Header Ads

 


อุทัยธานี-เจ้าหน้าที่กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ประชุมเข้มกำหนดแผนการปฎิบัติการเฝ้าระวังและผลักดันเสือ กลับสู่ป่า


เวลา 10.30 น. ของวันที่  5 กุมภาพันธ์ 2564 นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์) ได้มอบหมายให้นางสาววีรยา  โอชะกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า เป็นประธานการประชุมกำหนดแผนปฎิบัติการเพิ่มความเข้มข้นในการเฝ้าระวังและผลักดันเสือโคร่ง ซึ่งออกจากป่าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง มาสร้างความเดือดร้อน ทำร้ายสัตว์เลี้ยง และรบกวนประชาชน บ้านไผ่งาม และบ้านบึงเจริญ ต.ระบำ อ.ลานสัก จ.อุทัยธานี ณ สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง 

โดยมีหัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน หัวหน้า สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หัวหน้าศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยขาแข้ง หัวหน้าพื้นที่เตรียมการกำหนดเป็นเขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ และเจ้าหน้าที่ที่เกียวข้อง ร่วมกันหารือ รวมประมาณ 25 คน

ที่ประชุมได้ข้อสรุปในแผนปฎิบัติการ และมอบหมายภารกิจให้แต่ละหน่วยงานปฎิบัติการเฝ้าระวังพื้นที่ ลาดตระเวนโดยรถยนต์เพื่อก่อกวนเสือไม่ย้อนกลับมาก่อเหตุซ้ำ มอบหมายให้สนธิกำลังแบ่งปฏิบัติการออกเป็น 3 ชุด ดังนี้ ออกปฎิบัติการบริเวณบ้านเขาเขียว จำนวน 11 คน จนท. ขสป. ห้วยขาแข้ง 5 คน และจนท. ขหล. ถ้ำประทุน 6 คน ออกปฎิบัติการบริเวณบ้านไผ่งาม จำนวน 12 คน จนท. ขสป. ห้วยขาแข้ง 8 คน และจนท. ศูนย์ศึกษาการพัฒนากจก.พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ 1 ภาคกลาง 4 คน ออกปฎิบัติการบริเวณบ้านบึงเจริญ จำนวน 7 คน จนท. พื้นที่เตรียมการขหล. ห้วยทับเสลา-ห้วยระบำ

ปฎิบัติการวางเหยื่อให้เสือกิน ปฎิบัติการโดยทีมงานของกลุ่มงานวิชาการ สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12 (นครสวรรค์) และสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ให้ดำเนินการวางเหยื่อ หรือ อาหาร ในจุดที่เหมาะสมเพื่อให้เสือกินให้อิ่ม ทั้งนี้เพื่อลดความหิวและความเครียดของเสือ 

ปฎิบัติการมวลชนสัมพันธ์ ให้เจ้าหน้าที่หน่วยงานของ กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช ในพื้นที่ใกล้เคียงที่เกิดเหตุ ร่วมกันออกพบปะให้ข้อมูลการปฎิบัติตนกับประชาชน  เช่น แนะนำสถานที่ควรปล่อยสัตว์เลี้ยงแนะนำการเตรียมคอกให้แข็งแรง มิดชิด ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางในเวลากลางคืน หรือถ้าหลีกเลี่ยงไม่ได้ ให้ใช้รถยนต์เป็นพาหนะ ทั้งนี้ในเบื้องต้นได้ประสานกับผู้นำชุมชนหมู่บ้านไผ่งาม และบ้านบึงเจริญ เกี่ยวกับการออกประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับเสือโคร่งและการปฏิบัติตนให้ชาวบ้านทราบ และจะขยายผลไปยังบ้านเขาเขียว และบ้านเขามะตูม ซึ่งเป็นพื้นที่ใกล้เคียงด้วย

ปฎิบัติการติดตามการเคลื่อนไหวของเสือ มอบให้กลุ่มงานวิชาการ และสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำติดตั้งกล้องดักถ่ายภาพ และตามรอยเสือ เพื่อนำมาเป็นข้อมูลใช้ประเมินสถานการณ์ เพื่อนำมาวางแผนผลักดันให้เสือกลับเข้าป่าโดยด่วนที่สุดต่อไป




นางสาววีรยา  โอชะกุล ผอ. ส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ. 12(นครสวรรค์)

รายงาน สำเนา ทองศรี รายงาน 0613710441

ขับเคลื่อนโดย Blogger.