Header Ads

 


เตือนแรงงานไทยในมาเลเซีย!อย่าหลงเชื่อมิจฉาชีพว่าสามารถนำกลับประเทศไทยได้ รายงานโดยทีมข่าวเฉพาะกิจ

06 เมษายน 563 จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ทั้งในมาเลเซียและประเทศไทยทำให้ทั้งสองประเทศกำลังประสบกับปัญหาจำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ในประเทศมาเลเซีย ณ ตอนนี้ผู้ติดเชื้อทะลุ 3,662 ราย เสียชีวิต 61 ราย จำนวนผู้ติดเชื้อในไทยวันนี้ 2,067 รายเสียชีวิต 20 ราย และสถานการณ์อาจจะรุนแรงมากขึ้น โดยมีปัจจัยมาจากการเดินทางกลับจากต่างประเทศของประชาชนของทั้งสองประเทศ ดังนั้นมาตรการปิดประเทศของไทยโดยนายกรัฐมนตรี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา แถลงในการประกาศเคอร์ฟิวในตอนหนึ่งว่า ขอให้ผู้ที่จะเดินทางกลับจากต่างประเทศขอให้ชะลอการเดินทางจนวันที่ 15 เมษายน 2563 และคำแถลงของนายกในครั้งนั้น สอดคล้องกับหนังสือที่ออกโดยสถานทูตไทยประจำกรุงกัวลาลัมเปอร์เมื่อวันที่ 1  เมษายน ขอให้ชะลอการเดินทางเข้าประเทศทั้ง 9 ด่านทางบกในภาคใต้ระหว่างวันที่ 1-15 เมษายน และออกหนังสื่ออีกฉบับเมื่อวันที่ 3  เมษายนหลังจากนายกประกาศเคอร์ฟิว
 จากคำสั่งดังกล่าวและคำประกาศของนายกรัฐมนตรีทำให้คนไทยจำนวนหนึ่งที่มีเอกสารอนุญาตจากสถานทูตและมีใบรับรอง Fit To Fly ได้เดินทางจากเคแอลในตอนค่ำขอวันที่ 2  เมษายน และถึงด่าน Bukit Kayu Hitam ที่ติดกับชายแดนด่านนอก อำเภอสะเดา จังหวัดสงขลาในเช้าวันที่ 3 เวลา 04.00 น แต่ต้องติดที่ด่าน Bukit Kayu Hitam รัฐเคดาห์ไม่สามารถเข้าประเทศไทยได้ ถึงแม้ในคำสั่งของนายกจะเริ่มประกาศเคอร์ฟิวเริ่ม 4 ทุ่มในวันที่ 3  เมษายนก็ตาม จากเหตุการณ์ดังกล่าวได้สร้างความผิดหวังให้กับแรงงานไทย เพราะไม่มีเจ้าหน้าที่คนใดในจังหวัดสงขลา กล้าขัดคำสั่งนายกรัฐมนตรี ทำให้สถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์ ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบโดยตรงกับการออกหนังสืออนุญาตให้แรงงานไทยเดินทางกลับหนึ่งวันก่อนนายกประกาศเคอร์ฟิว ต้องเช่าเหมารถบัสจำนวนสามคันเพื่อนำคนไทยกลับไปยังกัวลาลัมเปอร์ และส่งกลับไปยังที่พักตามร้านอาหารในกัวลาลัมเปอร์และใกล้เคียง จากเหตุการณ์ในครั้งนี้ทำให้เกิดเสียงวิภาษณ์วิจารณ์ในกลุ่มชมรมต้มยำและเจ้าหน้าที่มาเลเซียว่า เกิดอะไรขึ้นกับแรงงานไทยกลุ่มดังกล่าวที่เดินทางอย่างถูกต้องและถึงหน้าด่านไทยแล้วก่อนถึงเวลาการประกาศเคอร์ฟิว 
       เมือวันที่ 4 เมษายนยังมีแรงงานไทยจำนวน 32 คนที่เดินทางทางโดยรถบัสจากกัวลาลัมเปอร์  มีสภาพไม่แตกต่างอะไรจากแรงงานกลุ่มแรกคือถูกลอยแพ และแรงงานกลุ่มนี้เดินทางโดยไม่มีใบรับรองจากสถานเอกอัครราชทูตและใบ Fit To  Fly ในการเดินทางจากกัวลาลัมเปอร์ โดยกลุ่มเหล่านี้อาจจะมีคนชักนำโดยบอกว่าสามารถนำพากลับไทยได้ แต่ในที่สุดก็ถูกลอยแพที่จังโหลงก่อนถึงด่านบูกิตการยูฮีตัม และท้ายสุดทางสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กัวลาลัมเปอร์ได้เช่ารถบัสรับกลุ่มดังกล่าวกลับเคแอล ตามหน้าทีความรับผิดชอบในฐานะตัวแทนประเทศไทยที่จะไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง โดยถึงกัวลาลัมเปอร์ในเวลา 15.00 น ตามเวลาในมาเลเซีย ทางสถานเอกอัครราชทูตได้แจกอาหารกล่อง ถุงยังชีพ หน้ากากอนามัยก่อนจะส่งกลับไปยังที่พัก ในกลุ่มนี้มีเด็กหลายคน และต่างอยู่ในสภาพที่อิดโรยเพราะไม่ได้ทานอาหารและเหนื่อยล้าจากการเดินทาง 
