Header Ads

 


เมืองตาคลี​ รณรงค์​ "365 วัน​ นครสวรรค์​ขับขี่​ปลอดภัย"

วันที่​ 21 ธันวาคม​ 2565​ เมื่อ​ 09.00 น​ นาย​จุมพฏ​ วรรณ​ฉัตร​สิริ​ รองผู้​ว่าราชการ​จังหวัด​นครสวรรค์​ เป็น​ประธาน​เปิดกิจกรรมรณรงค์​"365​ วัน​ นครสวรรค์​ขับขี่​ปลอดภัย" และการรณรงค์​การสวมหมวกนิรภัย​ 100​ เปอร์เซ็นต์​ ณ​ บริเวณถนนพหลโยธิน​ ช่องทางขาเข้าอำเภอตาคลี​ ระดับอำเภอ​ ของอำเภอตาคลี​   นายอรรถการณ์​ จิตถวิล​ นายอำเภอตาคลี​ ปภ.จังหวัด​นครสวรรค์​ ภาคีเครือข่ายความปลอดภัยทางถนนในระดับจังหวัดและพื้นที่ ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ตำรวจ​ กรอ​ รมน.นักเรียน นักศึกษา อาสาสมัครกู้ชีพกู้ภัย​ อปพร. เจ้าหน้าที่เทศบาลเมืองตาคลี มูลนิธิการกุศลตาคลี และผู้เข้าร่วมรณรงค์​ ร่วมให้การต้อนรับ​ ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนจังหวัดนครสวรรค์ ได้กำหนดให้มีวาระสำคัญของจังหวัดนครสวรรค์ "365 วัน​ นครสวรรค์ขับขี่ปลอดภัย" และให้หน่วยงานราชการดำเนินการรณรงค์ป้องกันและลดอุบัติเหตุทางถนนอย่างต่อเนื่อง และให้ทุกพื้นที่เป็นพื้นที่การสวมหมวกนิรภัย 100% รวมทั้งให้บริการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยเน้นให้ข้าราชการพนักงาน เจ้าหน้าที่ทุกหน่วยงาน ผู้นำองค์กร และผู้นำชุมชน ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดี ในการปฏิบัติตามกฎจราจร โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย ทุกครั้งที่มีการขับขี่รถจักรยานยนต์ รวมทั้งการประชาสัมพันธ์ ผ่านทาง Social media และสื่อประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ ศูนย์ปฏิบัติการความปลอดภัยทางถนนอำเภอตาคลี ได้เล็งเห็นความสำคัญ จึงได้จัดกิจกรรมรณรงค์ "365 วัน​ นครสวรรค์ขับขี่ปลอดภัย" และการรณรงค์การสวมหมวกนิรภัย 100% ขึ้นในวันนี้ เพื่อสร้างความตระหนักถึงการรับรู้ ในการป้องกันและลดการเกิดอุบัติเหตุในพื้นที่ สืบเนื่องจากอำเภอตาคลี ผู้เสียชีวิตและผู้ได้รับบาดเจ็บจากอุบัติเหตุบนท้องถนนเกินเป้าหมาย ที่กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยกำหนด สำหรับเป้าหมายของจังหวัดนครสวรรค์ มีผู้เสียชีวิตไม่เกิน 248 คนในปี​ พ.ศ.2565 ไม่เกิน 220 คนในปี 2566 และให้ผู้เสียชีวิตไม่เกิน 107 คนในปี 2570 โดยจากข้อมูลตั้งแต่เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2565 รวม​ 11​ เดือน​ มีผู้เสียชีวิตในจังหวัดนครสวรรค์ไปแล้วถึง 273 คน และในพื้นที่อำเภอตาคลีถึง 24 คน คิดเป็น 26.11 ต่อประชากรแสนคน ซึ่งสูงกว่าค่าเป้าหมาย 24.09 ต่อประชากรแสนคน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความสูญเสียจากอุบัติเหตุทางถนนเช่นนี้ขึ้น​ การสร้างความร่วมมือของทุกภาคส่วนจึงมีความสำคัญยิ่ง ต้องเริ่มต้นระดับครอบครัว ชุมชน จนถึงระดับพื้นที่ในการขับเคลื่อน ผลักดันทุกมาตรการในพื้นที่อย่างเข้มแข็งและจริงจัง ทั้งมาตรการการบังคับใช้กฎหมายมาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านถนนและสิ่งแวดล้อม มาตรการการลดปัจจัยเสี่ยงด้านยานพาหนะ มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์และการสร้างการมีส่วนร่วม รวมทั้งมาตรการด้านการช่วยเหลือหลังเกิดเหตุ โดยเฉพาะความร่วมมือของภาคอาสาสมัครและพี่น้องประชาชนที่จะเป็นฟันเฟืองสำคัญให้เกิดความต่อเนื่องและยั่งยืน💦💦ต้อย​ รอบ​รั้ว​ภูธร​0619782952​💦
ขับเคลื่อนโดย Blogger.