Header Ads

 


ชลบุรี - AIS ภาคตะวันออก จับมือ ม.เกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สานต่อโครงการ E-Waste คัดแยกขยะอิเล็กทรอนิกส์อย่างถูกวิธี



เมื่อวันที่ 23 กรกฏาคม 2563  ที่มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จังหวัดชลบุรี เอไอเอส  ภาคตะวันออก สานต่อโครงการเพื่อสิ่งแวดล้อม “คนไทยไร้ E-Waste” ผนึกมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา ร่วมเป็นภาคีเครือข่าย รณรงค์ สร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษารุ่นใหม่ ในการคัดแยกและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ไปทิ้งอย่างถูกวิธี

 นายประวิตร จิตรปัญญา หัวหน้าฝ่ายงานปฏิบัติการส่วนภูมิภาค ภาคตะวันออก เอไอเอส กล่าวว่า “ในฐานะ Digital Life Service Provider ที่มีเป้าหมายในการเป็นผู้ให้บริการด้านดิจิทัลที่ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ พร้อมร่วมดูแลรับผิดชอบต่อ สังคม เศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อมของประเทศให้พัฒนาและเติบโตไปพร้อมกัน ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาเราได้ให้ความสำคัญต่อการจัดการปัญหาขยะทุกประเภท พร้อมทั้งบูรณาการจัดทำโครงการที่เป็นรูปธรรมกับ
ทั้งพนักงานภายในและบุคคลทั่วไป รวมถึงขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ที่นับได้ว่าเป็นขยะอีกหนึ่งประเภทที่เรามุ่งมั่นค้นหาแนวทางในการคัดแยกและนำไปกำจัดอย่างถูกวิธีอย่างต่อเนื่อง เราจึงได้ตั้งโครงการ  “คนไทยไร้ E-Waste” ขึ้น โดยมีเป้าหมายในการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนทั่วไป
ให้สามารถนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ซึ่งประกอบไปด้วย โทรศัพท์มือถือ/แท็บเล็ต, แบตเตอรี่มือถือ, พาวเวอร์แบงก์, สายชาร์จและหูฟัง มาทิ้งได้ที่ถังรับ E-Waste ที่ AIS Shop ทั่วประเทศ, AIS Telewiz, ที่ทำการไปรษณีย์ไทย, ศูนย์การค้าเครือเซ็นทรัล, มหาวิทยาลัย, อาคารชุดและคอนโดต่างๆ รวมกว่า 1,800 จุด

  ปัจจุบันโครงการ “คนไทยไร้ E-Waste” สามารถรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ได้จำนวนทั้งสิ้น 54,678 ชิ้น เทียบเท่าการลดปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้ 546,780 กิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์
โดยทางเอไอเอส จะนำขยะ E-Waste ที่เก็บรวบรวมได้จากโครงการทั้งหมด ไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill (การจัดการขยะทำให้นำกลับมาใช้ประโยชน์ใหม่ให้เกิดมูลค่าได้อีกครั้ง)” 
ปัญหาขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) นับได้ว่าเป็นปัญหาใหญ่ของคนทั่วทั้งโลก ด้วยปริมาณขยะที่เพิ่มขึ้นอย่างก้าวกระโดดในทุกปี สวนทางกับปริมาณขยะที่ได้รับการกำจัดอย่างถูกวิธี  ขยะที่หลงเหลือเหล่านั้นอาจส่งสารพิษ กลับมาทำลายสุขภาพ และก่อให้เกิดผลเสียกับสิ่งแวดล้อมในระยะยาว เพื่อสานต่อความตั้งใจ ที่ตั้งเป้าลดปริมาณการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้ 5 ล้านกิโลกรัมคาร์บอนสมมูลย์ หรือเทียบเท่าการนำขยะ E-Waste ไปกำจัดอย่างถูกวิธีรวม 500,000 ชิ้น ภายในปี 2563
เอไอเอส ภาคตะวันออก รู้สึกยินดีและขอบคุณมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา
ที่ได้มาจับมือสานต่อภารกิจเพื่อสิ่งแวดล้อมร่วมกันในการเป็นเครือข่าย กระจายข่าวสารและบอกต่อ
ถึงวิธีการกาจัดขยะอิเล็กทรอนิกส์ให้ถูกวิธี โดยเอไอเอส ยินดีที่จะเป็นตัวกลางในการสร้างเครือข่าย ขับเคลื่อนความร่วมมือที่ดีๆ แบบนี้ทั่วภาคตะวันออก โดยเราหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา จะเป็นต้นแบบของมหาวิทยาลัยฯ ในภาคตะวันออก ที่มีการจัดการขยะอิเล็กทรอนิกส์เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีอย่างยั่งยืน (From Green Network to Green Society) ต่อไป”

ด้าน ผู้ช่วยศาสตราจารย์ น.สพ. เสรี กุญแจนาค รองอธิการบดีวิทยาเขตศรีราชา กล่าวถึงความร่วมมือในครั้งนี้ว่า “การผนึกกำลังร่วมกับ เอไอเอส ในครั้งนี้ มหาวิทยาลัยฯ จะเป็นสื่อกลาง ช่วยรณรงค์ เพิ่มองค์ความรู้และสร้างจิตสำนึกให้กับนักศึกษารุ่นใหม่รวมถึงบุคคลากร ในการคัดแยกและนำขยะอิเล็กทรอนิกส์ (E-Waste) ไปทิ้งอย่างถูกวิธี โดยจะทำการรวบรวมขยะอิเล็กทรอนิกส์ส่งมอบให้กับเอไอเอสได้นำไปกำจัดอย่างถูกวิธีด้วยกระบวนการ Zero Landfill เพื่อสิ่งแวดล้อมที่ดีและลดปริมาณขยะอิเล็กทรอนิกส์ตกค้างในประเทศได้อย่างยั่งยืน”

ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ภัทราวดี สุ่มทอง นาคมี คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา กล่าวว่า คณะวิทยาศาสตร์ ศรีราชา โดย ภาควิชาทรัพยากและสิ่งแวดล้อม มีความยินดีที่ได้ร่วมดำเนินการสร้างความตระหนักในการจัดการขยะอิล็กทรอนิกส์ ประเภทโทรศัพท์เคลื่อนที่และอุปกรณ์เสริม ซึ่งเป็นอันตรายที่อยู่ใกล้ตัวเราให้แก่นิสิตและบุคลากรของมหาวิทยาลัย เพื่อลดผลกระทบต่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการทิ้งขยะอิเล็กทรอนิกส์ที่ผิดวิธี รวมถึงสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการลดขยะอันตรายประเภทอิเล็กทรอนิกส์ เพื่อเสริมสร้างการมีส่วนร่วมในการจัดการขยะอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืนในมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชาต่อไป.


ยืนยงค์ ยินดีทรง/รายงาน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.