Header Ads

 


ระยอง-ผู้ว่าฯระยอง ประธานประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระยองเมืองอัจฉริยะ (Rayong Smart City)

วันพุธที่ 24 มิถุนายน 2563 เวลา 09.30 น.ณ ห้องภักดีศรีสงคราม ชั้น 4 ศาลากลางจังหวัดระยอง นายสุรศักดิ์ เจริญศิริโชติ ผู้ว่าราชการจังหวัดระยอง เป็นประธานการประชุมฯ
ตามคำสั่งจังหวัดระยอง ที่ 8867/2563 ลงวันที่ 19 มิถุนายน 2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการขับเคลื่อนระยองเมืองอัจฉริยะ (Rayong Smart City) โดยมี นายมนตรี ชนะชัยวิบูลวัฒน์ เข้าร่วมการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระยองเมืองอัจฉริยะ (Rayong Smart City) ครั้งที่1/2563
 และมี น.ส.พจณี อรรถโรจน์ภิญโญ
รองเลขาธิการสายงานวิชาการและแผน  EEC เข้าร่วมประชุมในครั้งนี้ด้วย
 สรุปผลการประชุมได้ดังนี้
1. เรื่องประธานแจ้งที่ประชุมทราบ
   1.1 รัฐบาลมีนโยบายในการขับเคลื่อนการพัฒนาเมือง โดยนำเทคโนโลยีมาปรับใช้ ซึ่งจังหวัดระยอง เป็น 1 ใน 3 จังหวัดในเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC : Eastern Economic Corridor) ซึ่งเป็นเป้าหมายสำคัญของการพัฒนาเป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ซึ่งหลายหน่วยงานมีแผนการดำเนินการในเรื่องดังกล่าวในพื้นที่จังหวัดระยอง
   1.2 ในขณะนี้การดำเนินโครงการสำคัญใน EEC เริ่มเป็นรูปธรรม หลายโครงการมีความคืบหน้าไปมาก ในส่วนของจังหวัดระยองได้ให้ความสำคัญในการนำเทคโนโลยีมาใช้พัฒนาเมือง โดยกำหนดวิสัยทัศน์ของจังหวัด คือ “เมืองนวัตกรรมก้าวหน้า พัฒนาอย่างสมดุล บนพื้นฐานความพอเพียง”
 มติที่ประชุมรับทราบ
 2. เรื่องรับรองรายงานการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนระยองเมืองอัจฉริยะ (Rayong Smart City) ครั้งที่ 1/2562 เมื่อวันที่ 23 สิงหาคม 2562 นั้น สำนักงานศูนย์ประสานงานเขตพื้นที่ภาคตะวันออก จังหวัดระยอง ในฐานะฝ่ายเลขนุการฯ ได้จัดทำรายงานการประชุมฯ และแจ้งเวียนให้คณะกรรมการฯ รับรองรายงานการประชุมฯ แล้ว ตามหนังสือจังหวัดระยอง ที่ รย 0017.2/ว 4905 ลงวันที่ 2 ตุลาคม 2562
มติที่ประชุมรับรอง
 3. เรื่องเพื่อติดตามความคืบหน้าผลการดำเนินงาน Smart City ในพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แก่
    3.1 สำนักงานส่งเสริมเศรษฐกิจดิจิทัล (DEPA) นำเสนอแนวทางการพัฒนาจังหวัดระยองสู่เมืองอัจฉริยะ ดังนี้
    3.1.1 ในปี 2562 ได้มีการจัดทำแผนขับเคลื่อนเมืองอัจฉริยะ โดยการยกระดับย่านเทศบันเทิง สู่การเป็นพื้นที่ศูนย์กลางการเรียนรู้และการดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Rayong Smart Learning & Living District)
    3.1.2 ในปี 2563 ได้มีการจัดทำโครงการนำร่องส่งเสริมดิจิทัลตามแผนพัฒนาเมืองอัจฉริยะ โดยมีการส่งเสริมการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีดิจิทัลผ่านมาตรการ Depa Fund ในพื้นที่ภาคตะวันออก
นายมนตรีฯ มีข้อเสนอแนะดังนี้
(1) ในการดำเนินโครงการต่างๆ ของ DEPA จะเสร็จทันปีงบประมาณ 2563 หรือไม่
(2) เสนอให้มีการประชาสัมพันธ์มากขึ้น และเพิ่มช่องทางในการเข้าถึงอย่างกว้างขวาง เช่น Application  ที่สามารถรองรับกับระบบปฏิบัติการต่างๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
(3) เสนอให้มีการฝึกอบรม Smart Citizen ของจังหวัดระยอง ในปี 2564 เป็นต้นไป
(4) เสนอให้มีการร่วมทุนระหว่างหน่วยงาน เพื่อนำมาใช้ในการดำเนินโครงการ
(5) การเพิ่มศักยภาพให้แก่กลุ่ม อสม. โดยการฝึกอบรมเพื่อสนับสนุนระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
  3.2 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า  พระนครเหนือ
    การนำเทคโนโลยีมาแก้ไขระบบเชื่อมโยงกล้องวงจรปิด แบ่งออกได้ 3 ระบบ ได้แก่
    3.2.1 ระบบแก้ไขกล้องวงจรปิดอัจฉริยะ
    3.2.2 ระบบเว็บและฐานข้อมูล
    3.2.3 ระบบ Dash Board
มติที่ประชุมรับทราบและดำเนินการตามข้อเสนอแนะ




