Header Ads

 


วัดหนองกระดูกเนื้อ จัดทำ"บุญสารทเดือน​ 10 วัฒนธรรมลาวครั่ง ไทย​ มอญ


วัดหนองกระดูกเนื้อ ตำบลหนองนมวัว อำเภอลาดยาว จังหวัดนครสวรรค์ นายปรีชา​ เดชพันธุ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครสวรรค์ เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม และธรรมชาติแห่งความสุข​ งาน" บุญสารทเดือน​ 10 วัฒนธรรมลาวครั่ง ไทย มอญ​ โดยมี​ นางรัตนา เดชพันธุ์​ รองนายกเหล่ากาชาดนครสวรรค์ ว่าที่ร้อยตรีปรีชา​ พลับน้อย ปลัดจังหวัดนครสวรรค์ นายนพดล​ มามาก นายอำเภอลาดยาว นายรัฐพล​ ธุระพันธุ์​ นายอำเภอเก้าเลี้ยว หัวหน้าส่วนราชการ เข้าร่วมในพิธี


นายประสิทธิ์ พุ่มไม้ชัยพฤกษ์ วัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์ ในนามคณะกรรมการการจัดงาน บุญสารทเดือน​ 10 ที่วัดหนองกระดูกเนื้อ เผยว่า รัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมให้การท่องเที่ยว เป็นเครื่องมือในการเสริมสร้างและยกระดับฐานรากให้มีความเข้มแข็ง โดยการส่งเสริมนำทุนทางวัฒนธรรมมาเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจและส่งเสริมให้ประชาชนเกิดการเรียนรู้​ ตระหนัก รักและเห็นคุณค่าทางศิลปะ วิถีชีวิต วัฒนธรรมดั้งเดิมและเพื่อให้สอดคล้องพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน​  คือ​"สืบสาน​ รักษา​ ต่อยอด" เพื่อสะท้อนให้เห็นถึงความสัมพันธ์ทางประวัติศาสตร์ วิถีชีวิต และวัฒนธรรม ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน บอกเล่าเรื่องราวในอดีตผ่านกิจกรรมส่งเสริมการท่องเที่ยว วัฒนธรรม 3 ชาติพันธุ์ มีลาวครั่ง ไทย มอญ โดยกระบวนการการมีส่วนร่วมของท้องถิ่น ประกอบกับวัดหนองกระดูกเนื้อ มีหลวงพ่อชนะ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นพระพุทธรูปประจำวัด ที่ประชาชนทั่วไปเคารพศรัทธามาเป็นเวลาช้านาน เพื่อเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม มรดกทางวัฒนธรรม ภูมิปัญญาพื้นบ้าน และให้ได้รับการเผยแพร่และต่อยอดสู่การสร้างรายได้ สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดนครสวรรค์จึงได้จัดโครงการพัฒนาการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมและธรรมชาติแห่งความสุข"บุญสารทเดือน​ 10 วัฒนธรรมลาวครั่ง ไทย มอญ​ ขึ้น ซึ่งภายในกิจกรรมประกอบด้วยกิจกรรม​ การทำบุญ​  ตักบาตร สักการะขอพรหลวงพ่อชนะ ศักดิ์สิทธิ์ การบายศรีสู่ขวัญ การแสดงทางพื้นบ้าน 3 ชาติพันธุ์ สาธิตการทำอาหารพื้นบ้าน การประกวด ตกอาหารพื้นบ้าน และตลาดวัฒนธรรม​


      ชาวลาวครั่งแต่เดิมอาศัยอยู่แถบเทือกเขาภูคังในหลวงพระบาง ผู้คนจึงเรียกว่า “ลาวภูคัง” และเรียกเป็นภาษาพื้นเมืองอีกหลายชื่อ เข่น ลาวครั่ง ลาวคั่ง บางคนเรียกลาวเต่าเหลือง เนื่องจากชอบอยู่อย่างอิสระและอดทนเหมือนเต่าภูเขาที่มีกระดองสีเหลือง


      ลักษณะทั่วไปของชาวลาวครั่ง คือ มีรูปร่างค่อนข้างไปทางสูงหรือสันทัด ทั้งหญิงและชาย ผิวค่อนข้างเหลือง ตาสองชั้น ใบหน้าไม่เหลี่ยมมาก จมูกมีสัน ผมเหยียดตรง นุ่งผ้าซิ่นคลุมเข่า นุ่งซิ่นมัดหมี่มีดอก ลาวครั่งมีเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมในการทอผ้าเพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน และใช้ในการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

      จากเอกสารการวิจัยและจากการค้นคว้า อาจสรุปความหมายของลาวครั่งออกเป็น 2 ประเด็น คือ
ประเด็นที่หนึ่ง มาจากชื่อภูเขา ในอาณาจักรหลวงพระบางที่มีรูปร่างเหมือนระฆัง จึงทำให้เรียกชื่อตามนั้นว่า “ลาวภูคัง” และเรียกต่อกันมาจนเพี้ยนกลายมาเป็น “ลาวครั่ง”
ประเด็นที่สอง สันนิษฐานว่า สาเหตุที่เรียกชื่อกลุ่มของตนเองมาตั้งแต่โบราณว่า “ลาวครั่ง” เป็นการเรียกตามชื่อของครั่งที่นิยมนำมาใช้ย้อมสีผ้าให้เป็นสีแดง เพื่อใช้ในการทอเป็นเครื่องนุ่งห่ม 


!!!!!! อัมพณ  จับศรทิพย์​ 0886436594!!!!! 











ขับเคลื่อนโดย Blogger.