Header Ads

 


สบอ. 12 เริ่มลองเปลี่ยนแผน เป็นนำลูกช้างห้วยขาแข้งพลัดหลง ปล่อยออกจากคอก เดินเข้าป่าไปหาแม่ช้างแล้ว วันแรกยังไม่สำเร็จ

วันที่ 22 กรกฎาคม 2563 นายธนิตย์ หนูยิ้ม ผอ. สำนักบริหารพื้นที่อนุรักษ์ที่ 12(นครสวรรค์) ได้รับแจ้งจากเจ้าหน้าที่ชุดคชสาร ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง ว่า พบช้างฝูงแม่ กำลังเดินหากินอยู่ห่างจากหอต้นผึ้ง ราว 1 กิโลเมตร และและเจ้าหน้าที่สอบถามว่า จะให้พี่เลี้ยง(พี่เขียว) เดินนำลูกช้างไปส่งให้แม่ช้าง ในวันนี้เลย ดีไหม

ผอ. สบอ. 12 ได้โทรประสานสอบถามไปยังทีมงาน และผู้เชี่ยวชาญด้านการปล่อยลูกจ้างคืนป่า ได้รับคำแนะนำว่า ให้ทำได้เฉพาะในเวลากลางวัน โดยให้คำนึงถึงความปลอดภัยของลูกช้าง และเจ้าหน้าที่เป็นลำดับแรก ผอ. สบอ. 12  จึงได้วางแผนดำเนินการตามคำแนะนำ ดังนี้

จนเวลา ประมาณ 14.30 น. ได้รับแจ้งจากชุดติดตามช้างฝูงแม่ ว่า พบเห็นตัวฝูงช้าง ที่พิกัด 534467 E1721728N

-เวลา 14.45 น. นางสาววีรยา โอชะกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ. 12  นำทีมผู้ดูแลลูกช้าง พร้อมด้วย หน. กลุ่มวิชาการ หน. สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ และทีมงานเฝ้าระวังจำนวน 9 นาย ได้ปล่อยลูกช้างออกจากคอก ให้พี่เลี้ยงเดินนำลูกช้างออกเดินทางไปยังพิกัดข้างเคียงดังกล่าว เดินไปเรื่อยๆ จนถึงเวลาประมาณ 16.00น ทีมสำรวจหาแม่ช้างแจ้งว่า ฝูงช้างได้รับรู้ถึงสิ่งแปลกปลอมที่เข้าใกล้ จึงแตกฝูงเคลื่อนย้ายหายไป ไม่ทราบทิศทาง ติดตามไม่ได้

-ทีมพี่เลี้ยงจึงได้นำลูกช้าง ไปยังแหล่งน้ำข้างเคียง เพื่อหาโอกาสในการพบฝูงที่แตกกระจายมา เป็นเวลา 1 ชม แต่ ไม่พบฝูงช้างผ่านมาแต่อย่างใด

-จนเวลา 17.00 จึงได้นำลูกช้าง ออกเดินทางกลับมายัง คอกที่หอต้นผึ้ง เช่นเดิม



สำหรับปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะในการดำเนินการคราวต่อไปเพื่อให้การปฎิบัติการนี้สำเร็จมีดังนี้

1.ข้อมูลที่ตั้งและการเคลื่อนไหวของช้างฝูงแม่ของชุดติดตามฝูงช้าง ยังขาดความสมบูรณ์ ชัดเจน เป็นสาเหตุทำให้นำข้อมูลมาประมวลผลผิดพลาด ส่งผลต่อการวางแผนดำเนินการในขั้นต่อไป

2.ผลกระทบที่เกิดจากกิจกรรมของมนุษย์ที่บริเวณหอต้นผึ้ง มีมากเกินไปส่งผลให้ ฝูงช้างวนเวียนมาใกล้แต่ไม่เข้ามาในโป่ง

นางสาววีรยา โอชะกุล ผู้อำนวยการส่วนอนุรักษ์สัตว์ป่า สบอ. 12  จึงได้สั่งการ ในเบื้องต้นให้ทีมงานดำเนินการดังนี้
1. ให้ทีมที่เฝ้าระวังและดูแลลูกช้าง ลดจำนวนคน และกิจกรรมที่ทำที่หอต้นผึ้งลงให้น้อยที่สุด โดยกลางวันเหลือเพียง 1-2 คน และเวลากลางคืน 2-3 คน เท่านั้น และเตรียมอาหารทั้งของคนและของลูกช้างให้เตรียมมาจากภายนอกห้ามดำเนินการที่หอต้นผึ้ง

2. ให้ทีมงานของสถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ ร่วมกับเจ้าหน้าที่ของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง สำรวจข้อมูลการเคลื่อนที่ของฝูงช้าง   ให้ชัดเจนลงในรายละเอียดว่าแหล่งที่พักหลับนอน ตอนกลางวัน และแหล่งน้ำที่ใช้ใกล้เคียงจุดที่พักนอน อยู่บริเวณไหน อย่างไร มากกว่านี้ เพื่อจะได้นำข้อมูลมาวิเคราะห์ วางแผนนำลูกช้างไปปล่อยให้เข้าใ้กล้ช้างฝูงแม่มากที่สุด ในโอกาสหน้าอันใกล้นี้ต่อไป


!!!!!ต้อย รอบรั้วภูธร 0619525644!!!!!
ขับเคลื่อนโดย Blogger.