Header Ads

 


 ชุมพร - ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการกฎกติกาหมู่บ้านชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และเปิดปฏิบัติการตรวจคัดกรอง (Re x-ray) หมู่บ้าน/ชุมชน






ลงพื้นที่ติดตามการดำเนินการกฎกติกาหมู่บ้านชุมชนเพื่อป้องกันและควบคุมการแพร่ระบาดโรคโควิด 19 และเปิดปฏิบัติการตรวจคัดกรอง (Re x-ray) หมู่บ้าน/ชุมชน 

  วันที่ 3 พ.ค.64 เวลา 09.00 น. เป็นต้นไป ในพื้นที่ 8 อำเภอ จำนวน 747 หมู่บ้านและ 2 เทศบาลเมือง(ทม.ชุมพร และ ทม.หลังสวน) และทุกชุมชนในพื้นที่ โดยการสนธิกำลัง ของกำนัน ผู้ใหญ่บ้าน อปท. คณะกรรมการหมู่บ้าน(กม.)  อสม. อปพร. และชรบ. ของแต่ละหมู่บ้าน/ชุมชน ในพื้นที่จังหวัดชุมพร รวมกว่า 20,000 คน ภายใต้การกำกับและอำนวยการของนายอำเภอทุกอำเภอ และนายกเทศมนตรีเมือง ทั้งนี้ ศปก.อ. ทุกอำเภอ และ ศปก.ทม. ทั้ง 2 แห่ง  ได้แต่งตั้งชุดปฏิบัติการประจำตำบล และชุดเคลื่อนที่เร็วของเทศบาลเมือง ลงไปติดตามกำกับ และให้คำแนะนำในพื้นที่ เพื่อให้การปฏิบัติหน้าที่ เป็นไปด้วยความเข้มแข็งตามแนวทาง คำสั่ง ประกาศ มาตรการของจังหวัดชุมพรโดยเฉพาะมาตรการส่วนบุคคล มาตรการครัวเรือน มาตรการชุมชน/สังคม และการเดินทาง เข้า - ออกจังหวัดชุมพรที่มาจากพื้นที่  6 จังหวัด(ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด)และ 45 จังหวัด (พื้นที่ควบคุมสูงสุด)ทุกคน จะต้องสแกน QR code Save Chumphon เพื่อประเมินตนเองและกักตัว 14 วัน ตามคำสั่งจังหวัดชุมพรโดนเคร่งครัด 

    สำหรับสถานการณ์โรคโควิด-19 จ.ชุมพร  มีผู้ป่วยยืนยันสะสม 73 รายรักษาหาย(กลับบ้าน) 7 ราย ส่งต่อ 1 ราย ยังคงรับการรักษาในโรงพยาบาล 65 ราย 

     ความคืบหน้าการจัดตั้ง รพ.สนามจังหวัดชุมพร ณ อาคารโรงฝึกกีฬาอเนกประสงค์ ม.การกีฬาแห่งชาติ วิทยาเขตชุมพร ซึ่งมีทีมวิศวกรและทีมช่าง รีบเร่งรัดปรับปรุงสถานที่และระบบสาธารณูปโภค เพื่อให้เป็นไปตามรูปแบบและแผน ที่วางไว้โดยกำหนดซ้อมระบบการรับ- ส่งผู้ป่วยและการปฏิบัคิงานรักษาพยาบาลของผู้ป่วยเพื่อตรวจเช็ดระบบการปฏิบัติงานเสมอจริงให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 พ.ค.64

       ทั้งนี้จะได้ประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้เรื่องการจัดตั้งโรงพยาบาลสนามและความพร้อมให้ประชาชนได้รับรู้เป็นการสร้างความเชื่อมั่นในการมีเตียงรองรับผู้ป่วยเพิ่มขึ้นจำนวน 100 เตียงพร้อม บุคคลากรทางการแพทย์และพยาบาล เครื่องมือทางการแพทย์ เวชกรรม ยา เพียงพอและมีการดูแลรักษา เช่นเดียวกับ โรงพยาบาลหลัก (รพ.ชุมพร2)ตามแนวทางและมาตรฐานของกระทรวงสาธารณสุข 

        ซึ่งคณะทำงานทุกฝ่ายได้เร่งระดมจัดหา ให้เป็นไปตามรูปแบบและแผนที่ได้วางไว้ เพื่อรองรับการผ่องถ่ายผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก จาก รพ.รัฐ และ รพ.เอกชน ในพื้นที่ มี จำนวน 100 เตียง โดยการบัญชาการด้านการรักษาพยาบาล โดยทีมงานนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดชุมพร มีนายแพทย์ ฉัตรชัย พิริยะ เป็น ผอ.รพ.สนาม  ให้เป็นไปตามมาตรฐานการรักษาเช่นเดียวกับ รพ.หลัก เพื่อให้มีเตียงรองรับผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง มารักษาต่อให้ครบกำหนดเวลาและหายป่วยก่อนกลับบ้าน ได้อย่างเพียงพอและทันต่อสถานการณ์ที่เกิดขึ้นในพื้นที่ ให้มีมาตรฐานในการรักษาและมีระบบรักษาความปลอดภัย

      สำหรับค่าใช้จ่ายในการจัดตั้ง รพ.สนามจังหวัดชุมพร ได้รับการสนับสนุนจาก  อบจ.ชพ. ส่วนราชการต่างๆ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่เกี่ยวข้องตามมติที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดชุมพร  โดยการเสนอของ สสจ.ชพ. และการบริจาคสิ่งของจากภาคเอกชน ผู้มีจิตศรัทธา และมูลนิธิ เช่น แอร์ เตียง ที่นอน ผ้าปูที่นอน ปลอกหมอน ผ้าห่ม พัดลม TV กล้อง CCTV Internet อาหารและเครื่องดื่ม เป็นต้น และใช้งบประมาณของ อปท. ของ อบจ.ชพ และ ทต.ขุนกระทิง ในการดำเนินการก่อน งบประมาณประมาณ 700,000 บาท 

    เมื่อสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคฯ ได้บรรเทา และคลี่คลายลง หรือยุติลง ก็จะขนย้ายนำสิ่งของ เครื่องมือ อุปกรณ์ ต่างๆ จาก รพ.สนาม จะเคลื่อนย้ายไปไว้ที่ศูนย์พักพิงอุ่นไอรัก ทั้ง 2 แห่ง เพื่อใช้ในการรองรับเมื่อเกิดภัยพิบัติต่างๆ ขึ้นในพื้นที่


ธนากร โกศลเมธี รายงานศูนย์ข่าวสารจังหวัดชุมพร 0818923514












ขับเคลื่อนโดย Blogger.