 4. เรื่องเพื่อพิจารณา
   4.1 โครงการเมืองอัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ (บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน))
     บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ดำเนินโครงการพัฒนาพื้นที่วังจันทร์วัลเลย์ เพื่อเขตนวัตกรรมระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EECi@Wangchan Valley) ณ ตำบลป่ายุบใน อำเภอวังจันทร์ จังหวัดระยอง เพื่อให้เป็นเมืองอัจฉริยะ (Smart City) ประกอบด้วย 7 ด้าน ดังนี้
     4.1.1 สิ่งแวดล้อมอัจฉริยะ (Smart Environment)
     4.1.2 เศรษฐกิจอัจฉริยะ (Smart Economy)
     4.1.3 ขนส่งอัจฉริยะ (Smart Mobility)
     4.1.4 พลังงานอัจฉริยะ (Smart Enegy)
     4.1.5 พลเมืองอัจฉริยะ (Smart People)
     4.1.6 การดำรงชีวิตอัจฉริยะ (Smart Living)
     4.1.7 การบริหารภาครัฐอัจฉริยะ (Smart Governance)
     โครงการเมือง อัจฉริยะวังจันทร์วัลเลย์ พร้อมเปิดดำเนินการในปี พ.ศ.2563 สาธารณูปโภคเพื่อให้เป็นเมืองอัจฉริยะ ทั้งสิ้นประมาณ 3,100 ล้านบาท
นายมนตรีฯ มีข้อเสนอแนะ ดังนี้
(1) เสนอให้ EECi ส่งข้อมูลไปยังสถาบันการศึกษาให้ผลิตบุคลากรเพื่อมาทำงานวิจัยและพัฒนารวมทั้งทำงานนวัตกรรม เนื่องจากโครงการ EECi จะแล้วเสร็จและเริ่มปฏิบัติงานได้ในปี2565
   4.2 โครงการเมืองอัจฉริยะบ้านฉาง (Ban-chang Smart City)
          “เมืองแห่งธุรกิจและการพักอาศัยสมัยใหม่” โดยการเตรียมเมืองให้พร้อมสำหรับการเป็นเมืองแห่งธุรกิจและการพักอาศัยสมัยใหม่ เพื่อรองรับอุตสาหกรรม การบิน และการท่องเที่ยว ตามนโยบายเขตพัฒนาพิเศษภาคตะวันออก (EEC) โดยนำเทคโนโลยีมาใช้ในการสร้างสรรค์กิจกรรมต่างๆ ของเมือง
   4.3 โครงการนำร่องติดตั้งเครื่องตรวจวัดคุณภาพอากาศด้วยระบบดิจิทัล เพื่อการตัดสินใจและส่งเสริมการพัฒนาเมืองอัจฉริยะทางด้านสิ่งแวดล้อม จังหวัดระยอง (เทศบาลนครระยอง)
         การติดตั้งเซนเซอร์ตรวจวัดคุณภาพอากาศอัจฉริยะ 5 โรงเรียน ในเขตพื้นที่จังหวัดระยอง ได้แก่ โรงเรียนบ้านมาบตาพุด โรงเรียนอนุบาลระยอง โรงเรียนวัดตากวน โรงเรียนวัดมาบขลูด และโรงเรียนวัดปลวกเกตุ โดยจะนำข้อมูลมาวิเคราะห์และรับมือกับวิกฤติทางอากาศ  เพื่อประเมินกิจกรรมกลางแจ้งของนักเรียนภายในโรงเรียน
   4.4 Smart Pole (เทศบาลนครระยอง)
         บริษัท เบญจจินดา เสนอระบบ Digital Ecosystem ที่ประกอบด้วย
1. Digital Service
2. Digital Platform
3. Digital Infrastructure
ซึ่งเป็นระบบที่นำเอาเทคโนโลยีและนวัตกรรมที่ทันสมัยอย่างชาญฉลาด มาเพิ่มประสิทธิภาพของการให้บริการและการบริหารจัดการเมือง
 มติที่ประชุมรับทราบ
 5. เรื่องอื่นๆ
นายมนตรีฯ มีข้อเสนอแนะเพิ่มเติม ดังนี้
(1) เสนอให้ Depa ร่วมกับ จ.ระยอง จัดทำ City Data Platform โดยเชิญ Start up ของ จ.ระยอง มาร่วมด้วย
มติที่ประชุมรับทราบ ประธานฯได้สั่งการให้ฝ่ายเลขานุการฯไปแต่งตั้งคณะทำงานเฉพาะด้านตามข้อเสนอแนะของรองเลขาธิการ สกพอ.
ปิดการประชุม เวลา 12.25 น.

ธีรวัฒน์ อินธิพันธ์ รายงาน
ขับเคลื่อนโดย Blogger.