Header Ads

 


 ปิดแคมป์ทำพิษ แรงงานโอด นอนรอวันตายอย่างเดียว! ยื่นข้อเสนอต่อรัฐ ยกเลิกปิดแคมป์-ให้เยียวยาถ้วนหน้า 



วันนี้ (30 มิ.ย.) ที่ หน้าประตู 4 ทำเนียบรัฐบาล สหภาพคนทำงาน นำโดย น.ส.ธนพร วิจันทร์ หรือ ไหม จัดกิจกรรมเรียกร้องการเยียวยาถ้วนหน้า ที่แรงงานได้รับผลกระทบจากการสั่งปิดแคมป์คนงาน 


ด้านตัวแทนแรงงานหญิง ชาวกัมพูชา กล่าวว่า "ปิดแคมป์ตั้งแต่วันศุกร์ ปิดไปอีกหนึ่งเดือน คนเดือดร้อนอยู่ในแคมป์ นอนรอความตาย! เขาไม่มีกิน! เขาจัดการให้คนที่ติดโรคและไม่ติดนอนรวมกันในแคมป์ คนที่เขาไม่ติดโรคก็ต้องหาทางหนีอยู่แล้ว แล้วเมื่อไหร่เขาจะเยียวยาเรา"

.

เรื่อง ข้อเสนอเพื่อลดผลกระทบจากคำสั่งปิดแคมป์แรงงานในกลุ่มคนงานก่อสร้าง และแรงงานข้ามชาติ 


ตัวแทนสหภาพ กล่าวว่า การดำเนินมาตรการดังกล่าวของรัฐบาลได้ส่งผลกระทบต่อคนงานในภาคการก่อสร้างอย่างมาก โดยเฉพาะ

แรงานข้ามชาติที่เสี่ยงหลุดออกไปจากระบบการจ้างงานตามกฎหมายมากขึ้น นอกเหนือไปจากการเผชิญปัญหา

พื้นฐานที่ผ่านมา ทั้งการทำงานข้ามเขตพื้นที่ การไม่สามารถขึ้นทะเบียนได้ทันเวลาเนื่องจากไม่มีค่าดำเนินการและการสื่อสารประชาสัมพันธ์ที่ไม่เพียงพอ สหภาพคนทำงานเป็นการรวมตัวของคนทำงานในทุกสาขาอาชีพ เพศ เพศสภาพ เชื้อชาติ สัญชาติ สีผิว หรือศาสนา มีข้อเสนอต่อรัฐบาลในการดำเนินการป้องกันการแพร่ระบาดและลดผลกระทบต่อกลุ่มแรงงานต่อไปนี้ 


1. ประกาศนิรโทษกรรมให้กับแรงงานข้ามชาติผิดกฎหมายทุกคนในประเทศเป็นการชั่วคราว 6 เดือน พร้อมกับเปิดขึ้นทะเบียน และยุติการกวาดล้างจับกุมทันที เพิ่มการประชาสัมพันธ์ให้แรงงานข้ามชาติและผู้ติดตามมาดำเนินการขึ้นทะเบียนโดยไม่มีค่าใช้จ่าย เพื่อให้สามารถถึงระบบเฝ้าระวังโรคระบาดได้อย่างมีประสิทธิภาพ 


2. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่มีนายจ้างแต่ไม่ได้เข้าประกันสังคมให้ดำเนินการเข้าประกันสังคมย้อนหลังได้ 3 เดือน เพื่อให้สิทธิการรักษาพยาบาลเกิดทันที รวมถึงบังคับใช้กฎหมายประกันสังคมอย่างจริงจังเพื่อ

แรงงานจะได้เข้าถึงสิทธิประโยชน์ได้ตามกฎหมาย 


3. ผ่อนผันให้แรงงานข้ามชาติที่ไม่ได้เป็นผู้ประกันตนตามกฎหมายให้เป็นผู้มีสิทธิในประกันสุขภาพแรงงานต่างด้าวชั่วคราว 6 เดือน โดยให้ขยายสิทธิครอบคลุมถึงการตรวจรักษาโควิด-19 ทันที 


4. ยกเลิกมาตรการปิดแคมป์แรงงานก่อสร้าง เพิ่มมาตรการตรวจเชิงรุก เช่น การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม สำหรับกลุ่มผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ การจัดตั้งศูนย์พักรอสำหรับกลุ่มที่มีความเสี่ยง การจัดพื้นที่สำหรับกลุ่มที่ไม่มีความเสี่ยงภายในแคมป์แรงงานที่มีความพร้อม พร้อมจัดตั้งศูนย์ตรวจโควิดสำหรับแรงงานในทุกพื้นที่ ยกเลิกเงื่อนไขการตรวจเฉพาะกลุ่มเสี่ยง รวมถึงพัฒนากสไกการเข้าถึงวัคซีนที่เท่าทียม ทั่วถึงและเหมาะสมแก่ทุกกลุ่มแรงงานโดยเร็วที่สุด

.

5. รัฐบาลต้องดำเนินมาตรการเพื่อปรับปรุงที่อยู่อาศัยของแรงงานข้ามชาติโดยยึดหลักปฏิบัติตามข้อแนะ

ขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ ILO ค.ศ. 1961 (ฉบับที่ 115) เรื่องที่พักอาศัยของคนงาน

.

6. รัฐบาลจะต้องจ่ายเงินชุดเชยเท่ากับรายได้ปกติของแรงงาน ในกรณีที่จำเป็นที่รัฐบาลจะต้องมีการใช้

มาตรการปิดแคมป์แรงงาน หรือมีคำสั่งที่ส่งผลให้ต้องยุติการทำงานในทุกกิจการ

.

7. รัฐบาลจะต้องให้ความสำคัญในแสวงหาการมีส่วนร่วมจากผู้ที่เกี่ยวข้องโดยเพิ่มผู้แทนจากแรงงาน ภาคประชาสังคมในคณะทำงานของศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ในทุกระดับ นอกเหนือไปตัวแทนหน่วยงานราชการ สภาอุตสาหกรรม สภาหอการค้าและสมาคมธนาคาร

เท่านั้น


ทีมข่าว13สยามไทย/รายงาน






ขับเคลื่อนโดย Blogger.