Header Ads

 


กองพันทหารช่างที่ 4 ค่ายจิรประวัติ จัดโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดระบบสมัครใจ( ศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครสวรรค์)

จังหวัดนครสวรรค์ โดยศูนย์อำนวยการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดจังหวัดนครสวรรค์ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดระบบสมัครใจ หรือศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครสวรรค์ รุ่นที่ 8 ระหว่างวันที่ 12 ถึง 13 กันยายน 2563 ณ.กองพันทหารช่างที่ 4 ค่ายจิรประวัติ​ อำเภอเมือง​ จังหวัดนครสวรรค์​ โดยมี พลตรีอนุสรณ์​ สิงห์โต ผู้บัญชาการมณฑลทหารบกที่ 31 เป็นประธานเปิดโครงการแก้ไขปัญหายาเสพติดระบบสมัครใจ ศูนย์ปรับเปลี่ยนพฤติกรรม( ศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครสวรรค์)​ รุ่นที่ 8 โดยมีผู้เข้ารับอบรม ทั้งหมด 223 คน​ จาก 15 อำเภอของ​ จังหวัดนครสวรรค์ที่สมัครใจเข้ารับการอบรม

ดร. สุวัฒน์ โชคสุวัฒนสกุล ที่ปรึกษาสำนักงาน​ ป.ป.ส. ทำหน้าที่ผู้อำนวยการศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครสวรรค์ เผยว่า จังหวัดนครสวรรค์ ถือได้ว่าเป็นจังหวัดต้นแบบ ในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ให้กับเยาวชนที่หลงผิด​ และเป็นต้นแบบ ให้กับหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดต่าง​ ๆ​ ้ข้ามาดูการอบรมในการแก้ไขปัญหายาเสพติด เพื่อนำไปต่อยอดให้กับจังหวัดนั้นๆ​ ซึ่งการอบรมศูนย์ขวัญแผ่นดินได้ยึดแนวความคิด" ดูแลผู้รับการอบรมอย่างลูกหลาน และที่สำคัญต้องทำให้เขาเชื่อมั่นและศรัทธาในตัวผู้นำโดยการสร้าง สัมพันธ์ระหว่างวิทยากร ครูฝึกเพื่อนำไปสู่เป้าหมายสูงสุด ในการเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติด" โดยเน้นการใช้จิตวิทยาในการดูแล ช่วยเหลือเปรียบดังลูกหลาน คืนศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์แก่ผู้เข้ารับการอบรมและให้กับคืน คนดีสู่สังคม ซึ่งจะมีการฝึกกระบวนการจิตสังคมบำบัด เกี่ยวกับโทษพิษภัยยาเสพติด สมองติดยา การจัดการกับตัวกระตุ้น ทักษะการปฏิเสธ การสำรวจตัวเอง การทำหน้าที่ของครอบครัว และการมองอนาคต โดยใช้ผู้ที่เคยมีพฤติกรรมเกี่ยวข้องกับยาเสพติดแล้วเลิกได้จนสามารถอยู่ในสังคมได้อย่างปกติสุข เมียอาชีพกลางงานดูแลครอบครัวได้เป็นอย่างดีมาเป็นแบบอย่าง การสร้างความคิดฝึกสมาธิ การฟัง การกระตุ้นให้มองเห็นคุณค่าและศักยภาพของตนเอง การระดมความคิด ฟื้นฟูสมองและร่างกายของผู้เข้ารับอบรม การสร้างกำลังใจ การเรียนรู้ระเบียบวินัย คุณธรรม จริยธรรม ให้เป็นประโยชน์ต่อสังคม และสามารถ ลด​ ละ​ ​เลิก​ ยาเสพติดได้คืนคนดีสู่สังคม สร้างอุดมการณ์แนวร่วมในการพัฒนาประเทศ


ซึ่งในการจัดฝึกอบรม ศูนย์ขวัญแผ่นดินจังหวัดนครสวรรค์​ นี้ ทำให้ผู้เข้ารับการอบรมหยุดการใช้ยาเสพติด ในระหว่างการอบรมฯ ก่อให้เกิดการฟื้นฟูสมรรถภาพร่างกายและจิตใจ มีความพร้อมในการเรียนรู้และสามารถรับรู้ระหว่างการอบรมฯ​ ได้มากขึ้น​ นำไปสู่การเลิกเกี่ยวข้องกับยาเสพติด เสริมสร้างความมั่นใจในทักษะในการฝึกอบรมฯ มองค่ายศูนย์ขวัญแผ่นดินจากการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง ทั้งด้านบริหารจัดการ ด้านการบำบัดฟื้นฟู รู้จักการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด ซึ่งระหว่างการบำบัด การแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่จะลดลง เป็นการตัดวงจรการค้าและการเสพยาเสพติด​ชั่วคราว​ และภายหลังบำบัดเสร็จแล้ว ถ้าทุกคนสามารถเลือกได้ก็จะเป็นการตัดวงจรการค้าและการเสพยาเสพติดแบบถาวร และที่สำคัญ โครงการดังกล่าวสามารถเก็บข้อมูลด้านการข่าวผู้ค้า ผู้เสพ และผู้รับการบำบัด ได้เป็นจำนวนมาก และสามารถนำไปสู่การป้องกันและปราบปรามในที่สุด ทำให้ยาเสพติดลดลงอย่างมาก ไม่เคยมีการวิสามัญฆาตกรรมแต่อย่างใด และเป็นแบบอย่างได้ ในลักษณะการ เข้าใจ เข้าถึง และพัฒนา







ภาพ/ข่าว อัมพณ​ news13

ขับเคลื่อนโดย Blogger.