเศรษฐกิจและแช่งขันได้อย่างยั่งยืน โดยการยกระดับการผลิตสินค้าเกษตร ซึ่งโครงสร้างทางเศรษฐกิจ ที่สำคัญของจังหวัดทุมพร จากข้อมูล ปี 2562 จังหวัดชุมพร มีผลิตภัณฑ์มวลรวมจังหวัด (GPP) 116,164 ล้านบาท รายใต้เฉลี่ยต่อหัว 232,817 บาท/คน/ ปี รายได้ส่วนใหญ่มาจากภาคเกษตรกรรม ร้อยละ 54.62 รองลงมาภาคบริการ ร้อยละ 36.82 และภาคอุตสาหกรรม ร้อยละ 8.56   จังหวัดชุมพร มีพื้นที่ปลูกปาล์มน้ำมัน จำนวน 1,045.017 ไร่ พื้นที่ให้ผลผลิต 1,010,522 ไร ,950,724 ตัน ต้นทุนการผลิต 8,639.15 บาท/ไร่ ต้นทุนการผลิต 3.01 บาท/กก. มีโรงงานสกัดปาล์มน้ำมัน จำนวน 36 โรง โรง A จำนวน 14 โรง โรง B จำนวน 14 โรง โรงงานไบโอดีเซล จำนวน 1 โรง โรงสกัดเมล็ดใน จำนวน 5 โรง และคลังรับฝากจำนวน 2 โรง มีลานเทรับซื้อผลปาล์ม จำนวน ราคารับซื้อผลปาล์มน้ำมันหน้าโรงงาน ปี 2564 (ม.ค. ส.ค.) ราคา 6.21 บาท/กก. ราคาน้ำมัน CPO 35.55 ปอร์เซ็นต์ น้ำมัน 17.86 ปริมาณการรับซื้อผลปาล์ม ปี 2564 (ม.ค.-ส.ค.) จำนวน 1,490,622,829 ตันโครงการประกันรายได้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมันปี ระหว่างปี 2562 - 2564 มีการประกันรายได้ จำนวน 7 ครั้ง เกษตรกร จำนวน 54,418 ราย จำนวนเงิน 1,219.081 ล้านบาท ครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 15 กันยายน 2653 เนื่องจากปัจจุบัน ราคาผลปาล์มทะลายสูงกว่าราคาเป้าหมาย กก.ละ 4บาท จึงไม่มีการจ่ายเงินชดเชยส่วนต่างให้เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน

  จังหวัดชุมพร ได้กำหนดแนวทางการดำเนินการส่งเสริมการผลิตปาล์มน้ำมันคุณภาพ ภายใต้ชุมพรทีม ร่วมกำหนดนโยบายยกระดับความสามารถในการแข่งขันด้าน การตลาดในการพัฒนาและเพิ่มประสิทธิภาพการสกัดน้ำมันปาล์ม ให้มีเปอร์เซ็นต์น้ำมันสูงขึ้นจาก 17 % เป็น 18-19 %เพื่อ สร้างรายได้เพิ่มให้เกษตรกรในอัตรา 300 บาท/ตัน และส่งผลต่อผลิตภัณฑ์มวลรวม (GPP) จังหวัดชุมพร ภาคการเกษตร (ปาล์มน้ำมัน) เดือนสิงหาคม 2564 มูลค่ารวม 9,477.17 ล้านบาท นอกจากนี้ คณะทำงานชุมพรทีมได้ลงพื้นที่พบปะหารือกลุ่มเกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ลานเท และโรงสกัดน้ำมัน ปาล์มอย่างต่อเนื่อง รับฟังปัญหา ข้อเสนอแนะ เพื่อเป็นแนวทางในการส่งเสริมการผลิ ให้เกิดความยั่งยืนต่อไป พี่น้องชาวชุมพรได้รับสิ่งดีๆ จากกิจกรรมที่เกิดขึ้น และมอบโฉนดที่ดินของกองทุนพื้นฟู ในการประชุมครั้งนี้ เกษตรกรสร้างรายได้และมีอาชีพมั่นคงอย่างยั่งยืนตลอดไป ขอบคุณครับ

ธนากร โกศลเมธีรายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514






ขับเคลื่อนโดย Blogger.