นายตูแวดานียา มือรีงิง ประธานคณะกรรมการเฉพาะกิจช่วยเหลือคนไทยในประเทศมาเลเซียได้กล่าวว่า คณะกรรมการฯได้มีการประชุมติดตามความเคลื่อนไหวด้านสถานการณ์ในมาเลเซียวันต่อวัน และติดตามงานการรวบรวมรายชื่อผู้ได้รับผลกระทบจากโควิค 19  เพื่อง่ายต่อการให้การช่วยเหลือโดยมีตัวแทนชมรมต้มยำในเคแอลเป็นกำลังหลักในเรื่องการสนับสนุนอาสาสมัคร
 “ณ ตอนนี้เรามีชื่อผู้ที่ลงทะเบียนผ่านระบบที่ทางคณะกรรมการฯได้ออกรณรงค์ตอนนี้มีผู้ลงทะเบียนแล้วกว่า 1200 คน และรายชื่อบางส่วนจำนวน 676  คนได้ส่งไปยังสถานทูตเพื่อการช่วยเหลือผู้ที่เดือดร้อนจริงๆในเบื้อต้น และจะทยอยส่งการช่วยเหลือต่อไปให้ถึงมือผู้ได้รับผลกระทบภายในระยะเวลาอันใกล้ ตอนนี้เรามีผู้ที่อยู่หน้างานที่เป็นอาสาสมัครซึ่งเป็นสามชิกของชมรมต้มยำในแต่ละรัฐเช่น รัฐสลางอ ยะฮ์โฮบารู เคดาห์ และรัฐอื่นๆ ” ตูแวดานียา กล่าว
 ตูแวดานียา ยังกล่าวอีกว่าเราพบปัญหาอุปสรรคมากมายในการช่วยเหลือคือเนื่องจากกลุ่มแรงงานเหล่านี้อยู่กระจัดจ่ายในแต่ละรัฐทั่วมาเลเซีย ปัญหาใหญ่คือข้อจำกัดในการเดินทางของอาสาสมัครที่จะไปมอบปัจจัยยังชีพ ดังนั้นเพื่อแก้ปัญหาในเรื่องนี้ ทางชมรมต้มยำที่เป็นคณะกรรมการเฉพาะกิจประสานงานกับตัวแทนในแต่ละรัฐโดยให้ทางสถานทูตออกหนังสือรับรองว่าเป็นอาสาสมัครของไทยในการช่วยเหลือคนไทยที่เดือดร้อน
ด้านนายรุสมาดี สาและ ประธานชมรมต้มยำกล่าวว่านอกจากเงินที่ได้รับการสนับสนุนจากสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์จำนวน 3000 ริงกิต ทางชมรมต้มยำเองได้ขอบริจาคจากสมาชิกชมรมฯเพื่อช่วยเหลือแรงงานไทยที่เดือดร้อนในแต่ละรัฐที่มีสมาชิกอยู่เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้นไปก่อน”  นายรุสมาดีกล่าว
 ในที่ประชุมของวันนี้ได้เสนอการระดมความช่วยเหลือ จะประสานกับหลายหน่วยงาน และตั้งอนุกรรมการอีกหลายชุดเพื่อช่วย คกก. ชุดใหญ่ เพื่อทำหน้าที่ประสานกับหน่วยงานของรัฐในพื้นที่ ไม่ว่าจะเป็นผู้ว่าราชการจังหวัดในห้าจังหวัดภาคใต้ กรณีที่มีแรงงานไทยเดินทางกลับประเทศหลังจากวันที่ 15 เมษายน ประสานงานช่วยเหลือจาก ศอ.บต. และหน่วยทหารเพื่ออำนวยความสะดวกด้านต่างๆในอนาคต  และจะประสานกับรัฐบาลมาเลเซียแจ้งถึงกิจกรรมความช่วยเหลือแรงงานต้มยำที่ตกค้างต่อไป โดยผ่านทางสำนักงานกงสุลใหญ่ประจำเมืองโกตาบารู กลันตัน กงสุใหญ่ประจำรัฐปีนังและสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์
 ในที่ประชุมมีมติให้มีการเผยแพร่ แชร์เรื่องอย่าหลงเชื่อคนที่ชักชวนจะพาเข้าไทยได้ เพราะด่านทางบกปิดทุกด่านแล้ว ต้องรอด่านเปิดอีกครั้งวันที่ 16 เมษายนนี้เท่านั้นเนื่องจากยังมีแรงงานไทยโดนมิจฉาชีพหลอกว่าสามารถพากลับไทยได้โดยผ่านช่องทางธรรมชาติแต่ต้องจ่ายเงินในจำนวนทีค่อนข้างสูงและท่านอาจจะถูกจับเสียค่าปรับและติดตาราง


ภาพข่าว อับดุลหาดี  เจ๊ะยอ  จ.ยะลา
ขับเคลื่อนโดย Blogger.