ชลบุรี - ทลฉ.จัดสัมมนา (Market Sounding) โครงการท่าเทียบเรือ A1 ครั้งที่ 2 รับฟังความคิดเห็นภาคหน่วยงานและประชาชนที่อยู่โดยรอบ
ที่ ห้องประชุม Ballroom 1 โรงแรมฮอลิเดย์ อินน์ แอนด์ สวีท ศรีราชา อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี ท่าเรือแหลมฉบัง ซึ่งอยู่ระหว่างการดำเนินโครงการศึกษาและวิเคราะห์โครงการตามข้อกำหนดในพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 โครงการท่าเทียบเรือ A1 ได้จัดโครงการประชุมรับฟังความเห็นประชาชนเพื่อประโยชน์ในการดำเนินการศึกษาและทบทวนรูปแบบการร่วมลงทุนระหว่างภาครัฐ และเอกชน (PPP) ตลอดจนการวิเคราะห์ และประเมินผลตอบแทนการลงทุนทางด้านการเงิน เศรษฐศาสตร์ รวมถึงการศึกษาของด้านสิ่งแวดล้อมของโครงการในส่วนของภาครัฐ และเอกชน
โดยมี นายเทียนชัย มักเที่ยงตรง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานสนับสนุน ท่าเรือแหลมฉบัง เป็นประธานเปิดโครงการ และมีคณะผู้บริหารท่าเรือแหลมฉบัง หน่วยงานภาครัฐ และตัวแทนจากชุมชนในพื้นที่โดยรอบท่าเรือแหลมฉบังเข้าร่วม
ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานสนับสนุน ท่าเรือแหลมฉบัง เผยว่าวัตถุประสงค์ของการจัดโครงการรับฟังความเห็นประชาชน ซึ่งจัดขึ้นเป็นครั้งที่ 2 ก็เพื่อครั้งรับฟังข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะจากภาคประชาชนในชุมชนต่างๆ ที่อยู่โดยรอบท่าเรือแหลมฉบัง เกี่ยวกับการจัดทำ EIA ต่างๆรวมถึงภาคส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง
สวนโครงการประชุมรับฟังความเห็นในครั้งแรกที่จัดขึ้นเมื่อวันที่ 5 ส.ค.2567 ที่ผานมา เป็นรูปแบบของ Market Sounding ที่มีกลุ่มเป้าหมายเป็นนักลงทุนเพื่อที่จะได้ทดสอบความสนใจในการเข้ามาร่วมลงทุนในโครงการพัฒนาท่าเรือ A1 ตามข้อกำหนดในการร่วมทุนระหว่างภาครัฐและเอกชน ปี 2562
" ท่าเรือแหลมฉบัง จะนำผลสรุปจากการประชุมรับฟังความคิดเห็นทั้ง 2 ครั้งกลับมาวิเคราห์ถึงผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการดำเนิรโครงการท่าเทียบเรือ A1 ซึ่งจะนำมาสู่การกำหนดมาตรการที่เหมาะสมในการป้องกันผลกระทบต่างๆที่จะเกิดขึ้น" นายเทียนชัย มักเที่ยงตรง ผู้อำนวยการสำนักบริหารงานสนับสนุน ท่าเรือแหลมฉบัง กล่าว
สำหรับท่าเทียบเรือ A 1 เป็นท่าเทียบเรือรองรับเรือชายฝั่งและเรือท่องเที่ยว ซึ่งจะสิ้นสุดสัญญาสัมปทานในเร็วๆนี้ ซึ่วก่อนจะสิ้นสุดสัญญาต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติการร่วมทุนระหว่างรัฐและเอกชน พ.ศ. 2562 เพื่อให้ถูกต้องตามกฎระเบียบของรัฐบาล
ขณะที่ปัจจุบันท่าเรือแหลมฉบัง ในส่วนของท่าเทียบเรือเฟส 1 และ 2 ที่มีขีดความสามารถในการรองรับตู้สินค้าทั้งสิ้น 11 ล้านTEU พบว่าใกล้เต็มศักยภาพเต็มที่จนต้องมีการพัฒนาท่าเรือฯ ในเฟสที่ 3 เพื่อเพิ่มขีดความสามารถในการรองรับตู้สิ้นค้าให้ได้อีก 7 ล้าน TEU รวมเป็น 18 ล้านTEU ให้ได้ในอีก 4 ปีข้างหน้า เพื่อรองรับเรือสินค้าที่มีขนาดใหญ่ เช่น เรือซุปเปอร์โพสพาราแม็ก ให้สามารถเข้าเทียบท่าได้
นอกจากนั้นในโครงการพัฒนาท่าเรือแหลมฉบัง เฟส 3 ยังมีเส้นทางรถไฟที่สามารถเข้าได้ทั้ง 2 ด้าน ทั้งด้านฝั่งซ้ายคือ ท่าเรือฝั่ง F และด้านฝั่งขวาคือ ท่าเรือฝั่ง E ซึ่ง ที่จะสามารถรองรับตู้สินค้าได้จำนวน 4 ล้านTEU และยังจะช่วยลดต้นทุนด้านโลเจตสิกส์ของไทยได้อย่างมหาศาล