Header Ads

 


รายงานข้อเท็จจริง จระเข้น้ำจืดวิ่งไล่กัดเจ้าหน้าที่


รายงานข้อเท็จจริงเพิ่มเติม กรณี เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ได้ร่วมกันจับจระเข้น้ำจืด 1 ตัว เนื่องจากพบพฤติกรรมของจระเข้ มีนิสัยดุร้าย วิ่งไล่กัดเจ้าหน้าที่ ไปอนุบาลในบ่ออนุบาลเป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ

ตามที่ เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2564 เจ้าหน้าที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด และเจ้าหน้าที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ได้ร่วมกันจับจระเข้น้ำจืด จำนวน 1 ตัว บริเวณริมถนน ข้างศาลเจ้าแม่หมอนทอง หมู่ 5 ต.พระนอน อ.เมืองนครสวรรค์ จ.นครสวรรค์  หลังจากพบพฤติกรรมของจระเข้ มีนิสัยดุร้าย วิ่งไล่กัดเจ้าหน้าที่ เพื่อนำไปเลี้ยงอนุบาลชั่วคราว ก่อนรอปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ตามที่ปรากฏตามสื่อออนไลน์ มานั้น

 วันที่ 14 มิถุนายน 2564 นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผู้อำนวยการสำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) พร้อมด้วย นายจิระเดช บุญมาก หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด  ได้ลงพื้นที่เพื่อไปตรวจติดตามสถานที่เลี้ยงอนุบาลจระเข้(ชั่วคราว) ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ได้ข้อมูลเพิ่มเติม ดังนี

1.จระเข้ ที่คณะเจ้าหน้าที่ร่วมกันจับมาถูกนำมาเลี้ยงในบ่ออนุบาล ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ภายในบริเวณพื้นที่เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด เป็นการชั่วคราว เพื่อรอการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ (บึงบอระเพ็ด) ในช่วงเวลาที่เหมาะสม  ขณะนี้จระเข้ อยู่ในบ่ออนุบาล มีสุขภาพแข็งแรง ดีมาก

2.ไข่จระเข้ มีจำนวน 8 ฟอง เป็นไข่ขนาดปกติ 7 ฟอง และอีก 1 ฟอง เป็นไข่ที่มีลักษณะลีบไม่สมบูรณ์ เจ้าหน้าที่ไม่ได้นับจำนวนไข่ใบนี้ ในรายงานฉบับแรก กล่าวคือ ในรายงานว่าฉบับแรกตรวจพบว่าไข่จระเข้ เพียงจำนวน 7 ฟอง

ทั้งนี้ผลการตรวจสอบความสมบูรณ์ของไข่จระเข้ นายสุพัตร์ ศรีพัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ยืนยันว่าจากการตรวจสอบไข่จระเข้ที่เก็บมา ร่วมกับเจ้าหน้าที่ที่มีความชำนาญ พบว่า ไข่จระเข้ทั้งหมด  ไม่มีเชื้อ กล่าวคือ ไม่ได้รับการผสม ดังนั้น ไข่ทั้งหมดไม่สามารถฟักเป็นตัวอ่อนได้

ขณะนี้ไข่จระเข้ทั้งหมด ยังฝากให้ศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืดนครสวรรค์ ดูแล

3.แผนการปล่อยคืนสู่ธรรมชาติ ได้ข้อมูลจากที่ประชุมร่วมกัน ว่า ปกติแล้วจระเข้ จะลดความดุร้าย ลง หลังจากไม่มีไข่อยู่ใกล้ตัวแล้ว ประมาณ 15 วัน หลังจากเลยระยะเวลาดังกล่าว สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 จะหารือร่วมกับทุกฝ่าย เพื่อหาทางปล่อยจระเข้คืนสู่ธรรมชาติต่อไป

ทั้งนี้การดำเนินการทั้งหมด จะยึดแนวทางการปฏิบัติตามที่นายธัญญา เนติธรรมกุล อธิบดีกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้บริหารกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้นโยบายการปฏิบัติไว้ว่า การดำเนินการทั้งหมดต้องเป็นไปตามหลักวิชาการ จระเข้ เจ้าหน้าที่ และประชาชนจะต้องปลอดภัย

ภาพ/ข่าว อัมพณ จับศรทิพย์









ขับเคลื่อนโดย Blogger.