Header Ads

 


ชุมพร - สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร เร่งควบคุมสถานการณ์โรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ

 



ชุมพร - สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร เร่งควบคุมสถานการณ์โรคปากและเท้าเปื่อย ในโค กระบือ


วันที่ 9 กันยายน 2565  นายสมศักดิ์  จิตตวิสุทธิวงศ์ ปศจ.ชุมพร,หัวหน้ากลุ่ม,ด่านกักกันสัตว์ชุมพร,ปศอ.ท่าแซะ  ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ร่วมกับนายสัตวแพทย์พิชัย  โพธิ์กระสังข์ หัวหน้ากลุ่มพัฒนาสุขภาพสัตว์ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพร พร้อมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจติดตาม สถานการณ์โรคปากและเท้าเปื่อยและโรคอื่นๆในพื้นที่จังหวัดชุมพรสอบสวนโรค FMD พ่นยาฆ่าเชื้อ รักษาสัตว์ป่วย  ที่ ม.4 ต.ทรัพย์อนันต์


เมื่อวันที่ 31 สิงหาคม2565  เวลา 13.30 น.สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรได้รับแจ้งจากปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ ว่ามีโคเนื้อในพื้นที่ป่วยเป็นโรคปากและเท้าเปื่อย ของนายสุทพ หมื่นแก้ว บ้านเลขที่  84 ม.4ตำบลทรัพย์อนันต์ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร และมีอีก 4 –5 รายที่เป็นโรคในลักษณะอาการเดียวกัน ดังนั้นสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรนำโดยท่านปศุสัตว์จังหวัด(นายสมศักดิ์  จิตตวิสุทธิวงศ์)พร้อมเจ้าหน้าที่จากสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด  ปศุสัตว์อำเภอท่าแซะ และด่านกักสัตว์ชุมพรได้มีการบูรณาการร่วมกันลงพื้นที่อย่างเร่งด่วนในการแก้ไขปัญหาให้กับปศุสัตว์ของเกษตรกรที่เกิดโรค ในวันที่1 กันยายน 2565 เวลา 9.30 น.โดยได้ดำเนินการ เข้าไปในพื้นที่ฟาร์มเกษตรกรที่เกิดโรคทุกรายที่ได้รับการแจ้งว่ามีโคป่วย ทำการสอบสวน สืบสวนโรค ทำการรักษาสัตว์ป่วย ฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อ แจกเวชภัณฑ์ฆ่าเชื้อให้กับเกษตรกร กำชับให้ด่านกักกันสัตว์ชุมพรตั้งจุดสกัด สืบหาข่าวและฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อรถทุกคันที่เป็นพาหะของเชื้อที่ผ่านเข้า ออก ในทุกเส้นทางที่คาดว่าอาจจะมีการลักลอบเคลื่อนย้ายในช่วงระยะเวลาระหว่างที่เกิดโรค ทำความเข้าใจมาตรการควบคุมโรคให้กับเกษตรกรในพื้นที่และได้ทำการประกาศเขตโรคระบาดชั่วคราว ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 ในวันที่ 1 กันยายน 2565


สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดชุมพรเข้าดำเนินการควบคุมโรค หน่วยเฉพาะกิจจังหวัดประสานอำเภอและด่านกักสัตว์เข้าดำเนินการในการควบคุมโรคในทันที โดยการรักษาสัตว์ที่แสดงอาการร่วมฝูง ฉีดวัคซีนป้องกันโรค พร้อมทั้งทำการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อบริเวณฟาร์มที่เกิดโรคและพื้นที่บริเวณโดยรอบเฝ้าระวังในเรื่องของการเคลื่อนย้ายโคออกนอกพื้นที่และการเดินทางเข้าออกของเจ้าของสัตว์และคนร่วมบ้าน ร่วมกับการควบคุมยานพาหนะและบุคคลเข้า – ออกภายในฟาร์มที่เกิดโรคอย่างเคร่งครัด  เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่เฝ้าระวังและติดตาม อาการป่วยของโคเนื้อ ในหมู่บ้านที่เกิดโรคระบาดเพื่อวางมาตรการในการป้องกันโรคเช่น การให้ยาปฏิชีวนะและยาบำรุงในโคเนื้อที่แสดงอาการป่วย ประชาสัมพันธ์ประสานผู้นำท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น ให้มีการเฝ้าระวังโรคปากและเท้าเปื่อยอย่างต่อเนื่อง

เชื้อปากและเท้าเปื่อยเป็นเชื้อไวรัส สามารถติดต่อได้ผ่านสารคัดหลั่ง น้ำมูก น้ำลาย มูล ปัสสาวะ สามารถติดต่อจากการสัมผัส ผ่านเสื้อผ้า รองเท้า ล้อรถ กระสอบอาหาร สัตว์พาหะ สามารถฆ่าได้โดยน้ำยาฆ่าเชื้อที่มีระยะสัมผัสเกิน 30 นาที

โค กระบือ แพะแกะ สุกรในรัศมี 5 กม.ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์(ทั้งป่วยและไม่ป่วย)และซากสัตว์(ตาย)เข้าออกเขตประกาศโรคระบาดชั่วคราวเป็นเวลา 30 วัน สัตว์ตายต้องฝังต่ำกว่าผิวดินอย่างน้อย 50 เซนติเมตร พร้อมกับฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อแลโรคปูนขาวในพื้นที่ฝังกลบ เน้นระบบป้องกันโรค ห้ามบุคคลภายนอกเข้าออกฟาร์ม โดยเฉพาะ รถพ่อค้า รถขนอาหาร หมอ เพื่อนบ้าน  เฝ้าระวังจุดเสี่ยงที่สัมผัสเชื้อร่วมกัน เช่น แปลงหญ้าเดียวกัน รถตัดปาล์ม แหล่งน้ำธรรมชาติ หากพบสัตว์ป่วยด้วยอาการ น้ำลายไหลย้อย ไม่กินอาหาร เจ็บกีบ เป็นตุ่มพุพองบริเวณปากหรือกีบ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์


แผนการควบคุมโรคในพื้นที่ 1.ชุดรักษา –โดยสำนักงานปศุสัตว์จังหวัด เข้ารักษารายตัว สนับสนุนเวชภัณฑ์ ติดตามอาการอย่างต่อเนื่อง 2.ชุดควบคุมการเคลื่อนย้าย -โดยด่านกักกันสัตว์ชุมพร ตั้งจุดสกัด และวางผ้าปูน้ำยาฆ่าเชื้อ และฉีดพ่นน้ำยาฆ่า  เชื้อรถเคลื่อนย้ายฟาร์มเกษตรกรที่เกิดโรค 3.ชุดทำวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อยเพื่อการควบคุมโรค โดยการบล็อกรัศมี 5 กม.จากจุดเกิดโรค จาก 5 กม.เข้ามา 1 กม.  ในวันที่ 6-9 ก.ย.2565ในพื้นที่ ต.ทรัพย์อนันต์ ม.1,2,3,5,6 ต.หงษ์เจริญ ม.1 ,8 และ ต.คุริง ม.1,2,3 รวม 1,040 ตัว โดยวางแผนทำวัคซีนเพิ่มในจุด ต.ท่าแซะ คุริง สองพี่น้องในลำดับถัดไป 4.ชุดสืบข่าวในพื้นที่ เจ้าหน้าที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ เรื่องการเคลื่อนย้าย และค้นหาสัตว์ป่วยเพิ่มเติม

ธนากร โกสลเมธีรายงาน 0818923514








ขับเคลื่อนโดย Blogger.