Header Ads

 


 มทร.ธัญบุรี จับมือ บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด และ 3 วิสาหกิจชุมชน ร่วมกันวิจัย พัฒนา กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม



เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 31 สิงหาคม 2564 ที่ห้องประชุมมังคลอุบล ชั้น 1 อาคารเฉลิมพระเกียรติ 48 พระชันษา มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี จัดพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ว่าด้วยการศึกษา วิจัย และพัฒนาโครงการวิจัย กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรม ระหว่าง มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด วิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปบุกเขาค้อ วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม และวิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแลสมุนไพรเพื่อการแพทย์ โดยมี ผศ.ดร.สมหมาย ผิวสอาด อธิการบดีมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลธัญบุรี นายธนารัตน์ จิตต์พายัพ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ทีเอชซีจี กรุ๊ป จำกัด นางอรพินทร์ พญาพิทักษ์สกุล ประธานที่ปรึกษาวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกและแปรรูปบุกเขาค้อ นายพลวรรน์ พญาพิทักษ์สกุล รองประธาน วิสาหกิจชุมชนกลุ่มปลูกและแปรรูปบุก,เกษตรอินทรีย์บ้านทุ่งแพม และนายณัฐวรรน์ วรพนิตกุล รองประธาน วิสาหกิจชุมชนทุ่งนางแลสมุนไพรเพื่อการแพทย์ เข้าร่วมงาน


สำหรับการลงนามบันทึกข้อตกลงความร่วมมือ ในครั้งนี้ เพื่อศึกษา วิจัย และพัฒนาโครงการวิจัย กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ประโยชน์ทางการแพทย์ รวมไปถึงการเตรียมความพร้อมเพื่อนำไปผลิตเชิงพาณิชย์และอุตสาหกรรมของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัดจากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพรเพื่อใช้ในการรักษาทางการแพทย์ ทั้งในลักษณะที่เป็นยาสมุนไพร ยาแผนปัจจุบัน และกิจการอื่น ๆ ให้ถูกต้องตาม หลักวิชาการและชอบด้วยกฎหมาย โดยมีขอบเขตความร่วมมือ ดังนี้ 1. ร่วมส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนางานวิจัยด้านสายพันธุ์กัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร รวมไป ถึงระบบการเพาะปลูก นวัตกรรมต้านการผลิต การพัฒนาและการจัดจำหน่ายกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัด จากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร เพื่อใช้ในทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์ เชิงอุตสาหกรรม และกิจการอื่น ๆ 2. ร่วมพัฒนาบุคลากรให้มีองค์ความรู้และทักษะต้านการวิจัย การผลิต(ปลูก) การแปรรูป(สกัด) การตลาดของกลุ่มผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ที่มีสารสกัดจากกัญชา กัญชง กระท่อม และพืชสมุนไพร ให้ถูกต้องตามหลักวิชาการและชอบด้วยกฎหมาย 3. สนับสนุน ผลักดัน วิจัยและพัฒนาผลิตภัณฑ์ รวมไปถึงการผลิตยาที่มีส่วนประกอบจากวัตถุดิบและสารสกัดกัญชา กัญชง และพืชสมุนไพร ให้เกิดการนำผลงานวิจัยหรือผลิตภัณฑ์ที่มีคุณสมบัติที่มีสารตั้งต้นของสารสกัด CBD (Cannabidiol) / THC (Tetrahydrocannabinol จากงานวิจัยที่เกิดจากความร่วมมือนี้ไปสู่การใช้ประโยชน์ ทางการแพทย์ เชิงพาณิชย์ และเชิงอุตสาหกรรม การครอบครองสิทธิในทรัพย์สินทางปัญญาหรือสิทธิใดของผลงานวิจัย โดยให้เป็นไปตามที่ทุกฝ่ายจะได้ตกลงกัน เพื่อดำเนินการตามข้อตกลงนี้ และ 4. ร่วมสนับสนุนการใช้ครุภัณฑ์ เครื่องมือ และวัสดุอุปกรณ์ ในการสนับสนุนด้านนโยบายเพื่อผลักดัน พัฒนา พร้อมทั้งสนับสนุนด้านคำปรึกษาด้านวิซาการหรือกิจกรรมอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง








ขับเคลื่อนโดย Blogger.