Header Ads

 


ยโสธร - เตรียมพร้อมรับอุทกภัย ปี 2564


ที่ห้องประชุมข้าวหอมมะลิอินทรีย์ ศาลากลางจังหวัดยโสธร เมื่อวันที่ 13 กรกฏาคม 2564 นายชลธี ยังตรง ผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร เป็นประธานการประชุมคณะกรรมกา ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย จังหวัดยโสธร ประจำปี พ.ศ.2564 โดยมีนายสมเพชร สร้อยสระคู รองผู้ว่าราชการจังหวัดยโสธร พร้อมหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ นายอำเภอ ทั้ง 9 อำเภอเข้าร่วมประชุม โดยการแระชุม
กรมอุตุนิยมวิทยา ได้เสนอคาดหมายลักษณะอากาศช่วงฤดูฝนปี 2564 ว่า ฤดูฝนเริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมและสิ้นสุดกลางเดือนตุลาคม 2564 สำหรับปริมาณน้ำฝนจะมากกว่าปีที่ผ่านมา โดยในช่วงเดือนสิงหาคมถึงกันยายน 2564 จะมีฝนตกชุกหนาแน่น และอาจมีพายุหมุมเขตร้อนเคลื่อนผ่านทำให้มีฝนตกหนักถึงหนักมากในหลายพื้นที่และอาจเกิดภาวะน้ำท่วมฉับพลันขึ้นได้ ด้านนางแสงเสน่ห์ เกษกระทุ่มรักษาราชการแทนหัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธร เผย ว่าจังหวัดได้จัดตั้งกองวอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธร ที่สำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธร โดยได้ตั้งคณะกรรมการและคณะทำงานศูนย์บัญชาการเหตุการณ์อุทกภัย จังหวัดยโสธร พ.ศ.2564 ขึ้นเพื่ออำนวยการ สนับสนุนและประสานการปฏิบัติกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธร อีกทั้ง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้จัดโครงการนำร่องการติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย โดยการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ การติดตาม เฝ้าระวังระดับน้ำในลำน้ำสายหลัก สายรอง ที่มีผลกระทบต่อการเกิดอุทกภัยในเขตชุมชนเมือง เขตเศรษฐกิจ ใน 5 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ อำนาจเจริญ ร้อยเอ็ดและยโสธร โดยให้มีการติดตามและเฝ้าระวังสถานการณ์อุทกภัยร่วมกับส่วนกลางและส่วนภูมิภาค ซึ่งจังหวัดยโสธรได้แจ้งพื้นที่เสี่ยงการเกิดอุทกภัยในการติดตั้งอุปกรณ์ 4 แห่ง ได้แก่
จุดเฝ้าระวังที่ 1 ลำน้ำชี ในพื้นที่อำเภอเมือง ที่บริเวณสวนสาธารณะบุ่งน้อย บุ่งใหญ่ จุดเฝ้าระวังที่ 2 ลำน้ำยัง ที่บริเวณสะพานข้ามลำน้ำยัง บ้านใหม่ชุมพร ตำบลเดิด จุดเฝ้าระวังที่ 3 ที่ลำเซบาย ที่บริเวณสะพานข้ามห้วยเซบาย ตำบลสวาท อำเภอเลิงนกทา และจุดเฝ้าระวังที่ 4 บริเวณสะพานบ้านเซ ตำบลเชียงเพ็ง อำเภอป่าติ้วนอกจากนั้นสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดยโสธรยังได้สำรวจพื้นที่เสี่ยงอุทกภัยหากฝนตกสะสม 200 มิลลิเมตร ใน 24 ชั่วโมงและกรณีน้ำท่วมสูงจากตลิ่ง 2.00 เมตร เป็นโครงการนำร่องในการติดตาม เฝ้าระวังและเตรียมความพร้อมรับอุทกภัย ดังนี้

กรณีฝนตกสะสม 200. มิลิเมตร ใน 24 ชั่วโมง พื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วมมีผลกระทบ 8 อำเภอ 28 ตำบล 58 หมู่บ้าน ยกเว้นอำเภอทรายมูล กรณีน้ำท่วมสูงกว่าตลิ่ง 2.00 เมตร หรือระดับน้ำในลำน้ำยัง ที่จะเกิดน้ำท่วม พื้นที่อำเภอเมืิง 3 ตำบล 5 หมู่บ้าน กรณีน้ำท่วมสูงกว่าตลิ่ง 2.00 เมตร ระดับน้ำในลำน้ำชีพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วม 4 อำเภอ 10 ตำบล 21 หมู่บ้าน 5 ชุมชน ในเขตเทศบาลเมืองยโสธร อำเภิคำเขื่อนแก้ว อำเภอมหาชนะชัยและ อำเภอค้อวัง กรณีท่วมสูงกว่าตลิ่ง 2.00 เมตร ระดับน้ำในลำน้ำเซบายมีพื้นที่ที่จะเกิดน้ำท่วม 4 อำเภอ 11 ตำบล 24 หมู่บ้าน ในพื้นที่อำเภอเลิงนกทา ไทยเจริญ ป่าติ้วและคำเขื่อนแก้ว
ทั้งนี้ ได้จัดเตรียมแผนรองรับสถานการณ์อุทกภัย พร้อมทั้งเครื่องจักรกลสาธารณภัย วัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือ ยานพาหนะเจ้าหน้าที่ และระบบการแจ้งเตือนภัยให้ประชาชนรับทราบสถานการณ์ ให้มีความพร้อมใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพด้วยแล้ว

ภาพ/ข่าว  วีรพล บุญเดช









ขับเคลื่อนโดย Blogger.