Header Ads

 


ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ระดมทีมบุคลากร ให้กำลังใจเติมเต็มบางส่วน มอบถุงยางชีพ เจลและสเปรย์แอลกอฮอล์ ช่วยบรรเทาปัญหาและผลกระทบจากการระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 พื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ภาพรวมการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ของประเทศไทยและโดยเฉพาะอย่างยิ่งในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้มีแนวโน้มที่ดีขึ้น จำนวนผู้ติดเชื้อลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ไม่มีใครสามารถบอกได้ว่าสถานการณ์แพร่ระบาดของเชื้อไวรัสชนิดนี้จะสิ้นสุดเมื่อไร หลายจังหวัดในพื้นที่ยังคงปิดจังหวัด ห้ามบุคคลภายนอกเข้าออก และมีบางพื้นที่ที่ต้องประกาศเคอร์ฟิวตลอด 24 ชั่วโมง

เมื่อตลาดหยุดให้บริการ พื้นที่สาธารณะร่วมกันปิด พ่อค้า แม่ค้า ไม่สามารถออกทำมาค้าขายได้ ผลที่ตามมาคือสภาพเศรษฐกิจเริ่มถดถอย ประชาชนเริ่มเดือดร้อนเนื่องจากไม่มีรายได้ในการดำรงชีพ หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมมือช่วยกันจัดทำถุงยังชีพแจกจ่ายแก่ประชาชนในพื้นที่ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากปัญหาที่เกิดขึ้น เช่นเดียวกับศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ที่มีสำนักงานสาขาอยู่ที่จังหวัดปัตตานี ได้เห็นถึงปัญหาและรับทราบถึงผลกระทบที่เกิดขึ้น ด้วยเหตุนี้ รศ.ดร.วินัย ดะห์ลัน ผู้อำนวยการศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ผู้บริหาร นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัยและบุคลากร จึงได้ระดมทีมเปลี่ยนห้องตรวจวิเคราะห์สิ่งปนเปื้อนมาผลิตเจลและสเปรย์แอลกอฮอล์คุณภาพสูงจำนวนกว่า 10,000 ขวด แจกจ่ายไปยังทั่วประเทศ สำหรับพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้นอกจากแอลกอฮอล์แล้ว ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สำนักงานปัตตานี นำโดย ผศ.นิฟาริด ระเด่นอาหมัด รอง ผอ.ศูนย์ฯ พร้อม นายไพศาล ดะห์ลัน ที่ปรึกษาสมาคมยุวมุสลิมแห่งประเทศไทย ยังได้จัดเตรียมสิ่งของ​ 3,500  ชิ้น​ จัดทำถุงยังชีพได้ จำนวน 500 ชุด  กับชุดหน้ากากผ้าและแอลกอฮอล์แบบเจลและสเปรย์จำนวน 500 ชุด ส่งมอบกระจายไปยังพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ โดยวันที่ 30 เมษายน และ 1 พฤษภาคม 2563 ลงแจกจ่ายผ่านตัวแทนยังจุดต่าง ๆในพื้นที่จังหวัดยะลาและนราธิวาส ดังนี้

1. สาธารณสุขอำเภอบันนังสตา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
2. โรงพยาบาลบันนังสตา ตำบลบันนังสตา อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
3. สาธารณสุขอำเภอยะหา ตำบลยะหา อำเภอยะหา จังหวัดยะลา
4.สมาคมจันทร์เสี้ยวการแพทย์และสาธารณสุข จังหวัดยะลา
5. พื้นที่ตำบลโคกสตอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
6. พื้นที่ตำบลจวบ ตำบลมะรือโบ ตำบลบูกิต อำเภอเจาะไอร้อง จังหวัดนราธิวาส

รศ.ดร. นิฟาริด ระเด่นอาหมัด หัวหน้าสำนักงานปัตตานีและรอง ผอ.ศูนย์วิทยาศาสตร์ฮาลาลจุฬาฯ กล่าวว่า ภารกิจเดิมดูแลเรื่องการรับรองฮาลาลทำงานกับกรรรมการอิสลามประจำจังหวัด แต่สภาวะเช่นนี้ การให้ความรู้เกี่ยวกับวิทยาศาสตร์เป็นความจำเป็น วิทยาศาสตร์พื้นฐานเกี่ยวกับฮาลาลความเข้าใจของเรื่องสาธารสุขกับเรื่องอิสลามไม่มีอะไรขัดแย้งเลย เราต้องพยายมให้ความรู้ในส่วนนี้แล้วก็ประสานแล้วประยุกต์ใช้ให้ได้ในทุกพื้นที่เราจะมีความเชื่อมั่นว่าการประกอบศาสนากิจที่ถูกต้องตามศาสนาอิสลามแล้วก็มีพื้นฐานมารองรับจะเป็นการทำงานที่สมบูรณ์มากขึ้น ยกตัวอย่างการเตรียมน้ำละหมาดจะเดิมเราจุ่มมือในอ่างน้ำขนาดใหญ่ถือว่าปริมาณน้ำพอแล้ว ซึ่งโดยการพิสูจน์นั้นพบว่าอาจจะมีเชื้อบางส่วนปนเปื้อนอยู่ ก็จะพยายามแนะนำว่าให้เปลี่ยนเป็นก๊อกน้ำจะได้ป้องกันระดับหนึ่งการล้างมือหรือสบู่จะเป็นประโยชน์อย่างยิ่งเลย อยากเชิญชวนว่า ก่อนเตรียมน้ำละหมาดล้างมือด้วยสบู่ก่อน
ทั้งนี้เพื่อเป็นส่วนหนึ่งในการยับยั้งการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส COVID-19 ศูนย์​วิทยา​ศาสตร์​ฮาลาล​จุฬาลงกรณ์​มหา​วิทยาลัย​ ยืนยันหนักแน่น​และเชื่อมั่นว่าเราจะผ่านพ้นวิกฤตินี้ไปด้วยกัน






ภาพ/ข่าว
อับดุลหาดี  เจ๊ะยอ  จ.ยะลา
ขับเคลื่อนโดย Blogger.